“ การเรียนรู้ถดถอย ”.. ปัญหาที่ป้องกันได้!

“ การเรียนรู้ถดถอย ”.. ปัญหาที่ป้องกันได้!

 

ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์โควิด-19 ในด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการปิดโรงเรียน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การเรียนออนไลน์ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ต้องหยุดชะงัก จนเกิดเป็นภาวะถดถอยทางการเรียนรู้


 

เพิ่มเพื่อน
 

 

Q: Learning Loss หรือ การเรียนรู้ถดถอย คืออะไร?

A: เป็นผลของการเสียโอกาสในการเรียนรู้มีผลทำให้ทักษะต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยสูญเสียตามไป เช่น

 

          1. มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เมื่อเด็กต้องเรียนออนไลน์ที่บ้านมักจะไม่ค่อยได้คุยกับใคร ไม่ได้เล่นกับเพื่อน และอาจดู YouTube เล่น iPad นานกว่าปกติ หรือเล่นเกมที่ไม่ได้ช่วยพัฒนาทักษะภาษา เมื่อต้องกลับเข้าสู่โรงเรียน ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และศักยภาพในการใช้ภาษาของเด็ก ๆ ก็จะลดลง

 

          2. ทักษะด้านความสัมพันธ์ถดถอย อยู่บ้านนาน ๆ เด็กอาจเกิดความเคยชินกับชีวิตประจำวันและสิ่งรอบข้างตัวเขา เมื่อถึงวันที่ต้องไปโรงเรียนอาจเกิดภาวะกลัวการไปโรงเรียน ไม่ชอบ ไม่อยากเจอผู้คนก็เป็นได้ค่ะ

 

          3. ขาดระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ โดยเฉพาะเด็กอนุบาลหรือเด็กประถม เมื่อตอนที่ยังไปโรงเรียนได้ เด็กจะถูกฝึกจากโรงเรียน มีแรงจูงใจจากเพื่อน ๆ และคุณครู กลับกันเมื่ออยู่บ้านเป็นเวลานาน เด็ก ๆ อาจทำตามใจตัวเองมากขึ้น ไม่มีกฎเกณฑ์ทำให้ขาดวินัยและความรับผิดชอบ

 

          4. บุคลิกภาพไม่ได้รับการพัฒนา เมื่ออยู่บ้านนานเกินไป เด็กจะขาดทักษะการเข้าสังคม ซึ่งการเข้าสังคม การคบเพื่อน การทำกิจกรรมกับเพื่อนของเด็ก ๆ เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างหนึ่งของเขา  

 

          5. เรียนรู้ช้า ในส่วนของวิชาการ การอ่านเขียน เด็กอาจมีความรู้ความสามารถทางวิชาการที่ช้าลง เนื่องจากเด็ก ๆ ไม่สามารถเรียนได้อย่างเต็มที่ผ่านการเรียน online
 

เพิ่มเพื่อน
 

เมื่อสภาพแวดล้อมของการเรียนเปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลกระทบต่อการได้รับและการเก็บเกี่ยวความรู้ของเด็กเช่นเดียวกัน ... ขั้นตอนง่าย ๆ แต่ได้ผลมากที่สุด ที่จะช่วยป้องกัน การเรียนรู้ถดถอย สามารถเริ่มต้นได้ที่บ้านได้ดังต่อไปนี้

 

          1. ให้ความสำคัญกับคุณภาพบนหน้าจอ ควรเลือกแอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพราะจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางการศึกษาของเด็กได้อย่างเหมาะสม

 

          2. กำหนดเวลา “อ่าน” ทุกวัน การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ที่สำคัญยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองด้วย

 

          3. ช่วงเวลาแห่งการ “สอน” การที่เด็กได้อยู่บ้านและใกล้ชิดกับพ่อแม่ผู้ปกครองจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยการให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บ้าน เช่น การทำอาหาร การดูแลต้นไม้ เป็นต้น
 

การเรียนรู้ถดถอย



อย่างไรก็ตามหากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถไปโรงเรียนได้เหมือนเดิม ก็คงเป็นเรื่องที่ยากที่จะไม่ให้เกิดภาวะ การเรียนรู้ถดถอย นอกเหนือจากวิธีข้างต้นสิ่งที่เราสามารถทำได้เพิ่มเติมคือ สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งจะช่วยสนับสนุน คอยให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เด็ก ๆ อยากเรียนหนังสือในทุกวัน ?

 

ที่ BrainFit เรามี คอร์สพัฒนาทักษะรอบด้าน Whole Brain Training เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-18 ปี เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะสมอง ความแข็งแรงของร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสมาธิ พร้อมรับกับการเรียนรู้ต่าง ๆ รอบตัว 

 

 

"ิฝึกสมอง"

🧠 พัฒนาทักษะ คอร์สปิดเทอม เดือน ตุลาคม 2566 นี้ 💪

 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769
 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

 

อ้างอิง : www.rakluke.com ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ www.eef.or.th        

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4