“ การเรียนรู้ถดถอย ”.. ปัญหาที่ป้องกันได้!

 

“ การเรียนรู้ถดถอย ”.. ปัญหาที่ป้องกันได้!

 

ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์โควิด-19 ในด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการปิดโรงเรียน ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การเรียนออนไลน์ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้การเรียนรู้ของเด็ก ๆ ต้องหยุดชะงัก จนเกิดเป็นภาวะถดถอยทางการเรียนรู้


 

เพิ่มเพื่อน
 

 

Q: Learning Loss หรือ การเรียนรู้ถดถอย คืออะไร?

A: เป็นผลของการเสียโอกาสในการเรียนรู้มีผลทำให้ทักษะต่าง ๆ ที่เด็กควรจะได้รับการพัฒนาตามช่วงวัยสูญเสียตามไป เช่น

 

          1. มีปัญหาพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เมื่อเด็กต้องเรียนออนไลน์ที่บ้านมักจะไม่ค่อยได้คุยกับใคร ไม่ได้เล่นกับเพื่อน และอาจดู YouTube เล่น iPad นานกว่าปกติ หรือเล่นเกมที่ไม่ได้ช่วยพัฒนาทักษะภาษา เมื่อต้องกลับเข้าสู่โรงเรียน ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และศักยภาพในการใช้ภาษาของเด็ก ๆ ก็จะลดลง

 

          2. ทักษะด้านความสัมพันธ์ถดถอย อยู่บ้านนาน ๆ เด็กอาจเกิดความเคยชินกับชีวิตประจำวันและสิ่งรอบข้างตัวเขา เมื่อถึงวันที่ต้องไปโรงเรียนอาจเกิดภาวะกลัวการไปโรงเรียน ไม่ชอบ ไม่อยากเจอผู้คนก็เป็นได้ค่ะ

 

          3. ขาดระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ โดยเฉพาะเด็กอนุบาลหรือเด็กประถม เมื่อตอนที่ยังไปโรงเรียนได้ เด็กจะถูกฝึกจากโรงเรียน มีแรงจูงใจจากเพื่อน ๆ และคุณครู กลับกันเมื่ออยู่บ้านเป็นเวลานาน เด็ก ๆ อาจทำตามใจตัวเองมากขึ้น ไม่มีกฎเกณฑ์ทำให้ขาดวินัยและความรับผิดชอบ

 

          4. บุคลิกภาพไม่ได้รับการพัฒนา เมื่ออยู่บ้านนานเกินไป เด็กจะขาดทักษะการเข้าสังคม ซึ่งการเข้าสังคม การคบเพื่อน การทำกิจกรรมกับเพื่อนของเด็ก ๆ เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างหนึ่งของเขา  

 

          5. เรียนรู้ช้า ในส่วนของวิชาการ การอ่านเขียน เด็กอาจมีความรู้ความสามารถทางวิชาการที่ช้าลง เนื่องจากเด็ก ๆ ไม่สามารถเรียนได้อย่างเต็มที่ผ่านการเรียน online
 

เพิ่มเพื่อน
 

เมื่อสภาพแวดล้อมของการเรียนเปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลกระทบต่อการได้รับและการเก็บเกี่ยวความรู้ของเด็กเช่นเดียวกัน ... ขั้นตอนง่าย ๆ แต่ได้ผลมากที่สุด ที่จะช่วยป้องกัน การเรียนรู้ถดถอย สามารถเริ่มต้นได้ที่บ้านได้ดังต่อไปนี้

 

          1. ให้ความสำคัญกับคุณภาพบนหน้าจอ ควรเลือกแอปพลิเคชันที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพราะจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางการศึกษาของเด็กได้อย่างเหมาะสม

 

          2. กำหนดเวลา “อ่าน” ทุกวัน การอ่านเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ที่สำคัญยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองด้วย

 

          3. ช่วงเวลาแห่งการ “สอน” การที่เด็กได้อยู่บ้านและใกล้ชิดกับพ่อแม่ผู้ปกครองจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยการให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บ้าน เช่น การทำอาหาร การดูแลต้นไม้ เป็นต้น
 

การเรียนรู้ถดถอย



อย่างไรก็ตามหากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถไปโรงเรียนได้เหมือนเดิม ก็คงเป็นเรื่องที่ยากที่จะไม่ให้เกิดภาวะ การเรียนรู้ถดถอย นอกเหนือจากวิธีข้างต้นสิ่งที่เราสามารถทำได้เพิ่มเติมคือ สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งจะช่วยสนับสนุน คอยให้กำลังใจ และกระตุ้นให้เด็ก ๆ อยากเรียนหนังสือในทุกวัน ?

 

ที่ BrainFit เรามี คอร์สพัฒนาทักษะรอบด้าน Whole Brain Training เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3-18 ปี เพื่อให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะสมอง ความแข็งแรงของร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสมาธิ พร้อมรับกับการเรียนรู้ต่าง ๆ รอบตัว 

 

 

"ิฝึกสมอง"

🧠 พัฒนาทักษะ คอร์สปิดเทอม เดือน ตุลาคม 2566 นี้ 💪

 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769
 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

 

อ้างอิง : www.rakluke.com ผศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ www.eef.or.th        

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4