เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ

 


เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ

 

ลูกเข้าอนุบาลแล้วแต่ทำไมยังไม่ชอบจับดินสอ ทำไมยังเขียนไม่ได้ เมื่อไหร่ลูกจะเขียนได้นะ จะเร่งฝึกให้ลูกเขียนหนังสือได้ไวๆ อย่างไรดี? ...

 


หากคุณพ่อคุณแม่เคยมีความคิดสงสัยตามด้านบนที่กล่าวมานี้ บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัย และตอบคำถามของคุณพ่อคุณแม่ได้แน่นอน!

 

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการแข่งขันความสามารถของลูกมากขึ้น พ่อแม่อยากให้ลูกเรียนเก่ง มีความสามารถ อ่านออกเขียนได้ ซึ่งนั่นจะสร้างความกดดันให้กับลูก โดยธรรมชาติของเด็ก หากบังคับหรือกดดันมากๆอาจทำให้เกิดปัญหาต่อต้านได้ และสำหรับการเขียน เป็นทักษะด้านหนึ่งที่ต้องอาศัยพัฒนาการตามวัยค่ะ


 

          พัฒนาการการจับดินสอแต่ละวัย

 

          อายุ  0-2 ปี (Radial cross palm)

          เด็ก ๆ จะกำดินสอ และพลิกข้อมือ ทำให้เวลาลากเส้นต้องออกแรงจากหัวไหล่และข้อศอก ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่พัฒนาการยังไปไม่ถึงปลายนิ้ว
 

 

          ✨ อายุ 1-2 ปี (Palmer supinate)

         เด็ก ๆ เริ่มควบคุมแขนได้มากขึ้น จะกำดินสอและลากไปมา หงายฝ่ามือขึ้น โดยใช้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหงายมือ (Supinator muscle)
ซึ่งก็ยังคงใช้การออกแรงจากหัวไหล่และข้อศอกช่วยในการเคลื่อนไหวเหมือนเดิม
 

 

          ✨ 2-3 ปี (Digital pronate grasp)

          เด็ก ๆ จะใช้ทุกนิ้วจับดินสอ โดยทิศทางของนิ้วมือคว่ำลงบนกระดาษ เป็นการใช้กล้ามเนื้อรูปสี่เหลี่ยม ที่อยู่บนส่วนปลายของปลายแขน (Pronator Quadratus muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการคว่ำมือ
 

 

          3-4 ปี  (Four fingers grasp)

          เด็ก ๆ เริ่มจับดินสอ 4 นิ้ว และมีพื้นที่ส่วนโค้งของมือ (Web space) มากขึ้น เริ่มใช้นิ้วมือในการพยุงดินสอเขียน
 



          การที่เด็กจะเขียนหนังสือได้จะต้องอาศัยกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง มีการทำงานประสานกันของมือและตาที่ดี เมื่อลูกยังเขียนไม่ได้ พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการด้านการเขียนให้เหมาะสมกับวัย ไม่เร่งจนทำให้เด็กรู้สึกต่อต้านไม่ชอบการเขียนหนังสือ สำหรับ เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ นั้นลูกอาจยังเขียนไม่สวย เขียนกลับด้าน หรือเขียนหนังสือไม่ได้ทั้งหมดนะคะ 😊

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตุ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือ ของเด็ก ๆ ได้ดังนี้ 

 

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมือจากการเขียนของเด็กวัย 2-3 ปี

    เด็กวัยนี้ยังเขียนไม่เป็นความหมาย ได้แต่ขีด ๆ เขียน ๆ ไปเรื่อย ๆ ออกนอกกระดาษบ้าง

 

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมือจากการเขียนของเด็กวัย 3-4 ปี

    เด็กวัยนี้สามารถลากเส้นตามจุดได้แล้ว แต่อาจจะไม่สวย ไม่ตรง แต่มีความเข้าใจเรื่องจุดต่อของเส้นปะแต่ละจุด

 

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมือจากการเขียนของเด็กวัย 5-7 ปี

    เด็กวัยนี้ส่วนมากจะเขียนหนังสือได้แล้ว เด็กบางคนสามารถเขียนสิ่งที่คิดได้ทั้งหมด บางคนอาจจะยังเรียบเรียงเป็นประโยคได้ไม่ยาวนัก แต่ถือว่าวัยนี้เขียนได้คล่องแคล่วที่สุด และเป็นพัฒนาการช่วงสุดท้ายของเด็กเล็ก

 

         ครูเม-เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยาจากเพจตามใจนักจิตวิทยา ให้ข้อมูลสำคัญถึงสาเหตุ ‘ทําไมเด็กเล็กจึงยังเขียนไม่ได้ดี’ ✍🏼
 

         โดยพบว่ากระดูกข้อมือของเด็กอนุบาลวัย 2 ปี กระดูกข้อมือยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ กระดูกหลายชิ้นยังคงเป็นกระดูกอ่อน (Cartilage) ในขณะที่กระดูกข้อมือของเด็กวัย 7 ปี และวัยผู้ใหญ่นั้นพบว่า กระดูกข้อมือเติบโตจนเกือบเต็มบริเวณตามลําดับ

 

เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ

(ที่มา : Play Academy)

 

ที่สำคัญในมือของเด็ก วัย 2 ปี ยังมีช่องว่างมากมาย ทั้งในบริเวณฝ่ามือและข้อต่อของนิ้วมือที่รอให้กล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue: เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวหรือพยุงอวัยวะให้คงรูปอยู่ได้) เติบโตเพื่อเติมเต็มช่องว่างเหล่าน้ัน

 

ในขณะที่เด็กวัย 7 ปีและวัยผู้ใหญ่นั้นพบว่ากล้ามเนื้อมีการเชื่อมต่อกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้ข้อมือและนิ้วมือต่างๆ มีความแข็งแรงมากขึ้นตามลําดับ ด้วยเหตุนี้ทําให้เด็กก่อนวัยเรียนหยิบจับอุปกรณ์และสิ่งต่างๆ รวมทั้งควบคุมการขีดเขียนได้ไม่เทียบเท่าเด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่

 

 

          เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ ให้เก่งและสวยงามอาจยังไม่ใช่ของคู่กันสำหรับเด็กๆวัยนี้ แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมือ และ กล้ามเนื้อตา ของลูกให้แข็งแรงนั้นผ่านกิจกรรม เช่น การปั้นดินน้ำมัน การฉีกกระดาษทำงานศิลปะ แกะสติกเกอร์ ต่อตัวต่อ เล่นทราย น้ำ ก้อนหิน (Sensory Play) เป็นต้น

 


          หรือสามารถฝึกทักษะพื้นฐานของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงได้ที่ BrainFit กับคอร์สฝึกสมองรอบด้าน ที่จะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทั้ง 5 ด้านไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว การมอง การฟัง เพิ่มสมาธิ รวมถึงเรื่องของอารมณ์ ให้แข็งแรงสมวัย ผ่านการทำกิจกรรมที่สนุก และหลากหลาย เพื่อให้เด็ก ๆ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ยาวนานยิ่งขึ้น และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เคย! 🧠💪🏼


 

 




จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

อ้างอิง : www.mutualfinding.co
www.maerakluke.com
www.parentsone.com

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4