เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ


เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ

 

ลูกเข้าอนุบาลแล้วแต่ทำไมยังไม่ชอบจับดินสอ ทำไมยังเขียนไม่ได้ เมื่อไหร่ลูกจะเขียนได้นะ จะเร่งฝึกให้ลูกเขียนหนังสือได้ไวๆ อย่างไรดี? ...

 


หากคุณพ่อคุณแม่เคยมีความคิดสงสัยตามด้านบนที่กล่าวมานี้ บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัย และตอบคำถามของคุณพ่อคุณแม่ได้แน่นอน!

 

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการแข่งขันความสามารถของลูกมากขึ้น พ่อแม่อยากให้ลูกเรียนเก่ง มีความสามารถ อ่านออกเขียนได้ ซึ่งนั่นจะสร้างความกดดันให้กับลูก โดยธรรมชาติของเด็ก หากบังคับหรือกดดันมากๆอาจทำให้เกิดปัญหาต่อต้านได้ และสำหรับการเขียน เป็นทักษะด้านหนึ่งที่ต้องอาศัยพัฒนาการตามวัยค่ะ


 

          พัฒนาการการจับดินสอแต่ละวัย

 

          อายุ  0-2 ปี (Radial cross palm)

          เด็ก ๆ จะกำดินสอ และพลิกข้อมือ ทำให้เวลาลากเส้นต้องออกแรงจากหัวไหล่และข้อศอก ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่พัฒนาการยังไปไม่ถึงปลายนิ้ว
 

 

          ✨ อายุ 1-2 ปี (Palmer supinate)

         เด็ก ๆ เริ่มควบคุมแขนได้มากขึ้น จะกำดินสอและลากไปมา หงายฝ่ามือขึ้น โดยใช้กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหงายมือ (Supinator muscle)
ซึ่งก็ยังคงใช้การออกแรงจากหัวไหล่และข้อศอกช่วยในการเคลื่อนไหวเหมือนเดิม
 

 

          ✨ 2-3 ปี (Digital pronate grasp)

          เด็ก ๆ จะใช้ทุกนิ้วจับดินสอ โดยทิศทางของนิ้วมือคว่ำลงบนกระดาษ เป็นการใช้กล้ามเนื้อรูปสี่เหลี่ยม ที่อยู่บนส่วนปลายของปลายแขน (Pronator Quadratus muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการคว่ำมือ
 

 

          3-4 ปี  (Four fingers grasp)

          เด็ก ๆ เริ่มจับดินสอ 4 นิ้ว และมีพื้นที่ส่วนโค้งของมือ (Web space) มากขึ้น เริ่มใช้นิ้วมือในการพยุงดินสอเขียน
 



          การที่เด็กจะเขียนหนังสือได้จะต้องอาศัยกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง มีการทำงานประสานกันของมือและตาที่ดี เมื่อลูกยังเขียนไม่ได้ พ่อแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการด้านการเขียนให้เหมาะสมกับวัย ไม่เร่งจนทำให้เด็กรู้สึกต่อต้านไม่ชอบการเขียนหนังสือ สำหรับ เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ นั้นลูกอาจยังเขียนไม่สวย เขียนกลับด้าน หรือเขียนหนังสือไม่ได้ทั้งหมดนะคะ 😊

 

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตุ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือ ของเด็ก ๆ ได้ดังนี้ 

 

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมือจากการเขียนของเด็กวัย 2-3 ปี

    เด็กวัยนี้ยังเขียนไม่เป็นความหมาย ได้แต่ขีด ๆ เขียน ๆ ไปเรื่อย ๆ ออกนอกกระดาษบ้าง

 

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมือจากการเขียนของเด็กวัย 3-4 ปี

    เด็กวัยนี้สามารถลากเส้นตามจุดได้แล้ว แต่อาจจะไม่สวย ไม่ตรง แต่มีความเข้าใจเรื่องจุดต่อของเส้นปะแต่ละจุด

 

  • พัฒนาการกล้ามเนื้อมือจากการเขียนของเด็กวัย 5-7 ปี

    เด็กวัยนี้ส่วนมากจะเขียนหนังสือได้แล้ว เด็กบางคนสามารถเขียนสิ่งที่คิดได้ทั้งหมด บางคนอาจจะยังเรียบเรียงเป็นประโยคได้ไม่ยาวนัก แต่ถือว่าวัยนี้เขียนได้คล่องแคล่วที่สุด และเป็นพัฒนาการช่วงสุดท้ายของเด็กเล็ก

 

         ครูเม-เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยาจากเพจตามใจนักจิตวิทยา ให้ข้อมูลสำคัญถึงสาเหตุ ‘ทําไมเด็กเล็กจึงยังเขียนไม่ได้ดี’ ✍🏼
 

         โดยพบว่ากระดูกข้อมือของเด็กอนุบาลวัย 2 ปี กระดูกข้อมือยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ กระดูกหลายชิ้นยังคงเป็นกระดูกอ่อน (Cartilage) ในขณะที่กระดูกข้อมือของเด็กวัย 7 ปี และวัยผู้ใหญ่นั้นพบว่า กระดูกข้อมือเติบโตจนเกือบเต็มบริเวณตามลําดับ

 

เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ

(ที่มา : Play Academy)

 

ที่สำคัญในมือของเด็ก วัย 2 ปี ยังมีช่องว่างมากมาย ทั้งในบริเวณฝ่ามือและข้อต่อของนิ้วมือที่รอให้กล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue: เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวหรือพยุงอวัยวะให้คงรูปอยู่ได้) เติบโตเพื่อเติมเต็มช่องว่างเหล่าน้ัน

 

ในขณะที่เด็กวัย 7 ปีและวัยผู้ใหญ่นั้นพบว่ากล้ามเนื้อมีการเชื่อมต่อกันอย่างชัดเจน ส่งผลให้ข้อมือและนิ้วมือต่างๆ มีความแข็งแรงมากขึ้นตามลําดับ ด้วยเหตุนี้ทําให้เด็กก่อนวัยเรียนหยิบจับอุปกรณ์และสิ่งต่างๆ รวมทั้งควบคุมการขีดเขียนได้ไม่เทียบเท่าเด็กวัยเรียนและผู้ใหญ่

 

 

          เด็กอนุบาลกับการเขียนหนังสือ ให้เก่งและสวยงามอาจยังไม่ใช่ของคู่กันสำหรับเด็กๆวัยนี้ แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำเพื่อส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมือ และ กล้ามเนื้อตา ของลูกให้แข็งแรงนั้นผ่านกิจกรรม เช่น การปั้นดินน้ำมัน การฉีกกระดาษทำงานศิลปะ แกะสติกเกอร์ ต่อตัวต่อ เล่นทราย น้ำ ก้อนหิน (Sensory Play) เป็นต้น

 


          หรือสามารถฝึกทักษะพื้นฐานของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงได้ที่ BrainFit กับคอร์สฝึกสมองรอบด้าน ที่จะช่วย พัฒนาทักษะพื้นฐานทั้ง 5 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว การมอง การฟัง เพิ่มสมาธิ รวมถึงเรื่องของอารมณ์ ให้แข็งแรงสมวัย ผ่านการทำกิจกรรมที่สนุก และหลากหลาย เพื่อให้เด็ก ๆ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ยาวนานยิ่งขึ้น และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เคย! 🧠💪🏼


 

 

"วิธีฝึกเด็กให้มีสมาธิดี"



จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

อ้างอิง : www.mutualfinding.co
www.maerakluke.com
www.parentsone.com

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4