เคล็ด (ไม่) ลับ ปรับ เวลาหน้าจอ ฉบับพ่อแม่ยุคใหม่
คลิปวิดีโอสั้น ๆ กลายเป็นกระแสที่เด็กหลายคนเล่นกัน ซึ่งเป็นคลิปที่เลื่อนผ่านได้อย่างรวดเร็ว และมีคอนเทนต์สนุกตามความสนใจของผู้เล่น
เปรียบเหมือน “โรงงานลูกกวาด” สำหรับเด็ก ๆ ในยุคนี้ และส่งผลให้เด็ก ๆ ใช้เวลาหน้าจอในแต่ละวันเยอะมากขึ้น
ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองหลายคนกังวล และมีคำถามว่า
“ลูกใช้เวลาหน้าจอทั้งวันเลยค่ะ
เหมือนลูกจะอยู่นิ่ง ๆ ไม่ค่อยได้
จะเป็นสมาธิสั้นไหมคะ”
เพื่อตอบข้อสงสัยนี้ BrainFit จึงขอเสนอ ภาวะขาดสมาธิจากการใช้ เวลาหน้าจอ มากเกินไป
ภาวะนี้คืออะไรกันนะ
Dr. James William ได้ให้คำเปรียบเทียบเกี่ยวกับ พฤติกรรมการใช้ เวลาหน้าจอ ดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ ในสื่อต่าง ๆ เหมือนการเล่นสนุกอยู่ในโรงงานลูกกวาด เราสามารถเลือกทานลูกกวาดแบบไหนก็ได้ตลอดเวลา และเมื่อทานไปเรื่อย ๆ เราก็ไม่สามารถหยุดได้ เด็กก็เช่นกัน หากลูกใช้เวลาหน้าจอเพื่อดูวิดีโอสั้น ๆ เยอะเกินไป สารโดพามีน (Dopamine) หรือสารที่ทำให้ตื่นตัว กระฉับกระเฉง และไวต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัวทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้สมองส่วนหน้าทำงานหนักมากขึ้น
สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ทำหน้าที่ในการตัดสินใจเหตุผล วางแผนควบคุมการเคลื่อนไหว รวมไปถึงการจัดการอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ เช่น เมื่อเราเจอเรื่องแย่ ๆ เราสามารถจัดการความเครียดได้ดีกว่าตอนเราเป็นเด็ก เพราะสมองส่วนหน้าจะพัฒนาเต็มที่ในช่วงอายุ 21 - 25 ปี ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าเพราะอะไรเด็กถึงควบคุมได้ไม่ดีนัก
จากงานวิจัยของ JULIE JARGON ปี 2021* ระบุว่าคลิปสั้น ๆ ความยาวเฉลี่ยประมาณ 21 - 34 วินาที ส่งผลโดยตรงต่อสมองส่วนหน้า เพราะคลิปสั้นที่สลับไปมาอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อความจำระยะสั้น (Short term memory) และ ความจำระยะยาว (Long term memory) ทำให้สมองส่วนนี้ทำงานหนักและมีแรงกระตุ้นตลอดเวลา เมื่อต้องอ่านหนังสือหรือแม้กระทั่งต้องนั่งนิ่ง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็ก ๆ
จากงานวิจัยยังพบอีกว่า 5.9% ของผู้ใช้เวลาหน้าจอหรือดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ มากเกินไป มีการยับยั้งชั่งใจ และ การจดจ่อ น้อยลงกว่าเมื่อก่อน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เมื่อเจอคลิปที่ยาวเกิน 30 วินาทีจะรู้สึกว่าคลิปนั้นน่าเบื่อและเลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว
BrainFit ขอเสนอ 3 เคล็ดลับป้องกันภาวะขาดสมาธิจากการใช้ เวลาหน้าจอ มากเกินไป
1. Quality Times
ลดเวลาหน้าจอ สร้างเวลาคุณภาพ โดยการหากิจกรรมต่าง ๆ ทำร่วมกันในครอบครัวเมื่อมีเวลาว่าง เช่น ออกกำลังกาย ปั่นจักรยานร่วมกันในครอบครัว อ่านหนังสือ หรือทานข้าวพร้อมกันโดยไม่เล่นมือถือ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มสายใยสัมพันธ์ในครอบครัวแล้วยังเพิ่มทักษะทางด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางด้านสื่อสาร การพูดคุย รวมไปถึงทักษะสังคมของลูกได้อีกด้วย
2. Play Times
การหาเวลาเล่น ทำกิจกรรมต่าง ๆ เน้นให้เด็ก ๆ สัมผัสกับธรรมชาติ เช่น การเล่นดิน เล่นทราย เล่นน้ำ เล่นของเล่นที่สร้างเสริมจินตนาการ การเล่นบทบาทสมมติ เป็นการสร้างเสริมทั้งเรื่องของจินตนาการ ทักษะต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงพัฒนาทักษะ EF (Executive Function) ได้อีกด้วย
3. Daily Routines
สิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดสามารถลดเวลาหน้าจอและช่วยเสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับเด็กได้ เช่น การทำงานบ้าน หรือ การทำอาหารด้วยกันในครอบครัว คุณแม่อาจจะเคยได้ยินที่ลูก ๆ เล่าให้ฟังว่า "วันนี้หนูล้างผักได้เยอะมากและหนูทำอาหารเองได้แล้วนะคะ คุณแม่ลองทานไหมคะ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้จัดเรียงลำดับความสำคัญ การลองผิดลองถูก และการริเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เป็นอีกทักษะที่จำเป็นมากในการใช้ชีวิตประจำวัน
สำหรับเคล็ดลับที่นำมาฝากนั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
เพื่อลดภาวะขาดสมาธิจากการดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ มากเกินไป
สร้างเวลาคุณภาพ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับลูกน้อย
หากคุณพ่อคุณแม่ลองนำไปใช้แล้วได้ผลอย่างไรสามารถเล่าสู่กันฟังได้นะคะ
สุดท้ายนี้ เราเชื่อว่าทักษะพื้นฐานของน้อง ๆ สามารถพัฒนาได้ หากฝึกและพัฒนาอย่างถูกวิธี สมาธิก็เช่นกัน
หากคุณพ่อคุณแม่สนใจอยากฝึกพัฒนาสมาธิ และ ทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ให้น้อง ๆ
ทาง BrainFit มีโปรแกรมการฝึกแบบ BrainFit: Whole Brain Training
ซึ่งเป็นกิจกรรมเพิ่มพื้นฐานทักษะทางสมองทั้ง 5 ด้านเพื่อพัฒนาสมาธิ
การจัดการอารมณ์ รวมไปถึงทักษะในชีวิตประจำวันให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
สนใจติดต่อเราได้ที่นี่เลยค่ะ
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์
02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
*Julie, J. (2021). TikTok Brain Explained: Why Some Kids Seem Hooked on Social Video Feeds. Tiktok Brain.
The Wall Street Journal: Family and Tech.