เคล็ด (ไม่) ลับ ปรับ เวลาหน้าจอ ฉบับพ่อแม่ยุคใหม่

 

เคล็ด (ไม่) ลับ ปรับ เวลาหน้าจอ ฉบับพ่อแม่ยุคใหม่

 

 

"เวลาหน้าจอ"

 

 

คลิปวิดีโอสั้น ๆ กลายเป็นกระแสที่เด็กหลายคนเล่นกัน ซึ่งเป็นคลิปที่เลื่อนผ่านได้อย่างรวดเร็ว และมีคอนเทนต์สนุกตามความสนใจของผู้เล่น

เปรียบเหมือน “โรงงานลูกกวาด” สำหรับเด็ก ๆ ในยุคนี้ และส่งผลให้เด็ก ๆ ใช้เวลาหน้าจอในแต่ละวันเยอะมากขึ้น

 

ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองหลายคนกังวล และมีคำถามว่า

 

 

                                                                                                                                                                                                   

“ลูกใช้เวลาหน้าจอทั้งวันเลยค่ะ

   เหมือนลูกจะอยู่นิ่ง ๆ ไม่ค่อยได้

   จะเป็นสมาธิสั้นไหมคะ”

 

 

 

เพื่อตอบข้อสงสัยนี้ BrainFit จึงขอเสนอ ภาวะขาดสมาธิจากการใช้ เวลาหน้าจอ มากเกินไป

 

 

 

 ภาวะนี้คืออะไรกันนะ

                                                                                                                                                                                                                                         

                                                                             

Dr. James William ได้ให้คำเปรียบเทียบเกี่ยวกับ พฤติกรรมการใช้ เวลาหน้าจอ ดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ ในสื่อต่าง ๆ เหมือนการเล่นสนุกอยู่ในโรงงานลูกกวาด เราสามารถเลือกทานลูกกวาดแบบไหนก็ได้ตลอดเวลา และเมื่อทานไปเรื่อย ๆ เราก็ไม่สามารถหยุดได้ เด็กก็เช่นกัน หากลูกใช้เวลาหน้าจอเพื่อดูวิดีโอสั้น ๆ เยอะเกินไป สารโดพามีน (Dopamine) หรือสารที่ทำให้ตื่นตัว กระฉับกระเฉง และไวต่อสิ่งกระตุ้นรอบตัวทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้สมองส่วนหน้าทำงานหนักมากขึ้น                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

 

สมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ทำหน้าที่ในการตัดสินใจเหตุผล วางแผนควบคุมการเคลื่อนไหว รวมไปถึงการจัดการอารมณ์ การยับยั้งชั่งใจ เช่น เมื่อเราเจอเรื่องแย่ ๆ เราสามารถจัดการความเครียดได้ดีกว่าตอนเราเป็นเด็ก เพราะสมองส่วนหน้าจะพัฒนาเต็มที่ในช่วงอายุ 21 - 25 ปี ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าเพราะอะไรเด็กถึงควบคุมได้ไม่ดีนัก

 

จากงานวิจัยของ JULIE JARGON ปี 2021* ระบุว่าคลิปสั้น ๆ ความยาวเฉลี่ยประมาณ 21 - 34 วินาที ส่งผลโดยตรงต่อสมองส่วนหน้า เพราะคลิปสั้นที่สลับไปมาอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อความจำระยะสั้น (Short term memory)  และ ความจำระยะยาว (Long term memory) ทำให้สมองส่วนนี้ทำงานหนักและมีแรงกระตุ้นตลอดเวลา เมื่อต้องอ่านหนังสือหรือแม้กระทั่งต้องนั่งนิ่ง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเด็ก ๆ

จากงานวิจัยยังพบอีกว่า 5.9% ของผู้ใช้เวลาหน้าจอหรือดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ มากเกินไป มีการยับยั้งชั่งใจ และ การจดจ่อ น้อยลงกว่าเมื่อก่อน ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เมื่อเจอคลิปที่ยาวเกิน 30 วินาทีจะรู้สึกว่าคลิปนั้นน่าเบื่อและเลื่อนผ่านไปอย่างรวดเร็ว


 

 

"พัฒนา สมาธิ เวลาหน้าจอ"

 

 

 

BrainFit ขอเสนอ 3 เคล็ดลับป้องกันภาวะขาดสมาธิจากการใช้ เวลาหน้าจอ มากเกินไป 

                                                                                                                                                                                                                                           

1. Quality Times "พัฒนา สมาธิ"

ลดเวลาหน้าจอ สร้างเวลาคุณภาพ โดยการหากิจกรรมต่าง ๆ ทำร่วมกันในครอบครัวเมื่อมีเวลาว่าง เช่น ออกกำลังกาย ปั่นจักรยานร่วมกันในครอบครัว อ่านหนังสือ หรือทานข้าวพร้อมกันโดยไม่เล่นมือถือ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มสายใยสัมพันธ์ในครอบครัวแล้วยังเพิ่มทักษะทางด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางด้านสื่อสาร การพูดคุย รวมไปถึงทักษะสังคมของลูกได้อีกด้วย

 

 

2. Play Times 

การหาเวลาเล่น ทำกิจกรรมต่าง ๆ เน้นให้เด็ก ๆ สัมผัสกับธรรมชาติ เช่น การเล่นดิน เล่นทราย เล่นน้ำ เล่นของเล่นที่สร้างเสริมจินตนาการ การเล่นบทบาทสมมติ เป็นการสร้างเสริมทั้งเรื่องของจินตนาการ ทักษะต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงพัฒนาทักษะ EF (Executive Function) ได้อีกด้วย

 

 

3. Daily Routines 

สิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดสามารถลดเวลาหน้าจอและช่วยเสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับเด็กได้ เช่น การทำงานบ้าน หรือ การทำอาหารด้วยกันในครอบครัว คุณแม่อาจจะเคยได้ยินที่ลูก ๆ เล่าให้ฟังว่า "วันนี้หนูล้างผักได้เยอะมากและหนูทำอาหารเองได้แล้วนะคะ คุณแม่ลองทานไหมคะ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เด็ก ๆ ได้จัดเรียงลำดับความสำคัญ การลองผิดลองถูก และการริเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เป็นอีกทักษะที่จำเป็นมากในการใช้ชีวิตประจำวัน

 

 

 

"ทดลองเรียน"

 

 

 

สำหรับเคล็ดลับที่นำมาฝากนั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือก

เพื่อลดภาวะขาดสมาธิจากการดูคลิปวิดีโอสั้น ๆ มากเกินไป 

สร้างเวลาคุณภาพ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับลูกน้อย

 

หากคุณพ่อคุณแม่ลองนำไปใช้แล้วได้ผลอย่างไรสามารถเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

 

 

"ลด เวลาหน้าจอ"

 

 

 

สุดท้ายนี้ เราเชื่อว่าทักษะพื้นฐานของน้อง ๆ สามารถพัฒนาได้ หากฝึกและพัฒนาอย่างถูกวิธี สมาธิก็เช่นกัน 

 

หากคุณพ่อคุณแม่สนใจอยากฝึกพัฒนาสมาธิ และ ทักษะพื้นฐานต่าง ๆ ให้น้อง ๆ

ทาง BrainFit มีโปรแกรมการฝึกแบบ BrainFit: Whole Brain Training

ซึ่งเป็นกิจกรรมเพิ่มพื้นฐานทักษะทางสมองทั้ง 5 ด้านเพื่อพัฒนาสมาธิ

การจัดการอารมณ์ รวมไปถึงทักษะในชีวิตประจำวันให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น 

 

 


 

สนใจติดต่อเราได้ที่นี่เลยค่ะ

 

 

 


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

 

 

 

*Julie, J. (2021). TikTok Brain Explained: Why Some Kids Seem Hooked on Social Video Feeds. Tiktok Brain.

       The Wall Street Journal: Family and Tech.

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4