สร้างกิจวัตรประจำวัน รับมือโควิด 19
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่โรงเรียนยังไม่เปิดทำการ และเด็ก ๆ ยังคงต้องกักตัวอยู่บ้านเช่นนี้ อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและกิจวัตรประจำวันของเด็ก ๆ และผู้ปกครองได้ การสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก ๆ ช่วงกักตัวอยู่บ้านนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากจะส่งผลต่อร่างกายและสุขภาพจิตของเด็กได้
การสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก จะช่วยทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ถึงความสมดุลและความรู้สึกเป็นปกติในการดำเนินชีวิต ในช่วงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ได้
เราสามารถสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก ในสถานการณ์โควิด – 19 เช่นนี้ได้อย่างไร ไปดูกัน!!
- ผู้ปกครองจะต้องไม่ปล่อยปะละเลย หรือ พยายามสร้างตารางกิจวัตรประจำวันที่แน่นจนเกินไป โดยสามารถเริ่มจากปริมาณน้อยก่อน และดูว่าเด็ก ๆ สามารถทำได้หรือไม่ และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นตามความเหมาะสม
- หาเวลาในการประเมินและตรวจสอบเป้าหมายหรือความคาดหวังที่วางไว้ให้กับลูก ๆ ว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร วิธีนี้จะเป็นการช่วยตรวจสอบว่าสิ่งที่ทำไปนั้นเกิดผลหรือประสบความสำเร็จหรือไม่
- สำหรับเด็กวัยเล็ก ผู้ปกครองสามารถใช้เครื่องมือหรือตัวช่วยที่เป็นรูปภาพ ในการช่วยอธิบายประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น อาจจะออกแบบมาในรูปแบบของแผ่นชาร์ต รูปภาพนาฬิกาแสดงเวลาให้เห็นชัดเจน และจัดวางกิจกรรมที่ต้องทำตามนาฬิกาเวลา หรือในรูปแบบตัวการ์ตูนที่ทำให้เด็กเล็กเข้าใจมากขึ้น
- กิจวัตรประจำวัน สามารถเริ่มต้นได้จากการเลือกเวลาในการตื่นนอนและเวลาเข้านอน เป้าหมายของการสร้างตารางเวลาให้ลูก ๆ คือ เลือกเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาที่ลูก ๆ ต้องตื่น เวลาไปโรงเรียนให้มากที่สุด เพื่อให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปอย่างราบรื่น วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายของเด็ก ค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับเวลาที่ทำกิจกรรมและเวลาพักผ่อน และสิ่งสำคัญคือ การปรับเวลานอนให้เหมาะสม จะช่วยสร้างฮอร์โมนการเจริญเติบโต ที่จะส่งผลต่อ อารมณ์ ความหิว และการหลับนอนที่ดีด้วย
- กระตุ้นให้ลูก ๆ ตื่นนอน และเปลี่ยนเอาชุดนอนออก ไม่อยู่ในชุดนอนทั้งวันในการทำกิจกรรม โดยเริ่มจากการสร้างสุขอนามัย ตั้งแต่การแปรงฟัน ล้างหน้า และอาบน้ำ เป็นต้น
- จัดการตารางเวลาสำหรับการรับประทานมื้อหลัก มื้อของว่างทานเล่น สามารถเลือกเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาที่เด็ก ๆ รับประทานอาหารที่โรงเรียนเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับเวลาการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และป้องกันการรับประทานอาหารที่มากหรือบ่อยจนเกินไป
- ปรับตำแหน่ง สถานที่การทำการบ้านให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้เด็กสามารถนั่งทำกิจกรรมหรือการบ้านได้อย่างเหมาะสม และมีสมาธิ ไม่วอกแวกกับสิ่งรอบข้างเช่น ทีวี เสียงดนตรี เป็นต้น ผู้ปกครองสามารถฝึกเด็ก ๆ ให้เริ่มคุ้นเคยกับการเรียนผ่านทางออนไลน์ และตรวจสอบว่าการบ้าน หรือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย สำเร็จตามเวลา หรือวันที่กำหนดให้ได้ หรือไม่
- ลองปรับเปลี่ยนการฝึก หรือการทำแบบฝึกหัดในแต่ละวัน ลองเปลี่ยนให้เด็ก ๆ เลือกทำกิจกรรมที่ยากก่อนบ้าง และทำให้เสร็จ และทำกิจกรรมที่ง่ายกว่าภายหลัง เพื่อให้เด็กได้มีเวลาในการพักเบรกและผ่อนคลายในภายหลัง
- อนุญาตให้เด็ก ๆ ได้มีเวลาพักและผ่อนคลายจากกิจกรรมระหว่างวัน โดยให้พักผ่อนตามอัธยาศัยแบบธรรมชาติ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ กิจกรรมงานอดิเรก หรือ ออกกำลังกาย และในระหว่างช่วงเวลาการผ่อนคลายนี้ ผู้ปกครองควรสังเกตอารมณ์ของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบว่าเด็ก ๆ มีอาการเครียดหรือกังวล อาจพิจารณาและเพิ่มเวลาให้เด็ก ๆ ผ่อนคลาย และรู้สึกสนุกมากขึ้น
- เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในบ้านร่วมกันกับสมาชิกท่านอื่นในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานบ้าน อาจเริ่มจาก งานง่าย ๆ เช่น การช่วยจัดโต๊ะอาหาร พับเสื้อผ้า หรือพาสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น เป็นต้น การมอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความรู้สึกให้เด็กรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองมากขึ้น
- กระตุ้นกิจกรรมเสริม หรืองานอดิเรกด้านอื่น เช่น การวาดภาพ การระบายสี การทำอาหาร การออกแบบสิ่งสร้างสรรค์ เขียนเรื่องสั้น หรือบทละคร เป็นต้น การสร้างงานอดิเรกจะช่วยให้เด็ก ๆ มีจินตนาการและการคิดที่สร้างสรรค์ขึ้น
- ออกแบบกิจกรรมกลางแจ้ง โดยอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามกฏของการรักษาระยะห่าง เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด -19 ผู้ปกครองสามารถเลือกกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ เช่น ปั่นจักรยาน หรือ เดินเล่นออกกำลังกายรอบบริเวณบ้าน เพื่อเป็นการกระตุ้นการออกกำลังกายและเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
- เข้าร่วมกิจกรรมที่เสริมสร้างการบริหารจิตและผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การนั่งสมาธิ หรือ สามารถดาวน์โหลดแอพพลิชั่นที่ช่วยให้ฟังเสียงดนตรี เมโลดี้ที่ผ่อนคลายอารมณ์ได้
- อนุญาตให้เด็ก ๆ ได้เล่นเทคโนโลยีบ้าง ซึ่งการอยู่บ้านช่วงนี้ อาจทำให้เด็ก ๆ ไม่ค่อยได้พบปะเพื่อน ๆ ผู้ปกครองสามารถจัดเวลา เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสพูดคุย หรือส่งข้อความหาเพื่อน ๆ ที่ผู้ปกครองรู้จักหรือสามารถให้เด็ก ๆ เชื่อมต่อวิดีโอสนทนากับเพื่อน ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น งานประดิษฐ์ งานวาดรูป และนำมาแชร์เพื่อน ๆ ผ่านทางวิดีโอคอลล์ได้
และนี่ก็เป็นเพียงกิจกรรมบางส่วนที่ผู้ปกครองสามารถทำร่วมกันกับลูก ๆ ได้ การสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก ๆ รู้ตารางเวลาของตนเอง จะช่วยให้เด็ก ๆ มีวินัยและยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถช่วยให้ผู้ปกครองสามารถวางแผนจัดการเวลาได้ดีขึ้นด้วย
ที่ BrainFit เราเล็งเห็นถึงความสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ๆ ให้ดีขึ้น แม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็ตาม เด็ก ๆ ก็ยังสามารถพัฒนาทักษะสมองและร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้
สนใจกิจกรรมให้เด็ก ๆ ทำที่บ้าน คลิก!
------------------------------------
BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี
รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!!
ที่ 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769
LINE: @brainfit_th
ที่มา Dr. Cindy S. Kim, Pediatric Psychologist