สร้างกิจวัตรประจำวัน รับมือโควิด 19

 

สร้างกิจวัตรประจำวัน  รับมือโควิด 19 

 

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่โรงเรียนยังไม่เปิดทำการ และเด็ก ๆ ยังคงต้องกักตัวอยู่บ้านเช่นนี้ อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตและกิจวัตรประจำวันของเด็ก ๆ และผู้ปกครองได้ การสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก ๆ ช่วงกักตัวอยู่บ้านนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากจะส่งผลต่อร่างกายและสุขภาพจิตของเด็กได้


 
การสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก จะช่วยทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ถึงความสมดุลและความรู้สึกเป็นปกติในการดำเนินชีวิต ในช่วงสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้ได้
 

 


 เราสามารถสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก ในสถานการณ์โควิด – 19 เช่นนี้ได้อย่างไร ไปดูกัน!! 
 

  • ผู้ปกครองจะต้องไม่ปล่อยปะละเลย หรือ พยายามสร้างตารางกิจวัตรประจำวันที่แน่นจนเกินไป โดยสามารถเริ่มจากปริมาณน้อยก่อน และดูว่าเด็ก ๆ สามารถทำได้หรือไม่ และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นตามความเหมาะสม

 

  • หาเวลาในการประเมินและตรวจสอบเป้าหมายหรือความคาดหวังที่วางไว้ให้กับลูก ๆ ว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร วิธีนี้จะเป็นการช่วยตรวจสอบว่าสิ่งที่ทำไปนั้นเกิดผลหรือประสบความสำเร็จหรือไม่

 

  • สำหรับเด็กวัยเล็ก ผู้ปกครองสามารถใช้เครื่องมือหรือตัวช่วยที่เป็นรูปภาพ ในการช่วยอธิบายประกอบเพื่อความเข้าใจมากขึ้น อาจจะออกแบบมาในรูปแบบของแผ่นชาร์ต รูปภาพนาฬิกาแสดงเวลาให้เห็นชัดเจน และจัดวางกิจกรรมที่ต้องทำตามนาฬิกาเวลา หรือในรูปแบบตัวการ์ตูนที่ทำให้เด็กเล็กเข้าใจมากขึ้น

 

  • กิจวัตรประจำวัน สามารถเริ่มต้นได้จากการเลือกเวลาในการตื่นนอนและเวลาเข้านอน เป้าหมายของการสร้างตารางเวลาให้ลูก ๆ คือ เลือกเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาที่ลูก ๆ ต้องตื่น เวลาไปโรงเรียนให้มากที่สุด เพื่อให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปอย่างราบรื่น วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายของเด็ก ค่อย ๆ ปรับตัวเข้ากับเวลาที่ทำกิจกรรมและเวลาพักผ่อน และสิ่งสำคัญคือ การปรับเวลานอนให้เหมาะสม จะช่วยสร้างฮอร์โมนการเจริญเติบโต ที่จะส่งผลต่อ อารมณ์ ความหิว และการหลับนอนที่ดีด้วย

 

  • กระตุ้นให้ลูก ๆ ตื่นนอน และเปลี่ยนเอาชุดนอนออก ไม่อยู่ในชุดนอนทั้งวันในการทำกิจกรรม โดยเริ่มจากการสร้างสุขอนามัย ตั้งแต่การแปรงฟัน ล้างหน้า และอาบน้ำ เป็นต้น

 

  • จัดการตารางเวลาสำหรับการรับประทานมื้อหลัก มื้อของว่างทานเล่น สามารถเลือกเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาที่เด็ก ๆ รับประทานอาหารที่โรงเรียนเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับเวลาการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และป้องกันการรับประทานอาหารที่มากหรือบ่อยจนเกินไป

 

  • ปรับตำแหน่ง สถานที่การทำการบ้านให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้เด็กสามารถนั่งทำกิจกรรมหรือการบ้านได้อย่างเหมาะสม และมีสมาธิ ไม่วอกแวกกับสิ่งรอบข้างเช่น ทีวี เสียงดนตรี เป็นต้น ผู้ปกครองสามารถฝึกเด็ก ๆ ให้เริ่มคุ้นเคยกับการเรียนผ่านทางออนไลน์ และตรวจสอบว่าการบ้าน หรือกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย สำเร็จตามเวลา หรือวันที่กำหนดให้ได้ หรือไม่

 

  • ลองปรับเปลี่ยนการฝึก หรือการทำแบบฝึกหัดในแต่ละวัน ลองเปลี่ยนให้เด็ก ๆ เลือกทำกิจกรรมที่ยากก่อนบ้าง และทำให้เสร็จ และทำกิจกรรมที่ง่ายกว่าภายหลัง เพื่อให้เด็กได้มีเวลาในการพักเบรกและผ่อนคลายในภายหลัง

 

  • อนุญาตให้เด็ก ๆ ได้มีเวลาพักและผ่อนคลายจากกิจกรรมระหว่างวัน โดยให้พักผ่อนตามอัธยาศัยแบบธรรมชาติ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ กิจกรรมงานอดิเรก หรือ ออกกำลังกาย และในระหว่างช่วงเวลาการผ่อนคลายนี้ ผู้ปกครองควรสังเกตอารมณ์ของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบว่าเด็ก ๆ มีอาการเครียดหรือกังวล อาจพิจารณาและเพิ่มเวลาให้เด็ก ๆ ผ่อนคลาย และรู้สึกสนุกมากขึ้น

 

  • เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในบ้านร่วมกันกับสมาชิกท่านอื่นในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการทำงานบ้าน อาจเริ่มจาก งานง่าย ๆ เช่น การช่วยจัดโต๊ะอาหาร พับเสื้อผ้า หรือพาสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น เป็นต้น การมอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วม จะช่วยสร้างความรู้สึกให้เด็กรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองมากขึ้น

 

  • กระตุ้นกิจกรรมเสริม หรืองานอดิเรกด้านอื่น เช่น การวาดภาพ การระบายสี การทำอาหาร การออกแบบสิ่งสร้างสรรค์ เขียนเรื่องสั้น หรือบทละคร เป็นต้น การสร้างงานอดิเรกจะช่วยให้เด็ก ๆ มีจินตนาการและการคิดที่สร้างสรรค์ขึ้น

 

  • ออกแบบกิจกรรมกลางแจ้ง โดยอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามกฏของการรักษาระยะห่าง เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด -19 ผู้ปกครองสามารถเลือกกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ เช่น ปั่นจักรยาน หรือ เดินเล่นออกกำลังกายรอบบริเวณบ้าน เพื่อเป็นการกระตุ้นการออกกำลังกายและเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง

 

  • เข้าร่วมกิจกรรมที่เสริมสร้างการบริหารจิตและผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น การนั่งสมาธิ หรือ สามารถดาวน์โหลดแอพพลิชั่นที่ช่วยให้ฟังเสียงดนตรี เมโลดี้ที่ผ่อนคลายอารมณ์ได้

 

  • อนุญาตให้เด็ก ๆ ได้เล่นเทคโนโลยีบ้าง ซึ่งการอยู่บ้านช่วงนี้ อาจทำให้เด็ก ๆ ไม่ค่อยได้พบปะเพื่อน ๆ ผู้ปกครองสามารถจัดเวลา เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสพูดคุย หรือส่งข้อความหาเพื่อน ๆ ที่ผู้ปกครองรู้จักหรือสามารถให้เด็ก ๆ เชื่อมต่อวิดีโอสนทนากับเพื่อน ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น งานประดิษฐ์ งานวาดรูป และนำมาแชร์เพื่อน ๆ ผ่านทางวิดีโอคอลล์ได้

 

 
และนี่ก็เป็นเพียงกิจกรรมบางส่วนที่ผู้ปกครองสามารถทำร่วมกันกับลูก ๆ ได้ การสร้างกิจวัตรประจำวันให้เด็ก ๆ รู้ตารางเวลาของตนเอง จะช่วยให้เด็ก ๆ มีวินัยและยังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถช่วยให้ผู้ปกครองสามารถวางแผนจัดการเวลาได้ดีขึ้นด้วย
 


ที่ BrainFit เราเล็งเห็นถึงความสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ๆ ให้ดีขึ้น แม้ว่าจะอยู่ที่บ้านก็ตาม เด็ก ๆ ก็ยังสามารถพัฒนาทักษะสมองและร่างกายให้แข็งแรงขึ้นได้


 
สนใจกิจกรรมให้เด็ก ๆ ทำที่บ้าน คลิก!

 

------------------------------------

 

BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18  ปี

รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!!

ที่ 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE@brainfit_th

 

 

 

 

 

 

 

 


ที่มา Dr. Cindy S. Kim, Pediatric Psychologist

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4