รู้หรือไม่? สมองส่วนไหนควบคุมการอ่าน
รู้หรือไม่? สมองของเราทำงานอย่างไร เวลาที่ต้องใช้ทักษะการอ่าน
มาดูแต่ละส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการอ่านกัน
สมองฝั่งซ้ายทำงานอย่างไร
ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ สมองฝั่งซ้ายพัฒนาได้ช้า เพราะว่าสมองฝั่งซ้ายนี้จะช่วยให้ผู้อ่าน สามารถเชื่อมโยงตัวอักษร (letters) และเสียง (sounds) เข้าด้วยกัน หรือเรียกว่า ความสามารถในการเชื่อมโยงลายเส้นของตัวอักษรไปสู่เสียง (Phonological Processing)
Occipital Lobe (สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมอง)
เป็นสมองส่วนที่ ช่วยทำหน้าที่ให้เรา “เข้าใจ” ในสิ่งที่เรา “เห็น” ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านนั้น อาจจะไม่ได้มีปัญหาที่การมองเห็นรูปภาพ หรือสิ่งต่าง ๆ แต่ที่พวกเขาไม่สามารถที่จะอ่านสิ่งที่เห็นได้นั้น เพราะสมองส่วน Occipital Lobe อาจมีการทำงานที่ผิดพลาด หรือบกพร่องไป ทำให้พวกเขา ไม่สามารถที่จะแปลความหมาย และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็นได้นั่นเองค่ะ
ในสมองของคนทั่วไป
Wernicke's area เป็นสมองส่วนที่ ควบคุมความเข้าใจภาษา ทำหน้าที่เปรียบเสมือนโกดังไว้เก็บคลังคำศัพท์และเสียงต่าง ๆ ในสมองของ ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านนั้น พบว่า สมองส่วนนี้แทบไม่แสดงการใช้งาน หรือไม่ได้มีการใช้งานเกิดขึ้นเลย นั่นก็หมายความว่า สำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเรียนรู้คำหรือเสียงต่าง ๆ ในแต่ละครั้ง เปรียบเสมือนเป็นการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่แทบทุกครั้ง
Broca’s Area เป็นสมองส่วนที่ ควบคุมการพูด การออกเสียง สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษรนั้น (Phonological Processing) สมองส่วนนี้จะแสดงการใช้งานน้อยมาก ซึ่งการทำงานของสมองส่วนนี้ จะเชื่อมโยงกับการทำงานของการพูด การฟัง และการอ่านด้วย
Auditory Processing เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ ควบคุมทักษะการฟัง ซึ่งหากสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลต่อการอ่านด้วย เนื่องจากจะก่อให้เกิดอุปสรรคในการวิเคราะห์เสียงที่ได้ยิน และนำไปสู่ความยากลำบากในการเรียนรู้คำใหม่ ๆ เช่น ความต่างของเสียง rock, rocks, rocked เป็นต้น
แล้วจะทำอย่างไร เมื่อเด็ก ๆ มีปัญหาด้านการอ่าน?
ข่าวดีก็คือ.. สมองของเรานั้น สามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้ หากเกิดการฝึกฝนและเรียนรู้ที่ถูกวิธี
และนี่คือ 3 วิธีที่พิสูจน์แล้วว่า สมองที่แตกต่าง เกิดการเรียนรู้ที่ดีและเปลี่ยนแปลงได้
1. พนักงานขับรถบัส กับ พนักงานขับรถแท็กซี่
สมองของพนักงานขับรถแท็กซี่นั้น มีการใช้งานสมองด้าน hippocampus มากกว่าเมื่อเทียบกับพนักงานขับรถบัส เนื่องจากพนักงานขับรถแท็กซี่จะต้องเรียนรู้และจดจำเส้นทางต่าง ๆ มากมาย เมื่อเทียบกับพนักงานขับรถบัสที่จดจำเฉพาะเส้นทางที่รถผ่านเท่านั้น (Maguire, Woollett and Spiers, 2006)
2. ภาษาเดียว กับ สองภาษา
จากการศึกษาพบว่า การเรียนรู้มากกว่า 1 ภาษาจะยิ่งเพิ่มพื้นที่ใยสมองให้เจริญเติบโตดีขึ้น ผู้ที่เรียนมากกว่า 1 ภาษา จะทำให้การทำงานของสมองด้านซ้ายที่ช่วยในการฟังภาษาแข็งแรงขึ้น (Mechelli et al., 2004)
3. เล่นดนตรี กับ ไม่เล่นดนตรี
นักดนตรีที่ฝึกเล่นเครื่องดนตรีอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน จะส่งผลให้สมองส่วน gray matter มีการใช้งานมากกว่าผู้ที่ไม่เล่นดนตรีเลย (Gaser and Schlaug, 2003)
เราสามารถช่วยพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านของผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านได้บ้าง?
1. แบ่งแยกความแตกต่างของเสียงให้ได้ก่อน เช่น pig / peck / peg
ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าเสียงไหนเชื่อมโยงกับตัวอักษรใด เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้ความแตกต่างของเสียงที่คล้ายคลึงกันและแยกเสียงเหล่านี้ออกจากกันให้ได้ก่อน เช่น ความแตกต่างของเสียงระหว่าง (b,d) จากการศึกษาพบว่า หากเด็ก ๆ สามารถจำแนกแยกแยะความแตกต่างของเสียงได้ จะนำไปสู่การอ่านที่ดีขึ้น!
2. การฝึกฝนเรื่องของการอ่านให้มีความเข้มข้น สม่ำเสมอ และการได้รับกำลังใจที่ดีจะทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการเรียนรู้
สมองจะเกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ มีการกระตุ้น และความถี่ที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
3. ฝึกเรียนรู้คำศัพท์ตั้งแต่เด็ก
จากงานวิจัยพบว่า เด็กที่มีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ตั้งแต่วัยแรกเกิด จะมีแนวโน้มในการพัฒนาการอ่านได้รวดเร็วมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ในวัยแรกเกิด เมื่อเข้าสู่วัยเรียน
4. ฝึกเรื่องของการฟังอย่างแม่นยำ การเรียงลำดับสิ่งที่ได้ยิน และเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความจำเสียง โดยใช้โปรแกรม Fast ForWord
จากการศึกษาที่มหาวิทยาลัย Cornell ได้แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่เป็น Dyslexia ได้ใช้ซอฟต์แวร์ Fast ForWord ในการช่วยพัฒนาทักษะการฟังอย่างแม่นยำ ส่งผลให้ทักษะการพูดและอ่านของนักเรียนดีขึ้นได้
รู้อย่างนี้แล้ว ผู้ปกครองท่านไหนที่ต้องการจะส่งเสริมเรื่องของการอ่านให้กับบุตรหลานของท่าน ก็สามารถที่จะนำเอาความรู้ดี ๆ ที่เรานำเอามาฝากกันในวันนี้ไปปรับใช้ เพื่อที่จะได้ช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านของบุตรหลานของท่านให้ดีขึ้นได้นะคะ
แต่หากท่านใดอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในการพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก ๆ ดี ทางสถาบัน BrainFit ขอเสนอโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงที่มีชื่อว่า “Reading Assistant Plus” และโปรแกรม พัฒนาทักษะการฟัง และสมาธิจากการฟัง และการเรียงลำดับก่อนหลัง ที่มีชื่อว่า “Fast ForWord” ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ยังสามารถช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้ใช้ให้ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดได้อีกด้วย
คุณผู้ปกครองท่านใด ต้องการให้ลูก ๆ มีพัฒนาการทักษะด้านภาษาการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนให้สมวัย อย่าลืมเริ่มต้นด้วยการพัฒนาสมองแต่ละด้านให้แข็งแรงก่อนนะคะ
พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้วยตนเอง
ติดต่อเรา เพื่อทดลองเรียนฟรี
02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769
LINE: @brainfit_th
Sources: Hudson, R.F., L. High and S. Al Otaiba. Dyslexia and the brain: What does current research tell us? The Reading Teacher, 60(6), 506–515. Kopko, Kimberly. Dyslexia and the Brain: Research Shows That Reading Ability Can Be Improved, Cornell University Department of Human Development