รู้หรือไม่? สมองส่วนไหนควบคุมการอ่าน

 

รู้หรือไม่? สมองส่วนไหนควบคุมการอ่าน

 

เพิ่มเพื่อน

 

รู้หรือไม่? สมองของเราทำงานอย่างไร เวลาที่ต้องใช้ทักษะการอ่าน

มาดูแต่ละส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการอ่านกัน

 

สมองฝั่งซ้ายทำงานอย่างไร

ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่ สมองฝั่งซ้ายพัฒนาได้ช้า เพราะว่าสมองฝั่งซ้ายนี้จะช่วยให้ผู้อ่าน สามารถเชื่อมโยงตัวอักษร (letters) และเสียง (sounds) เข้าด้วยกัน หรือเรียกว่า ความสามารถในการเชื่อมโยงลายเส้นของตัวอักษรไปสู่เสียง (Phonological Processing)

 

Occipital Lobe (สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมอง)

เป็นสมองส่วนที่ ช่วยทำหน้าที่ให้เรา “เข้าใจ” ในสิ่งที่เรา “เห็น” ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านนั้น อาจจะไม่ได้มีปัญหาที่การมองเห็นรูปภาพ หรือสิ่งต่าง ๆ แต่ที่พวกเขาไม่สามารถที่จะอ่านสิ่งที่เห็นได้นั้น เพราะสมองส่วน Occipital Lobe อาจมีการทำงานที่ผิดพลาด หรือบกพร่องไป ทำให้พวกเขา ไม่สามารถที่จะแปลความหมาย และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เห็นได้นั่นเองค่ะ

 

 

ในสมองของคนทั่วไป

Wernicke's area เป็นสมองส่วนที่ ควบคุมความเข้าใจภาษา ทำหน้าที่เปรียบเสมือนโกดังไว้เก็บคลังคำศัพท์และเสียงต่าง ๆ ในสมองของ ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านนั้น พบว่า สมองส่วนนี้แทบไม่แสดงการใช้งาน หรือไม่ได้มีการใช้งานเกิดขึ้นเลย นั่นก็หมายความว่า สำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาด้านการอ่าน การเรียนรู้คำหรือเสียงต่าง ๆ ในแต่ละครั้ง เปรียบเสมือนเป็นการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่แทบทุกครั้ง

 

Broca’s Area เป็นสมองส่วนที่ ควบคุมการพูด การออกเสียง สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาด้านการเชื่อมโยงเสียงกับตัวอักษรนั้น (Phonological Processing) สมองส่วนนี้จะแสดงการใช้งานน้อยมาก ซึ่งการทำงานของสมองส่วนนี้ จะเชื่อมโยงกับการทำงานของการพูด การฟัง และการอ่านด้วย

 

Auditory Processing เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ ควบคุมทักษะการฟัง ซึ่งหากสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลต่อการอ่านด้วย เนื่องจากจะก่อให้เกิดอุปสรรคในการวิเคราะห์เสียงที่ได้ยิน และนำไปสู่ความยากลำบากในการเรียนรู้คำใหม่ ๆ เช่น ความต่างของเสียง rock, rocks, rocked เป็นต้น

 

สมองที่ควบคุมการอ่าน

 เพิ่มเพื่อน

 

แล้วจะทำอย่างไร เมื่อเด็ก ๆ มีปัญหาด้านการอ่าน?

ข่าวดีก็คือ.. สมองของเรานั้น สามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้ หากเกิดการฝึกฝนและเรียนรู้ที่ถูกวิธี

และนี่คือ 3 วิธีที่พิสูจน์แล้วว่า สมองที่แตกต่าง เกิดการเรียนรู้ที่ดีและเปลี่ยนแปลงได้

 

1. พนักงานขับรถบัส กับ พนักงานขับรถแท็กซี่

สมองของพนักงานขับรถแท็กซี่นั้น มีการใช้งานสมองด้าน hippocampus มากกว่าเมื่อเทียบกับพนักงานขับรถบัส เนื่องจากพนักงานขับรถแท็กซี่จะต้องเรียนรู้และจดจำเส้นทางต่าง ๆ มากมาย เมื่อเทียบกับพนักงานขับรถบัสที่จดจำเฉพาะเส้นทางที่รถผ่านเท่านั้น (Maguire, Woollett and Spiers, 2006)

 

2. ภาษาเดียว กับ สองภาษา

จากการศึกษาพบว่า การเรียนรู้มากกว่า 1 ภาษาจะยิ่งเพิ่มพื้นที่ใยสมองให้เจริญเติบโตดีขึ้น ผู้ที่เรียนมากกว่า 1 ภาษา จะทำให้การทำงานของสมองด้านซ้ายที่ช่วยในการฟังภาษาแข็งแรงขึ้น (Mechelli et al., 2004)

 

3. เล่นดนตรี กับ ไม่เล่นดนตรี

นักดนตรีที่ฝึกเล่นเครื่องดนตรีอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อวัน จะส่งผลให้สมองส่วน gray matter มีการใช้งานมากกว่าผู้ที่ไม่เล่นดนตรีเลย (Gaser and Schlaug, 2003)

                                                                                                                                     

 


เราสามารถช่วยพัฒนาสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอ่านของผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านได้บ้าง?

1. แบ่งแยกความแตกต่างของเสียงให้ได้ก่อน เช่น pig / peck / peg

ก่อนที่จะไปเรียนรู้ว่าเสียงไหนเชื่อมโยงกับตัวอักษรใด เด็ก ๆ จะต้องเรียนรู้ความแตกต่างของเสียงที่คล้ายคลึงกันและแยกเสียงเหล่านี้ออกจากกันให้ได้ก่อน เช่น ความแตกต่างของเสียงระหว่าง (b,d) จากการศึกษาพบว่า หากเด็ก ๆ สามารถจำแนกแยกแยะความแตกต่างของเสียงได้ จะนำไปสู่การอ่านที่ดีขึ้น!

 

2. การฝึกฝนเรื่องของการอ่านให้มีความเข้มข้น สม่ำเสมอ และการได้รับกำลังใจที่ดีจะทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการเรียนรู้

สมองจะเกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ มีการกระตุ้น และความถี่ที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว   

 

3. ฝึกเรียนรู้คำศัพท์ตั้งแต่เด็ก

จากงานวิจัยพบว่า เด็กที่มีโอกาสเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ตั้งแต่วัยแรกเกิด จะมีแนวโน้มในการพัฒนาการอ่านได้รวดเร็วมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ในวัยแรกเกิด เมื่อเข้าสู่วัยเรียน

 

4. ฝึกเรื่องของการฟังอย่างแม่นยำ การเรียงลำดับสิ่งที่ได้ยิน และเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความจำเสียง โดยใช้โปรแกรม Fast ForWord

จากการศึกษาที่มหาวิทยาลัย Cornell ได้แสดงให้เห็นว่า นักเรียนที่เป็น Dyslexia ได้ใช้ซอฟต์แวร์ Fast ForWord ในการช่วยพัฒนาทักษะการฟังอย่างแม่นยำ ส่งผลให้ทักษะการพูดและอ่านของนักเรียนดีขึ้นได้

 

รู้อย่างนี้แล้ว ผู้ปกครองท่านไหนที่ต้องการจะส่งเสริมเรื่องของการอ่านให้กับบุตรหลานของท่าน ก็สามารถที่จะนำเอาความรู้ดี ๆ ที่เรานำเอามาฝากกันในวันนี้ไปปรับใช้ เพื่อที่จะได้ช่วยส่งเสริมและพัฒนาทักษะการอ่านของบุตรหลานของท่านให้ดีขึ้นได้นะคะ

 

 

แต่หากท่านใดอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะเลือกใช้วิธีการใดในการพัฒนาทักษะการอ่านของเด็ก ๆ ดี ทางสถาบัน BrainFit ขอเสนอโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงที่มีชื่อว่าReading Assistant Plus” และโปรแกรม พัฒนาทักษะการฟัง และสมาธิจากการฟัง และการเรียงลำดับก่อนหลัง ที่มีชื่อว่าFast ForWord” ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ยังสามารถช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้ใช้ให้ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดได้อีกด้วย

 

คุณผู้ปกครองท่านใด ต้องการให้ลูก ๆ มีพัฒนาการทักษะด้านภาษาการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนให้สมวัย อย่าลืมเริ่มต้นด้วยการพัฒนาสมองแต่ละด้านให้แข็งแรงก่อนนะคะ

 

 

 

พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้วยตนเอง

 Reading Assistant Plus

 

 

ติดต่อเรา เพื่อทดลองเรียนฟรี

 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

 

Sources: Hudson, R.F., L. High and S. Al Otaiba. Dyslexia and the brain: What does current research tell us? The Reading Teacher, 60(6), 506–515. Kopko, Kimberly. Dyslexia and the Brain: Research Shows That Reading Ability Can Be Improved, Cornell University Department of Human Development

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4