มาเรียนรู้วิธีการช่วยให้เด็ก ๆ มีระเบียบมากขึ้นกันเถอะ!
เด็กส่วนใหญ่มักจะสร้างความวุ่นวายใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ และไม่มีความเป็นระเบียบ เช่น ลืมหนังสือไว้ที่โรงเรียน, กองผ้าขนหนูไว้ที่พื้น หรือล้มเลิกสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ยังไม่เริ่ม สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่คิดในตอนนี้ก็คงจะเป็นการอยากที่จะให้พวกเขาเป็นระเบียบมากกว่านี้ จดจ่อกับหน้าที่ของตนเอง และไม่ล้มเลิกกิจกรรมที่ยังไม่ได้เริ่มโดยง่าย ตัวอย่างกิจกรรมก็เช่น การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ เป็นต้น
คำถามก็คือ แล้วมันจะเป็นได้ไหมล่ะ?
คำตอบก็คือ เป็นไปได้! เด็กบางคนอาจจะมีระเบียบโดยธรรมชาติ แต่เด็ก ๆ คนอื่นอาจจะต้องเรียนรู้ตามประสบการณ์ที่มีเข้ามา จากการช่วยเหลือ และการฝึกฝน เด็ก ๆ สามารถพัฒนาในเรื่องการมีระเบียบได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ
และคุณคือคนที่เหมาะสมที่สุดในการสอนเด็กๆ ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าตัวเองก็ไม่ได้มีระเบียบมากมายอะไร วิธีนี้ง่ายเหมือนการนับ 1-2-3 ซึ่งเราจะใช้หลักในการสอนให้เด็กๆมีระเบียบ ดังนี้
ง่ายเหมือนนับ 1-2-3
สำหรับเด็ก ภาระกิจของเด็กสามารถแบ่งได้ตามขั้นตอน 1-2-3 ดังนี้
นับ 1. การจัดระเบียบ หมายถึง การที่เด็ก ๆ จะเริ่มต้นวางแผนเป็นลำดับจากสิ่งที่เขาต้องการเริ่มต้นลงมือทำ และรวบรวมอุปกรณ์ที่จำเป็น ที่จะเป็นสิ่งที่ทำให้งานเสร็จสมบูรณ์
นับ 2. คือการให้ความสนใจ หมายถึง การติดตามงานที่ตนเองทำ และเรียนรู้ที่จะพูดว่า "ไม่" กับสิ่งที่มารบกวน
นับ 3. ทำให้เสร็จ หมายถึง การทำงานให้เสร็จ การตรวจสอบงาน และการเตรียมตัวส่งงานนั้น ๆ เช่น ทำการบ้านเสร็จ เก็บใส่แฟ้ม แล้วนำแฟ้มไปใส่กระเป๋า เพื่อนำไปส่งที่โรงเรียนในวันถัดไป
เมื่อเด็กๆรู้ขั้นตอน และวิธีการใช้เหล่านี้แล้ว พวกเขาจะสามารถเริ่มต้นที่จะรับรู้แนวทางในการทำงาน และเริ่มมีอิสระในการทำงานด้วยตนเอง ภาระงานอื่นๆที่เขาจะต้องทำอาจจะรวมไปถึงงานบ้าน และภาระงานอื่น ๆ ที่ได้รับหมอบหมาย ที่ต้องทำให้เสร็จโดยที่จะมีความต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าเด็กๆยังคงต้องการความช่วยเหลือ และคำแนะนำจากผู้ปกครอง แต่คุณอาจจะไม่ต้องให้ความช่วยเหลือพวกเขามากเกินไป
ไม่เพียงแต่จะฝึกทักษะการมีระเบียบเท่านั้น การเรียนรู้วิธีทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง จะช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกว่าตัวเองเก่ง และมีความสามารถ เด็ก ๆ จะรู้สึกถึงความมั่นใจ และภูมิใจในตัวเอง ที่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ สำเร็จ และมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ พวกเขาจะมีความสุขเมื่อเขารู้ว่าเขามีเวลาเหลือมากพอที่จะได้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
เริ่มจากการแปรงฟัน นำไปสู่การทำรายงาน
เรายังคงใช้หลักการนับ 1-2-3 อยู่ หลักการนี้สามารถช่วยให้เด็ก ๆ นำไปใช้ฝึกเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น การแปรงฟัน
นับ 1. การจัดระเบียบ : ไปที่ห้องน้ำ หยิบแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และเปิดน้ำ
นับ 2. การให้ความสนใจ : หมอฟันบอกว่าต้องแปรงฟันเป็นเวลา 3 นาที นั่นหมายถึงต้องแปรงฟันต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะได้ยินเพลงที่เพราะมากมาจากวิทยุ หรือพึ่งจำได้ว่าจะต้องโทรหาเพื่อนก็ตาม แต่เด็ก ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องทำตามในสิ่งที่หมอฟันบอก ก็คือการแปรงฟันให้ห่างจากเหงือกเป็นระยะอย่างต่อเนื่องโดยไม่วอกแวก
นับ 3. ทำให้เสร็จ : ถ้าทำตามการนับ 1-2 มาอย่างดีแล้ว พอถึงนับ 3 มันก็จะเสร็จในตัวของมันเอง เย่! หมดเวลา 3 นาทีและฟันของเธอก็สะอาด จากนั้นก็ปิดน้ำ วางแปรงสีฟันกับยาสีฟัน และก็ดูว่าไม่มียาสีฟันติดอยู่ที่หน้า
ถ้ามีความซับซ้อนของงานมากขึ้น
เช่น การทำรายงาน ขั้นตอนต่าง ๆ ควรเกี่ยวข้องกัน แต่องค์ประกอบพื้นฐานยังคงเหมือนเดิม
นับ 1. การจัดระเบียบ
ในขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เด็ก ๆ รู้ว่า เขาต้องการทำอะไร และต้องเตรียมอุปกรณ์ที่สำคัญ/จำเป็นอะไรบ้าง เช่น "หนูมีรายงานที่ต้องเขียน หนูจะเริ่มจากตรงไหนก่อนดีจ๊ะ?"
ลองช่วยเด็ก ๆ เขียนรายการออกมา เช่น เลือกหนังสือที่แน่ใจว่าตรงกับเนื้อหา เขียนชื่อหนังสือ และผู้เขียน เช็คหนังสือที่ห้องสมุด เขียนวันที่กำกับไว้บนปฏิทิน หลังจากนั้นช่วยเด็กๆนึกถึงอุปรณ์ที่ต้องการเช่น : หนังสือ กระดาษโน๊ต ปากกาสำหรับจด ข้อคำถามจากคุณครู และหน้าปกรายงาน ให้เด็กเป็นคนรวบรวมอุปกรณ์เหล่านี้
ระหว่างการทำ พยายามสอนให้เขารู้จักใช้การใช้เครื่องหมายถูก ว่างานอะไรเสร็จไปแล้วบ้าง และพร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไป สาธิตในการเพิ่มรายการด้วย พยายามสอนให้เขาคิด "โอเค งานนี้เสร็จแล้ว แล้วเราต้องทำอะไรต่อ? อ๋อ! ต้องเริ่มอ่านหนังสือแล้ว" และเพิ่มรายการเข้าไปว่า "ต้องอ่านหนังสือให้จบ" และ"เริ่มเขียนรายงาน"
นับ 2. การให้ความสนใจ
อธิบายขั้นตอนนี้ที่เกี่ยวกับการให้ความสนใจ และการทำงานอย่างต่อเนื่อง บอกกับเด็กๆถึงสิ่งที่พวกเขาควรจะทำ ทำตามรายการที่เขียนไว้ และพยายามทำงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องส่วนที่ยากที่สุดสำหรับขั้นตอนนี้ก็คือ เด็ก ๆ อาจจะอยากจะทำอย่างอื่นมากกว่างานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย ผู้ปกครองจะต้องคอยช่วยให้เด็ก ๆ ต้านทานสิ่งยั่วยุต่าง ๆ
เช่น ในขณะที่กำลังทำรายงานอยู่ เด็กๆอาจจะเกิดไอเดียหรือความคิดในหัวว่า "ฉันอยากเล่นบาสเก็ตบอลในตอนนี้" เราต้องสอนให้พวกเขารู้จักที่จะท้าทาย และหักห้ามใจตัวเอง โดยการให้เขาถามตัวเองว่า "นั่นเป็นสิ่งที่ฉันควรจะทำในตอนนี้หรือไม่?" อาจจะมีการให้พักเบรคนิดหน่อย แล้วค่อยกลับมาทำงานถือว่ายังโอเค
นับ 3.ทำให้เสร็จ
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เด็ก ๆ ใกล้ที่จะทำงานเสร็จ ผู้ปกครองสามารถพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เด็กได้ทำไป เช่น ทำงานเป็นอย่างไรบ้าง? ติดขัดอะไรไหม? ยากหรือเปล่า? หรือผู้ปกครองช่วยอ่าน และตรวจทานเพื่อค้นหาข้อผิดพลาด พยายามสอนให้เด็ก ๆ จริงจังกับขั้นตอนนี้ เช่น การใส่ชื่อลงไปในรายงาน การใส่ปกรายงาน เอารายงานใส่แฟ้ม เพื่อนำไปส่งที่โรงเรียนในวันถัดไป
วิธีเริ่มต้นให้เด็ก ๆ คุ้นเคยกับการสอนแบบนับ 1-2-3
ทำความเข้าใจความหมาย
เริ่มบทสนทนาจากการยกตัวอย่างที่เหมือนในหัวข้อ "การทำรายงานโดยใช้วิธีการนับ 1-2-3" “การแปรงฟันโดยใช้วิธีการนับ 1-2-3" และลองถามความคิดเห็นกับเด็ก ๆ เช่น มันง่าย หรือยาก? เคยทำแบบนี้มาก่อนไหม? มีอะไรที่เราจะเอามาใช้ได้บ้าง?
เริ่มวางแผน
ระดมความคิดเห็นหาวิธีที่ง่าย หรือดีกว่า ถ้าเด็ก ๆ เริ่มสนใจ ใส่ใจ และมีระเบียบกับสิ่งที่จะต้องทำได้แล้ว บางทีการบ้านอาจจะเสร็จเร็วขึ้น แล้วก็จะมีเวลาเล่นมากขึ้น พ่อแม่อาจจะมีการเข้มงวดกับเด็กๆน้อยลง และก็เพิ่มรางวัลให้กับเด็ก ๆ เพื่อให้เขารู้สึกภาคภูมิใจ
ตั้งความคาดหวัง
ผู้ปกครองต้องมีความคาดหวังที่ชัดเจน และใกล้เคียงกับความเป็นจริงว่า เด็ก ๆ จะเริ่มมีระเบียบมากขึ้นไม่มากก็น้อย หากปฎิบัติตามข้อแนะนำอย่างต่อเนื่อง และผู้ปกครองก็ต้องคอยให้การช่วยเหลือเขาไปตลอดทาง
วางแผน
ตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน คุณอาจจะเสนอตัวเลือกมา 3 อย่าง แล้วให้เด็ก ๆ เลือกมา 1 อย่าง เช่น เด็ก ๆ จะทำการบ้าน อาบน้ำ หรือเล่นของเล่น นั่นก็คือจุดเริ่มต้นที่จะลงมือทำ แต่ก็ต้องทำทุกอย่างให้สำเร็จด้วย
ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกสบายใจเมื่อต้องคุยกับคุณ
คุณอาจจะถามถึงความคืบหน้าของงานก็ได้ หรือจะลองตั้งคำถามที่เป็นตัวช่วยไกด์ให้เด็ก ๆ ไปในทิศทางที่ควรจะเป็น ซึ่งจะต้องเป็นคำถามที่คอยชี้แนะไปยังขั้นตอนต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องการ เพื่อให้งานสำเร็จ และคอยชื่นชมในความสำเร็จแต่อย่ามากจนเกินไป เด็ก ๆ จะรู้สึกพึงพอใจ และมีแรงจูงใจ
พยายามตั้งคำถาม ทุก ๆ ครั้งที่เด็ก ๆ ต้องทำงานที่ได้รับมอบหมาย ลองฝึกให้พวกเขาตั้งคำถามกับตนเองและตอบคำถามตัวเองด้วยความคิดและการลงมือทำ เช่น ถ้าเด็กไม่อยากเอาของที่ซื้อมาลงจากรถ ลองให้เด็กๆถามตัวเองว่า เช่น
Q : ฉันต้องเอาของลงจากรถหมดเลยไหม?
A : ไม่จำเป็น ฉันจะไปนอนที่โซฟา
Q : ฉันปิดประตูรถยังนะ?
A : ปิดเเล้ว
Q : นมกับไอศรีมอยู่ไหน? ฉันต้องเอาไปเก็บก่อน
A : เสร็จแล้ว แล้วตอนนี้ต้องทำอะไรต่อ
ให้ลองสังเกตชุดคำถามและคำตอบในแต่ภาระงานนั้น ๆ ของเด็ก ๆ คอยแนะนำพวกเขาด้วยคำถาม และตอบคำถามพวกเขาอย่างชัดเจน บางที่พวกคำถามที่คุณเคยถามเด็ก ๆ อาจจะไปอยู่ในความคิดของพวกเขา ให้พวกเขาได้ลองหาคำตอบตามคำแนะนำของคุณ แล้วพวกเขาจะได้เรียนรู้ที่จะตั้งคำถามได้ด้วยตัวเอง โดยปราสจากคำชี้แนะจากผู้ปกครอง
ลองทำงานด้วยกันกับเด็ก ๆ และหาข้อสรุปให้กับคำถามที่ได้รับคำแนะนำมา คุณอาจจะเข้าไปร่วมวงกับเด็ก ๆ และเริ่มตั้งคำถาม และช่วยเด็ก ๆ หาคำตอบ หลังจากนั้นก็โยนคำถามทั้งหมดให้เด็ก ๆ ได้เป็นคนลงมือทำตามคำแนะนำ
สิ่งที่คุณควรระลึกไว้อยู่เสมอก็คือ
มันจะใช้เวลาที่ค่อนข้างนานในการที่จะสอนเด็กๆให้เข้าใจในแต่ละขั้นตอน และมันก็ใช้เวลานานเหมือนกันสำหรับเด็กที่ต้องนำทักษะเหล่านี้ไปปรับใช้ เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายบรรลุตามเป้าหมาย
บางครั้งอาจจะดูง่ายกว่าถ้าเราจะเป็นคนทำให้พวกเขาเลย เพราะมันจะใช้เวลาน้อยกว่า แต่ปัญหาก็คือ เด็ก ๆ จะไม่รู้จักการจัดระเบียบ การวางแผนลงมือทำ และการประสบความสำเร็จเลย ถ้าหากผู้ปกครองคอยลงมือทำให้เด็ก ๆ ตลอดในทุกสถานการณ์ที่ท้าทายความสามารถของพวกเด็กๆ
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมมันถึงคุ้มค่ากับความพยายาม
หากคุณสามารถสอนเรื่องนี้ได้ เพราะสิ่งที่เด็ก ๆ จะได้รับก็คือ
1. เด็กๆได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับพวกเขา เช่น การเทนมลงในชามซีเรียล ผูกเชือกรองเท้า เลือกเสื้อผ้า ทำการบ้าน
2. พวกเขาจะพัฒนาเรื่องของการเป็นตัวเอง และความเป็นอิสระ เด็กอายุ 4 ขวบที่สามารถแต่งตัวเองได้ จะรู้สึกว่าตัวเองเป็นพี่โตแล้ว มันจะทำให้รู้สึกดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเขาเรียนรู้ที่จะทำอะไรได้หลาย ๆ อย่างโดยปราศจากการช่วยเหลือ จากความรู้สึกที่ดีนี้ เด็ก ๆ จะเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นว่าตัวเองสามารถทำกิจกรรมทุกอย่างได้
3. การกำชับ ย้ำๆกับเด็กบ่อยครั้ง จะทำให้เด็กรู้สึกว่าผู้ปกครองมีความคาดหวังกับพวกเขา ว่าพวกเขาควรจะทำตามแบบแผนที่วางไว้จากความต้องการของผู้ปกครอง หากพวกเขาทำไม่ได้ พวกเขาอาจจรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง และอาจจะเสียความมั่นใจในตนเองไปในที่สุด
ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรที่จะส่งเสริมแนวทางการทำงานที่เกิดจากความคิดของเด็ก ๆ และให้กำลังใจพวกเขา เพื่อเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ และรับรู้ถึงความคาดหวังของคนรอบข้างที่คอยส่งเสริมพวกเขาอยู่
- รูปแบบการสอนแบบนี้จะต้องสอนด้วยความรัก คุณต้องใช้เวลาอย่างมากในการแสดงให้เด็ก ๆ เห็นถึงการทำบางสิ่งบางอย่างด้วยความสนใจ ด้วยความอดทน ความรัก ความเมตตา และความสนใจที่มาจากหัวใจ มันจะทำให้เด็ก ๆ รับรู้ถึงความรัก และการเอาใจใส่
วิธีการสอนให้ลูกมีระเบียบมากขึ้นโดยการนับ 1-2-3 ฟังดูไม่ยากเลย สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กๆ แล้วผู้ปกครองก็จะได้มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว และยังฝึกให้เด็กๆได้ฝึกคิดเป็นขั้นตอน และเป็นเหตุเป็นผล
ที่ BrainFit เรามีคอร์สฝึกสมองทุกด้านที่จะช่วยพัฒนาทักษะสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ โดยโปรแกรมนี้ยังได้รวมการสอนการเรื่องการเข้าสังคม และการควบคุมจัดการอารมณ์ของตัวเองเอาไว้ด้วย เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถจัดการกับอารมณ์ และพฤติกรรมของตัวเองได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ นั่นเอง
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสุตรคลิก!
คอร์สฝึกสมองทุกด้าน
--------------------------
และทางสถาบันยังมีโปรแกรม Fast ForWord® ที่ช่วยพัฒนาทักษะการฟังและการอ่าน ที่สามารถช่วยพัฒนา สมาธิ ความจำ การเรียนลำดับก่อนหลัง การอ่าน และการฟัง ซึ่งเป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้รับการพัฒนาทักษะดังที่กล่าวมาไปพร้อม ๆ กับใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร คลิก!
----------------------------------
BrainFit รับสมัครน้อง ๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี
รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!
ที่ 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769
LINE: @brainfit_th
แหล่งอ้างอิง: KidsHealth Medical Experts