จินตนาการ VS ความจริง ความแตกต่างที่ยากสำหรับเด็ก

 

 

จินตนาการ VS ความจริง ความแตกต่างที่ยากสำหรับเด็ก

 

แอดไลน์สอบถาม

 

          สำหรับเด็ก ๆ แล้วการใช้ จินตนาการ เล่าเรื่อง หรือเล่นบทบาทสมมติ เป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในเรื่องพัฒนาการของเด็ก ในตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้รับการสนับสนุนให้ใช้จินตนาการของเราในรูปแบบต่าง ๆ แต่สำหรับเด็กเล็กส่วนใหญ่การเข้าใจความแตกต่างระหว่าง จินตนาการ กับ ความจริง นั้นเป็นเรื่องยาก ในฐานะพ่อแม่เราต้องหาวิธีที่จะช่วยสอนลูก ๆ ของเราถึงความแตกต่างของ 2 สิ่งนี้นะคะ 

 

          การจินตนาการและการสร้างเรื่องจะ พบมากในเด็กวัย 4-6 ปี เด็ก ๆ จะชอบคิดฝันและชอบเล่นบทบาทสมมติเป็นชีวิตจิตใจ เด็ก ๆ มักเลียนแบบเรื่องราวในชีวิตจริงที่ได้พบเห็นและนำมาสู่โลกสมมติ เช่น เป็นครู พ่อ แม่ และอื่น ๆ หรือบางครั้งก็เลียนแบบจากเรื่องราวที่ตนเองได้ฟังจากนิทาน

 

จินตนาการ และ ความจริง

 

แต่จะเป็นอย่างไร หากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถแยกแยะระหว่างโลกแห่งจินตนาการและโลกแห่งความจริงได้ ? ?

 

          ดังตัวอย่างจากข่าวของประเทศฟิลิปปินส์ เด็กน้อยแต่งกายเลียนแบบเป็นซูเปอร์แมน คิดว่าตัวเองบินได้ ก็เลยทดลองบิน จึงทำให้เด็กคนนั้นประสบอุบัติเหตุ ... จะสังเกตได้ว่า สิ่งนี้ล้วนเกิดจากจินตนาการและการเลียนแบบของเด็กที่ยังไม่สามารถแยกแยะโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการได้นั่นเอง


ถ้าเด็กเพ้อฝัน จินตนาการ มากเกินไป อาจทำให้เด็กหลุดออกไปจากโลกของความเป็นจริงและจะทำให้เกิดความสับสนระหว่างจินตนาการ และ ความจริงได้

 

โดยพื้นฐานความคิดและจินตนาการของเด็กวัยนี้ คือ

 

  1. เด็ก ๆ มักจะคิดว่า อะไรที่เคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต
     
  2. มีความคิดเชิงเวทมนตร์ คือจะมีจินตนาการแนวแฟนตาซีเกินจริง
     
  3. เด็ก ๆ มักคิดว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลกัน (Phenominalistic Causality) เป็นพื้นฐานของการคิดเชื่อมโยง 
     
  4. เด็ก ๆ มักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) ตัวเอกของหนังสือที่เขาชอบก็คือตัวเขานั่นเอง

 

เพราะฉะนั้น วันนี้เรามี วิธีส่งเสริมจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ มาฝากกันค่ะ ? ✨

 

  1. เลือกนิทาน บทละคร หรือหนังที่ไม่มีความรุนแรงและเหมาะสมกับวัยเด็ก โดยควรถามความรู้สึกหรือความคิดเห็นของพวกเขาไปด้วยขณะดูหรือเมื่อจบแล้ว เพื่อเราจะได้ทราบความคิดความรู้สึกของเขาขณะนั้น ว่าเขาสามารถเข้าใจเรื่องได้ตามความเป็นจริงหรือไม่ 
     
  2. พูดคุยกับเด็ก เพื่ออธิบายให้เด็กเข้าใจ ว่าอะไรเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติ ทำไมตัวละครตัวนี้ถึงทำได้ ทำไมเราถึงทำอย่างตัวละครนี้ไม่ได้ 
     
  3. กระตุ้นพฤติกรรมที่ดี โดยอาจยกพฤติกรรมที่ดีของตัวละครขึ้นมา เช่น ป๊อบอายชอบกินผักโขมทำให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมกินผักของป๊อบอาย เป็นต้น 
     
  4. จินตนาการและการเลียนแบบของเด็กเป็นสิ่งที่ดี ควรส่งเสริมและดูแลให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี ไม่ให้เด็กหลุดไปอยู่ในโลกจินตนาการมากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียตามมา

 

          อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีดังกล่าวไปใช้ดูนะคะ ปรับให้สมวัยกับลูก จินตนาการไม่ใช่เรื่องไม่ดี เพียงแต่ต้องให้อยู่ในขอบเขตเท่านั้นเองค่ะ ค่อย ๆ บอกกับลูก แล้วเขาจะเข้าใจ และเรียนรู้ได้ค่ะ ?

จินตนาการ และ ความจริง


          สถาบัน BrainFit ของเราให้ความสำคัญกับพื้นฐานสมองที่ดีและแข็งแรง เรามีหลักสูตรพัฒนาสมองรอบด้านที่จะช่วยให้เด็ก ๆ มีทักษะพื้นฐานของสมองที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว การมอง การฟัง สมาธิ รวมถึงเรื่องอารมณ์ เพื่อให้เด็ก ๆ พร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งกว่าที่เคย !


แอดไลน์สอบถาม

 


 
ติดต่อขอทดลองเรียน ฟรี!


จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

 

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

แอดไลน์สอบถาม

LINE: @brainfit_th 

 

 

อ้างอิง: กระทรวงวัฒนธรรม

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4