จินตนาการ VS ความจริง ความแตกต่างที่ยากสำหรับเด็ก

 

 

จินตนาการ VS ความจริง ความแตกต่างที่ยากสำหรับเด็ก

 

แอดไลน์สอบถาม

 

          สำหรับเด็ก ๆ แล้วการใช้ จินตนาการ เล่าเรื่อง หรือเล่นบทบาทสมมติ เป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในเรื่องพัฒนาการของเด็ก ในตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้รับการสนับสนุนให้ใช้จินตนาการของเราในรูปแบบต่าง ๆ แต่สำหรับเด็กเล็กส่วนใหญ่การเข้าใจความแตกต่างระหว่าง จินตนาการ กับ ความจริง นั้นเป็นเรื่องยาก ในฐานะพ่อแม่เราต้องหาวิธีที่จะช่วยสอนลูก ๆ ของเราถึงความแตกต่างของ 2 สิ่งนี้นะคะ 

 

          การจินตนาการและการสร้างเรื่องจะ พบมากในเด็กวัย 4-6 ปี เด็ก ๆ จะชอบคิดฝันและชอบเล่นบทบาทสมมติเป็นชีวิตจิตใจ เด็ก ๆ มักเลียนแบบเรื่องราวในชีวิตจริงที่ได้พบเห็นและนำมาสู่โลกสมมติ เช่น เป็นครู พ่อ แม่ และอื่น ๆ หรือบางครั้งก็เลียนแบบจากเรื่องราวที่ตนเองได้ฟังจากนิทาน

 

จินตนาการ และ ความจริง

 

แต่จะเป็นอย่างไร หากเด็ก ๆ ยังไม่สามารถแยกแยะระหว่างโลกแห่งจินตนาการและโลกแห่งความจริงได้ ? ?

 

          ดังตัวอย่างจากข่าวของประเทศฟิลิปปินส์ เด็กน้อยแต่งกายเลียนแบบเป็นซูเปอร์แมน คิดว่าตัวเองบินได้ ก็เลยทดลองบิน จึงทำให้เด็กคนนั้นประสบอุบัติเหตุ ... จะสังเกตได้ว่า สิ่งนี้ล้วนเกิดจากจินตนาการและการเลียนแบบของเด็กที่ยังไม่สามารถแยกแยะโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการได้นั่นเอง


ถ้าเด็กเพ้อฝัน จินตนาการ มากเกินไป อาจทำให้เด็กหลุดออกไปจากโลกของความเป็นจริงและจะทำให้เกิดความสับสนระหว่างจินตนาการ และ ความจริงได้

 

โดยพื้นฐานความคิดและจินตนาการของเด็กวัยนี้ คือ

 

  1. เด็ก ๆ มักจะคิดว่า อะไรที่เคลื่อนไหวได้ล้วนมีชีวิต
     
  2. มีความคิดเชิงเวทมนตร์ คือจะมีจินตนาการแนวแฟนตาซีเกินจริง
     
  3. เด็ก ๆ มักคิดว่าเหตุการณ์สองอย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลกัน (Phenominalistic Causality) เป็นพื้นฐานของการคิดเชื่อมโยง 
     
  4. เด็ก ๆ มักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric) ตัวเอกของหนังสือที่เขาชอบก็คือตัวเขานั่นเอง

 

เพราะฉะนั้น วันนี้เรามี วิธีส่งเสริมจินตนาการอย่างสร้างสรรค์ มาฝากกันค่ะ ? ✨

 

  1. เลือกนิทาน บทละคร หรือหนังที่ไม่มีความรุนแรงและเหมาะสมกับวัยเด็ก โดยควรถามความรู้สึกหรือความคิดเห็นของพวกเขาไปด้วยขณะดูหรือเมื่อจบแล้ว เพื่อเราจะได้ทราบความคิดความรู้สึกของเขาขณะนั้น ว่าเขาสามารถเข้าใจเรื่องได้ตามความเป็นจริงหรือไม่ 
     
  2. พูดคุยกับเด็ก เพื่ออธิบายให้เด็กเข้าใจ ว่าอะไรเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติ ทำไมตัวละครตัวนี้ถึงทำได้ ทำไมเราถึงทำอย่างตัวละครนี้ไม่ได้ 
     
  3. กระตุ้นพฤติกรรมที่ดี โดยอาจยกพฤติกรรมที่ดีของตัวละครขึ้นมา เช่น ป๊อบอายชอบกินผักโขมทำให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมกินผักของป๊อบอาย เป็นต้น 
     
  4. จินตนาการและการเลียนแบบของเด็กเป็นสิ่งที่ดี ควรส่งเสริมและดูแลให้อยู่ในขอบเขตที่พอดี ไม่ให้เด็กหลุดไปอยู่ในโลกจินตนาการมากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียตามมา

 

          อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ลองนำวิธีดังกล่าวไปใช้ดูนะคะ ปรับให้สมวัยกับลูก จินตนาการไม่ใช่เรื่องไม่ดี เพียงแต่ต้องให้อยู่ในขอบเขตเท่านั้นเองค่ะ ค่อย ๆ บอกกับลูก แล้วเขาจะเข้าใจ และเรียนรู้ได้ค่ะ ?

จินตนาการ และ ความจริง


          สถาบัน BrainFit ของเราให้ความสำคัญกับพื้นฐานสมองที่ดีและแข็งแรง เรามีหลักสูตรพัฒนาสมองรอบด้านที่จะช่วยให้เด็ก ๆ มีทักษะพื้นฐานของสมองที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว การมอง การฟัง สมาธิ รวมถึงเรื่องอารมณ์ เพื่อให้เด็ก ๆ พร้อมเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งกว่าที่เคย !


แอดไลน์สอบถาม

 


 
ติดต่อขอทดลองเรียน ฟรี!


จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

 

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

แอดไลน์สอบถาม

LINE: @brainfit_th 

 

 

อ้างอิง: กระทรวงวัฒนธรรม

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4