จะเกิดอะไรขึ้น?! เมื่อเราเลี้ยงลูกแบบปกป้องมากเกินไป

 

จะเกิดอะไรขึ้น?! เมื่อเราเลี้ยงลูกแบบปกป้องมากเกินไป
 

เลี้ยงลูก แบบปกป้องมากเกินไปไม่ดีตรงไหน? เพราะโลกภายนอกมีผู้คนมากมายและเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับลูกเรา ดังนั้นการที่เราคอยระวังหลังให้ลูกทุกอย่าง เพื่อให้เขามีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง รวมไปถึงการประสบความสำเร็จในชีวิต โดยไม่พบเจอกับความล้มเหลว จึงเป็นเรื่องดีไม่ใช่หรือ? 

 


เพิ่มเพื่อน
 

 

แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่คะ ว่านักจิตวิทยาได้ให้ข้อมูลว่า เลี้ยงลูก แบบปกป้องมากเกินไปหรือที่เราคุ้นหูกันว่า “เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน” สามารถส่งผลเสียต่อพฤติกรรมของลูกรักได้เช่นกันค่ะ

 

1. กลายเป็นเด็กขี้กังวล

ไม่กล้าเข้าสังคม เพราะการไม่ให้เขาได้เผชิญกับความล้มเหลว หรือเจอความผิดพลาดบ้างเลย จะทำให้เด็กอ่อนไหวกับทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเขาได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็ก ๆ หรือใหญ่ เช่น ไม่กล้าตอบคำถามเพราะกลัวผิด ไม่กล้ากระโดดเพราะกลัวล้ม 

 

ซึ่งจากงานวิจัยค้นพบว่า การเลี้ยงลูกแบบปกป้องมากเกินไป จะส่งผลให้เด็กเกิดความเครียดในระดับมาก จนเป็นโรควิตกกังวล (Anxiety disorder)    

 

2.  ขาดทักษะในการแก้ไขปัญหา

เมื่อเขาต้องเผชิญกับงานหรือกิจกรรมที่ท้าทาย ก็จะเกิดความท้อแท้ได้ง่าย เพราะเดิมทีเขาถูกเลี้ยงดูเหมือนอยู่ในเกราะที่คอยป้องกันเขาจากโลกภายนอก ดังนั้นเมื่อต้องเจอสถานการณ์ที่กดดัน จึงทำให้เขารู้สึกอ่อนไหวและใจสลายได้ง่าย 

 

 

"แก้ไขปัญหา"

 

 

3. มักจะตกเป็นเป้าและโดนเพื่อนแกล้ง 

เพราะเด็กมักจะถูกเลี้ยงดูแบบประคบประหงมเหมือนเป็นเด็กตลอดเวลา และไม่ได้มีโอกาสออกไปเล่นกิจกรรมผาดโผน ผจญภัยมากนัก เช่น ปั่นจักรยาน เล่นสเก็ตบอร์ด ปีนผาจำลอง หรือออกไปเล่นข้างนอกกับเพื่อนเลย

 

จึงทำให้เด็ก ๆ ขาดทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การจัดการความขัดแย้ง และการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ดังนั้นเมื่อเขาไม่รู้วิธีการเอาตัวรอด จึงทำให้ตกเป็นเป้าให้เพื่อนกลั่นแกล้งได้ง่าย 

 

4. ขาดทักษะในการตัดสินใจที่ดี 

เพราะผู้เลี้ยงดูมักจะตัดสินใจแทนว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ ทำให้เด็ก ๆ ขาดการฝึกฝนในการตัดสินใจด้วยตนเอง ทำให้เมื่อพวกเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่หรือต้องเริ่มตัดสินใจเรื่องเล็ก ๆ จึงไม่สามารถตัดสินใจเองได้  

 

เพราะกลัวจะตัดสินใจผิดพลาดและเขาเรียนรู้มาตลอดว่าชีวิตเขาของขึ้นอยู่กับพ่อแม่มากกว่าความอิสระของตนเอง

 

นอกจากนี้ หากเราไม่สามารถปล่อยวางหรือเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดู ก็อาจนำไปสู่การเลี้ยงดูแบบควบคุม มีการสร้างกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด จนทำให้เขารู้สึกขาดอิสรภาพและไม่มีความสุขได้นะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาเริ่มโตไปเจอโลกภายนอกและเราไม่สามารถอยู่ใกล้ลูกรักตลอดเวลาได้ค่ะ

 

 

 

 

ดังนั้นเพื่อเลี้ยงดูให้ลูกรักเติบโตเป็นเด็กที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในสังคมและมีความสุขในการใช้ชีวิต

วันนี้ BrainFit มีข้อแนะนำในการปรับ วิธีการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ 

 

1.  พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพ่อแม่คนอื่น ๆ

เกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูหรือไอเดียใหม่ ๆ แต่ใดใดก็แล้วแต่ มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการเลี้ยงดูที่ดีไร้ที่ตินั้นไม่มีอยู่จริง และไม่มีวิธีตายตัวสำหรับสถานการณ์เฉพาะหรือบุคคลเฉพาะแน่นอนค่ะ 

 

2.  เปิดใจพูดคุยกับลูกรัก

พยายามให้บทสนทนาที่พูดคุยกับลูกรัก เป็นหัวข้อที่เขาสนใจและอยากจะแลกเปลี่ยนกับเรา แม้ว่าเรื่องที่เขาพูดออกมาอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นด้วย แต่การที่เขาได้แลกเปลี่ยนและเปิดกว้างทางความคิด จะทำให้เราเข้าใจและเห็นความต้องการของเขาและเราจะสามารถปรับกิจกรรมที่เขาชอบได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ

 

"เลี้ยงลูก"

 

 

3.  ใจดีกับตัวเองและลูกรัก

ลองปล่อยให้ใจเราได้ผ่อนคลาย เมื่อเขาอยากออกไปเล่นข้างนอก ได้ทำกิจกรรมท้าทายหรือปีนป่ายบ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกรักได้ลองเผชิญผลลัพธ์ต่าง ๆ ด้วยตัวเขาเอง เช่น การสะดุดล้ม การโดนเพื่อนแย่งของเล่น หรือการแพ้ชนะก็ตาม เพื่อให้เขาเรียนรู้ความล้มเหลวและกล้าจัดการปัญหาด้วยตัวเขาเอง ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นกระบวนการคิดของเขาไปในตัวด้วยนะคะ 

 

4.  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

หากคุณพ่อคุณแม่มีความยากลำบากในการปรับหาวิธีเลี้ยงดู เราสามารถรับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยาเด็ก นักบำบัด หรือจิตแพทย์ ได้เช่นกันค่ะ เพื่อหาวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมต่อลูกรัก และคุณพ่อคุณแม่เองก็มีความสุขไปพร้อมกับตัวเขาด้วยเช่นกัน  

 

 

พัฒนาสมาธิ และทักษะการเรียนรู้ให้เด็ก 3-18 ปี ☀️

 

 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

Sources: Pamela Li (2022), Lauren Barth (2020)

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4