การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ ทักษะเด็กยุคใหม่

การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ ทักษะเด็กยุคใหม่

 

 

การยอมรับ เป็นอีกหนึ่งทักษะที่ช่วยเสริมสร้างพื้นฐานในเรื่องการเข้าสังคมสำหรับเด็ก ๆ ทั้งกับครอบครัว กลุ่มเพื่อนและตัวเอง

 

การยอมรับ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เรียกว่าเป็นทักษะขั้นสูง และเด็กแต่ละวัยมีการเรียนรู้เรื่องนี้แตกต่างกัน ขึ้นกับประสบการณ์

 

การเรียนรู้ ความเข้าใจ และแรงสนับสนุนของคนรอบข้าง

 

เราจะขอเจาะในช่วงวัยอนุบาลที่เป็นช่วง Golden age ในเรื่องพัฒนาการต่าง ๆ คือ เด็กในวัยนี้รับรู้และแสดงตัวตนของตัวเองมากขึ้น มีความอยากรู้อยากลอง ตั้งข้อสงสัยต่าง ๆ และมีการเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ทั้งยังมีการสื่อสารพูดคุยกับคนรอบข้างมากขึ้น ซึ่งผู้ปกครองหลายคนอาจจะเคยมีประสบการณ์เรื่อง “เด็ก ๆ ชอบแย่งของเล่น ไม่อยากแบ่งของเล่นให้ใคร หรือ ชอบเอาชนะ อยากเป็นคนแรก อยากเป็นที่หนึ่ง หากไม่ได้สิ่งที่ต้องการก็ร้องไห้ โวยวาย หรือทำพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เป็นต้น”  ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามช่วงวัยของเด็ก ๆ เลยค่ะ ดังนั้น การรับมือกับเรื่องนี้จึงสำคัญมากค่ะ

 

และต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า ในเรื่อง การยอมรับ เป็นเรื่องยากที่จะพูดคุยให้เด็กในวัยนี้เข้าใจ เพราะในเรื่องพัฒนาการการคิดแบบเชิงนามธรรมจะยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในวัยนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรดีนะ? ให้เด็กยอมรับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นการเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย

 

ฝึก การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ ได้ดังนี้


1. ความเข้าใจและการสื่อสารสำคัญมาก  

เด็กในวัยนี้ เป็นวัยลองผิดลองถูก (Trial - Error) เป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจิ๋ว มีหลายสิ่งที่เด็ก ๆ เพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรก เช่น การไปโรงเรียน การเจอเพื่อนกลุ่มใหม่ ๆ การเล่นของเล่นกับเพื่อนที่มีการแบ่งปัน รวมไปถึงการจัดการอารมณ์ตัวเองเบื้องต้นของเด็ก ๆ ด้วยเช่นกัน 

ตัวอย่างเช่น
หากเล่นกับเพื่อนอยู่ แล้วมีเหตุการณ์การแย่งของเล่นเกิดขึ้น ทำให้เกิดการทะเลาะโยนของกัน เด็ก ๆ บาดเจ็บและมีการโยนความผิดไปมา ไม่มีใครยอมรับความผิดที่เกิดขึ้น สิ่งที่คนรอบข้างควรทำคือ การเข้าใจเด็ก ๆ ทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นกลาง ไม่ได้บอกให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องรู้สึกว่าตัวเองผิดเพียงคนเดียว แต่เป็นการรับผิดชอบด้วยกัน และหาข้อสรุปให้ได้เร็วที่สุดโดยไม่ทำร้ายจิตใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเด็ก ๆ ไม่มีใครอยากที่จะทำผิด ไม่มีใครอยากบาดเจ็บเพียงแค่เขายังไม่รู้วิธีในการจัดการอารมณ์ตอนนั้นแค่นั้นเอง ดังนั้น ความเข้าใจและการสื่อสารของผู้ปกครองจึงสำคัญมาก

 

"การยอมรับ พัฒนาสมาธิ"

 

2. การไม่ยอมรับ ไม่ใช่ไม่รู้สึกผิด  

การไม่ยอมรับว่าตัวเองทำผิดหรือการโยนความผิดของตัวเองให้คนอื่น เป็นหนึ่งในกลไกป้องกันตัวเอง (Defense Mechanism) ที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แต่หากมีมากเกินไปจะทำให้เด็กไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการไม่ยอมรับ ไม่ได้หมายถึงว่าเด็กจะไม่รู้สึกผิด

บางครั้งการไม่ยอมรับเกิดจากความกลัว กลัวโดนตำหนิ กลัวไม่เป็นเด็กดีในสายตาคนที่รัก 

เมื่อเด็กทำผิดพลาดหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม การพูดคุยเป็นสิ่งที่สำคัญ พูดคุยถึงสาเหตุ พูดคุยสะท้อนอารมณ์ต่าง ๆ ในขณะนั้น แสดงความเข้าอกเข้าใจและเสริมให้เด็กเข้าใจในอีกด้านของการยอมรับ การยอมรับผิดไม่ได้ทำให้เด็กโดนดุ การยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเด็กมีความกล้าหาญและพร้อมที่จะเปิดใจรับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น และผู้ปกครองสามารถเปิดใจรับฟังเด็ก ๆ ได้มากขึ้น 
 

 

3. ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมีทางเลือกหลายทาง  

ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาของเด็ก ๆ มีอย่างจำกัดตามเรื่องราวที่ได้เจอ ดังนั้น การเสริมทางเลือกอย่างสร้างสรรค์ และคอยบอกทางเลือกให้เด็กได้ลองคิด ลองมองหลายมุม ๆ หากเด็กเริ่มโทษคนอื่น เช่น


“หนูวิ่งชนเพื่อนเพราะเพื่อนขวางทางหนู”
 “หนูกดเกมผิดเพราะไอแพดที่ใช้ไม่ดี”

ผู้ปกครองอาจจะใช้คำถามชวนคิดให้เด็กได้ลองตอบ

“ตอนที่หนูวิ่งอยู่ หนูเห็นเพื่อนนั่งอยู่ก่อนหน้านั้น หนูสามารถส่งสัญญาณบอกเพื่อนหรือหลบเพื่อนไปวิ่งทางอื่นก่อนได้ไหมคะ”
“หนูลองค่อย ๆ ทำนะคะ ทำไปทีละนิด ช้าลงหน่อย จะกดเกมได้ดีขึ้นไหมคะ”

การบอกทางเลือกกับเด็กเพื่อให้เห็นว่าทุก ๆ การกระทำมีเหตุและผลอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เสริมสร้างการยอมรับและขอโทษเมื่อทำผิด

รวมไปถึงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

 

"พัฒนา สมาธิ ทักษะการอ่าน"

 

4. การเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด  

 

ความผิดพลาด คือ การเรียนรู้ ก่อนจะเกิดการเรียนรู้ย่อมต้องมีการยอมรับก่อน ซึ่งความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย เราทำผิดพลาดได้และเราสามารถเรียนรู้ในความผิดพลาดนั้น ๆ ได้ สิ่งสำคัญคือการเปิดใจยอมรับ ความกล้า และ ความเข้าใจเรื่องอารมณ์ที่แตกต่างกันมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น 
“คุณครูหยิบใบงานให้เด็กผิดใบงานและเด็กบอกคุณครูด้วยตัวเอง แทนที่คุณครูจะแสดงความหงุดหงิดต่อหน้าเด็กหรือโทษเด็ก ก็เปลี่ยนเป็นการบอกขอโทษที่หยิบให้ผิด ครูขอเวลาหนูแปปนึงเพื่อเปลี่ยนใบงานให้ได้ไหมคะ และคุณครูขอบคุณที่หนูคอยบอกคุณครูนะคะ แสดงว่าหนูมีความตั้งใจทำใบงานชิ้นนี้ดีมากเลยค่ะ”

 

 

5. คำชม และแรงเสริมที่ดี  

การที่เด็กเข้าใจและยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เด็กใช้ความกล้าเป็นอย่างมากในการยอมรับ การชื่นชมความกล้าหาญ ชื่นชมในความพยายามที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เด็กยอมรับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น และเป็นการสร้างเสริม Growth Mindset ให้กับเด็ก ๆ คำชมในความพยายาม คำชมในสิ่งที่เฉพาะเจาะจงโดยที่ไม่ได้เปรียบเทียบเป็นสิ่งที่สำคัญและเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “คำชม หรือ แรงเสริม = Super Magic Power” ที่เสริมสร้างทักษะการยอมรับอย่างสร้างสรรค์ให้กับเด็กทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยค่ะ

 

การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญสำหรับเด็ก ๆ ทั้งช่วยเสริมในเรื่อง Growth Mindset และความเข้าใจทางสังคมมากขึ้น ยังช่วยเสริมความมั่นใจ กล้ายอมรับความผิดพลาด มีความยืดหยุ่นและไหวพริบในการใช้ชีวิตมากขึ้น

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

ทาง BrainFit ตระหนักเห็นความสำคัญของการฝึกทักษะพื้นฐานให้แข็งแรงเพื่อต่อยอดทักษะขั้นสูงของเด็ก ๆ ทุกคน และเชื่อว่าเมื่อมีพื้นฐานแข็งแรง จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก ๆ มากขึ้นทั้งในเรื่องวิชาการ การจดจ่อ สมาธิ และการใช้ชีวิตประจำวัน โดยฝึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นรูปแบบของ Play based learning

 

สนใจคอร์สฝึกของเรา ติดต่อได้ที่นี่เลยค่ะ⭐😊

 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4