การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ ทักษะเด็กยุคใหม่

การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ ทักษะเด็กยุคใหม่

 

 

การยอมรับ เป็นอีกหนึ่งทักษะที่ช่วยเสริมสร้างพื้นฐานในเรื่องการเข้าสังคมสำหรับเด็ก ๆ ทั้งกับครอบครัว กลุ่มเพื่อนและตัวเอง

 

การยอมรับ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เรียกว่าเป็นทักษะขั้นสูง และเด็กแต่ละวัยมีการเรียนรู้เรื่องนี้แตกต่างกัน ขึ้นกับประสบการณ์

 

การเรียนรู้ ความเข้าใจ และแรงสนับสนุนของคนรอบข้าง

 

เราจะขอเจาะในช่วงวัยอนุบาลที่เป็นช่วง Golden age ในเรื่องพัฒนาการต่าง ๆ คือ เด็กในวัยนี้รับรู้และแสดงตัวตนของตัวเองมากขึ้น มีความอยากรู้อยากลอง ตั้งข้อสงสัยต่าง ๆ และมีการเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ทั้งยังมีการสื่อสารพูดคุยกับคนรอบข้างมากขึ้น ซึ่งผู้ปกครองหลายคนอาจจะเคยมีประสบการณ์เรื่อง “เด็ก ๆ ชอบแย่งของเล่น ไม่อยากแบ่งของเล่นให้ใคร หรือ ชอบเอาชนะ อยากเป็นคนแรก อยากเป็นที่หนึ่ง หากไม่ได้สิ่งที่ต้องการก็ร้องไห้ โวยวาย หรือทำพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เป็นต้น”  ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามช่วงวัยของเด็ก ๆ เลยค่ะ ดังนั้น การรับมือกับเรื่องนี้จึงสำคัญมากค่ะ

 

และต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า ในเรื่อง การยอมรับ เป็นเรื่องยากที่จะพูดคุยให้เด็กในวัยนี้เข้าใจ เพราะในเรื่องพัฒนาการการคิดแบบเชิงนามธรรมจะยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในวัยนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรดีนะ? ให้เด็กยอมรับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นการเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย

 

ฝึก การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ ได้ดังนี้


1. ความเข้าใจและการสื่อสารสำคัญมาก  

เด็กในวัยนี้ เป็นวัยลองผิดลองถูก (Trial - Error) เป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจิ๋ว มีหลายสิ่งที่เด็ก ๆ เพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรก เช่น การไปโรงเรียน การเจอเพื่อนกลุ่มใหม่ ๆ การเล่นของเล่นกับเพื่อนที่มีการแบ่งปัน รวมไปถึงการจัดการอารมณ์ตัวเองเบื้องต้นของเด็ก ๆ ด้วยเช่นกัน 

ตัวอย่างเช่น
หากเล่นกับเพื่อนอยู่ แล้วมีเหตุการณ์การแย่งของเล่นเกิดขึ้น ทำให้เกิดการทะเลาะโยนของกัน เด็ก ๆ บาดเจ็บและมีการโยนความผิดไปมา ไม่มีใครยอมรับความผิดที่เกิดขึ้น สิ่งที่คนรอบข้างควรทำคือ การเข้าใจเด็ก ๆ ทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นกลาง ไม่ได้บอกให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องรู้สึกว่าตัวเองผิดเพียงคนเดียว แต่เป็นการรับผิดชอบด้วยกัน และหาข้อสรุปให้ได้เร็วที่สุดโดยไม่ทำร้ายจิตใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเด็ก ๆ ไม่มีใครอยากที่จะทำผิด ไม่มีใครอยากบาดเจ็บเพียงแค่เขายังไม่รู้วิธีในการจัดการอารมณ์ตอนนั้นแค่นั้นเอง ดังนั้น ความเข้าใจและการสื่อสารของผู้ปกครองจึงสำคัญมาก

 

"การยอมรับ พัฒนาสมาธิ"

 

2. การไม่ยอมรับ ไม่ใช่ไม่รู้สึกผิด  

การไม่ยอมรับว่าตัวเองทำผิดหรือการโยนความผิดของตัวเองให้คนอื่น เป็นหนึ่งในกลไกป้องกันตัวเอง (Defense Mechanism) ที่เกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย แต่หากมีมากเกินไปจะทำให้เด็กไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการไม่ยอมรับ ไม่ได้หมายถึงว่าเด็กจะไม่รู้สึกผิด

บางครั้งการไม่ยอมรับเกิดจากความกลัว กลัวโดนตำหนิ กลัวไม่เป็นเด็กดีในสายตาคนที่รัก 

เมื่อเด็กทำผิดพลาดหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม การพูดคุยเป็นสิ่งที่สำคัญ พูดคุยถึงสาเหตุ พูดคุยสะท้อนอารมณ์ต่าง ๆ ในขณะนั้น แสดงความเข้าอกเข้าใจและเสริมให้เด็กเข้าใจในอีกด้านของการยอมรับ การยอมรับผิดไม่ได้ทำให้เด็กโดนดุ การยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเด็กมีความกล้าหาญและพร้อมที่จะเปิดใจรับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น และผู้ปกครองสามารถเปิดใจรับฟังเด็ก ๆ ได้มากขึ้น 
 

 

3. ทุกปัญหาที่เกิดขึ้นมีทางเลือกหลายทาง  

ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาของเด็ก ๆ มีอย่างจำกัดตามเรื่องราวที่ได้เจอ ดังนั้น การเสริมทางเลือกอย่างสร้างสรรค์ และคอยบอกทางเลือกให้เด็กได้ลองคิด ลองมองหลายมุม ๆ หากเด็กเริ่มโทษคนอื่น เช่น


“หนูวิ่งชนเพื่อนเพราะเพื่อนขวางทางหนู”
 “หนูกดเกมผิดเพราะไอแพดที่ใช้ไม่ดี”

ผู้ปกครองอาจจะใช้คำถามชวนคิดให้เด็กได้ลองตอบ

“ตอนที่หนูวิ่งอยู่ หนูเห็นเพื่อนนั่งอยู่ก่อนหน้านั้น หนูสามารถส่งสัญญาณบอกเพื่อนหรือหลบเพื่อนไปวิ่งทางอื่นก่อนได้ไหมคะ”
“หนูลองค่อย ๆ ทำนะคะ ทำไปทีละนิด ช้าลงหน่อย จะกดเกมได้ดีขึ้นไหมคะ”

การบอกทางเลือกกับเด็กเพื่อให้เห็นว่าทุก ๆ การกระทำมีเหตุและผลอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เสริมสร้างการยอมรับและขอโทษเมื่อทำผิด

รวมไปถึงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

 

"พัฒนา สมาธิ ทักษะการอ่าน"

 

4. การเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด  

 

ความผิดพลาด คือ การเรียนรู้ ก่อนจะเกิดการเรียนรู้ย่อมต้องมีการยอมรับก่อน ซึ่งความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย เราทำผิดพลาดได้และเราสามารถเรียนรู้ในความผิดพลาดนั้น ๆ ได้ สิ่งสำคัญคือการเปิดใจยอมรับ ความกล้า และ ความเข้าใจเรื่องอารมณ์ที่แตกต่างกันมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น 
“คุณครูหยิบใบงานให้เด็กผิดใบงานและเด็กบอกคุณครูด้วยตัวเอง แทนที่คุณครูจะแสดงความหงุดหงิดต่อหน้าเด็กหรือโทษเด็ก ก็เปลี่ยนเป็นการบอกขอโทษที่หยิบให้ผิด ครูขอเวลาหนูแปปนึงเพื่อเปลี่ยนใบงานให้ได้ไหมคะ และคุณครูขอบคุณที่หนูคอยบอกคุณครูนะคะ แสดงว่าหนูมีความตั้งใจทำใบงานชิ้นนี้ดีมากเลยค่ะ”

 

 

5. คำชม และแรงเสริมที่ดี  

การที่เด็กเข้าใจและยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เด็กใช้ความกล้าเป็นอย่างมากในการยอมรับ การชื่นชมความกล้าหาญ ชื่นชมในความพยายามที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เด็กยอมรับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น และเป็นการสร้างเสริม Growth Mindset ให้กับเด็ก ๆ คำชมในความพยายาม คำชมในสิ่งที่เฉพาะเจาะจงโดยที่ไม่ได้เปรียบเทียบเป็นสิ่งที่สำคัญและเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “คำชม หรือ แรงเสริม = Super Magic Power” ที่เสริมสร้างทักษะการยอมรับอย่างสร้างสรรค์ให้กับเด็กทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยค่ะ

 

การยอมรับ อย่างสร้างสรรค์ เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญสำหรับเด็ก ๆ ทั้งช่วยเสริมในเรื่อง Growth Mindset และความเข้าใจทางสังคมมากขึ้น ยังช่วยเสริมความมั่นใจ กล้ายอมรับความผิดพลาด มีความยืดหยุ่นและไหวพริบในการใช้ชีวิตมากขึ้น

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

ทาง BrainFit ตระหนักเห็นความสำคัญของการฝึกทักษะพื้นฐานให้แข็งแรงเพื่อต่อยอดทักษะขั้นสูงของเด็ก ๆ ทุกคน และเชื่อว่าเมื่อมีพื้นฐานแข็งแรง จะเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก ๆ มากขึ้นทั้งในเรื่องวิชาการ การจดจ่อ สมาธิ และการใช้ชีวิตประจำวัน โดยฝึกผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และเป็นรูปแบบของ Play based learning

 

 

คอร์สพัฒนาสมาธิ ที่ช่วยให้เด็ก ๆ เกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ⭐😊

 

"พัฒนาสมาธิเด็ก"

 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4

091-774-3769 02-656-9938 02-656-9939 Line ID: @brainfit_th