Emotional Support พื้นที่ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ

Emotional Support การสนับสนุนทางอารมณ์

เพิ่ม พื้นที่ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ 

 

 

ผู้ปกครองหลายท่านอาจจะเคยเจอกับเหตุการณ์ที่ลูกรักร้องไห้งอแง แสดงอารมณ์ โกรธ โวยวายเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ หรือส่งเสียงดัง

เวลาที่ไม่พอใจในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งผู้ปกครองก็พูดคุยกับเขาอย่างใจเย็น เช่น 

 

“เพื่อนไม่ได้ตั้งใจนะ เจ็บนิดเดียวเอง” 

“อย่าร้องไห้สิคะ หนูเพิ่งทานขนมมาเองนะลูก กินทุกวันฟันผุแย่เลย”

“หยุดร้องครับ การแข่งขันมีแพ้ ชนะเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว”

 

 

แต่หลายครั้งผู้ปกครองก็อาจจะสงสัยว่า 

“คุณพ่อ/คุณแม่ก็คุยกับเขาอย่างใจเย็นค่ะ แต่เขาไม่ฟังอะไรเลย ร้องไห้งอแงอย่างเดียว จนบางครั้งก็เหนื่อย”

 

สิ่งที่เกิดขึ้นมีหลากหลายปัจจัยเลยค่ะ อยากให้ลองมาดูการทำงานของสมองกันก่อน

เพราะพัฒนาการของสมองในส่วนการประมวลเหตุผลของเด็กนั้นยังไม่แข็งแรงเท่าของผู้ใหญ่ แต่สมองในส่วนของอารมณ์นั้นจะพัฒนาเร็วกว่า

ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าเมื่อมีอะไรมากระตุ้นก็จะแสดงอารมณ์ผ่านการกระทำมามากกว่า รวมไปถึงเด็กยังไม่ใช่วัยที่รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง แถมยังควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดีนัก ส่งผลให้การแสดงอารมณ์จึงออกมาเหนือเหตุผล

 

เราจะรับมือกับเหตุการณ์แบบนี้อย่างไรดีนะ ??

 

BrainFit ขอเสนอเรื่อง Emotional Support เพื่อเพิ่ม พื้นที่ปลอดภัย 

Emotional Support หรือ การสนับสนุนทางอารมณ์ คือ การที่ผู้ปกครองช่วยให้เด็กรับรู้และเท่าทันอารมณ์ของตัวเอง สามารถควบคุม

อารมณ์ได้ดี พร้อมรับฟังเหตุผลได้ดีมากขึ้น และเป็น พื้นที่ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ ได้อีกด้วย                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

ตัวอย่างเหตุการณ์สมมติ

“น้องเอและน้องบีเป็นเพื่อนสนิทกัน ทั้งสองคนชอบเล่นของเล่นต่าง ๆ ด้วยกัน วันหนึ่งน้องเอเผลอเหยียบตุ๊กตาตัวโปรดของน้องบีจนเป็นรอยดำ น้องบีเสียใจมาก ร้องไห้เสียงดังและผลักน้องเอจนล้มบาดเจ็บ ทั้งน้องเอและน้องบีร้องไห้เสียงดังทั้งคู่”

คุณแม่เข้ามาเห็นเหตุการณ์ตอนสุดท้าย จึงคอยถามทั้งคู่ว่าเกิดอะไรขึ้น ด้วยความที่ทั้งคู่กำลังร้องไห้จึงไม่มีใครสามารถตอบคุณแม่ได้เลย 

 

 

เจอเหตุการณ์แบบนี้ ผู้ปกครองคิดว่าคุณแม่ในเหตุการณ์นี้จะทำอย่างไรดีคะ?

 

 

ผู้ปกครองบางคนอาจจะบอกว่า

“รอให้ทั้งคู่หยุดร้องไห้ก่อนจึงค่อยคุย” หรือ

เข้าคุยตอนนั้นเลย โดยการพูดให้น้องหยุดร้อง:  “หยุดร้องแล้วมาคุยกับแม่ก่อนนะ แม่จะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น” หรือ

“พวกหนูทั้งคู่กำลังโกรธกันอยู่ใช่ไหมคะ”

 

แต่ละวิธีมีความแตกต่างกัน ซึ่งผลลัพธ์เราไม่สามารถบอกได้เลยค่ะว่าวิธีไหนที่จะเห็นผลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 


 

 

 

❇️ เราจะมาชวนมองทั้ง 3 ประโยคกันเลย ❇️


 

1. “รอให้ทั้งคู่หยุดร้องไห้ก่อนจึงค่อยคุย”  

วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เรียกว่าเป็นการสนับสนุนทางอารมณ์ของน้อง คือการให้น้อง Crying out loud 
(ระบายอารมณ์ในพื้นที่ปลอดภัย) ให้เวลากับน้อง ๆ ให้ระบายอารมณ์ให้เสร็จก่อน หลังจากนั้นมาพูดคุยถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ปรับความเข้าใจกันและกัน รวมไปถึงหาวิธีแก้ไขหากมีครั้งต่อไป


 

2. “หยุดร้องแล้วมาคุยกับแม่ก่อนนะ แม่จะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น”

วิธีนี้ก็เป็นหนึ่งวิธีที่หลายคนเผลอทำบ่อย ๆ ซึ่งเมื่อสมองส่วนอารมณ์ทำงานก่อนแล้ว การยับยั้งจะทำได้ยากยิ่งขึ้น การบอกให้หยุดทันทีจึงทำได้ยากกว่าการรอคอยให้หยุดเอง


 

3. “พวกหนูทั้งคู่กำลังโกรธกันอยู่ใช่ไหมคะ”

วิธีนี้อาจจะเป็นวิธีที่หลายคนยังไม่คุ้นชินและอาจจะคิดว่าทำได้ยาก เพราะวิธีนี้คือแก่นหลักของ การใช้ Emotional Support คือการสะท้อนให้น้องเข้าใจอารมณ์ของตัวเองก่อน การที่น้องงอแง ร้องไห้ เป็นเรื่องที่ซับซ้อน เราไม่สามารถบอกได้เลยถ้าไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ว่าตอนนั้นน้องรู้สึกอย่างไร หากมีหลากหลายอารมณ์รวมกันโดยที่น้องยังไม่เข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการงอแงหรือแสดงอารมณ์ที่รุนแรงมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

 

เทคนิคเข้าใจและปรับใช้หลัก Emotional Support ได้อย่างเหมาะสม

 

1. เตรียมความพร้อมของตัวเอง นิ่งให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะเข้าไปถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


2. คอยสังเกตและให้เวลากับลูกรัก โดยบอกว่า “แม่รู้ว่าหนูโกรธ แม่ให้เวลา หนูอยู่กับตัวเองนะคะ ซึ่งแม่จะนั่งอยู่ตรงนี้ตลอด”

หากลูกเริ่มนิ่ง งอแงน้อยลง สามารถค่อย ๆ เข้าไปหาลูกได้


3. “เมื่อกี้หนูกำลังโกรธเลยใช่ไหมคะ หนูโกรธที่เพื่อนมาแย่งของเล่นหรอคะ” เป็นขั้นตอนการเปิดใจและสนับสนุนอารมณ์ของลูก 

ลูกจะค่อย ๆ คิดว่าตัวเองโกรธไหม โกรธเพราะอะไร เพราะในช่วงวัย 4 - 6 ปี พัฒนาการทางด้านอารมณ์จะเริ่มพัฒนาได้มากขึ้น

เช่น การเข้าใจอารมณ์ การรับมือกับอารมณ์ของตัวเอง ยังรวมไปถึงทักษะการเข้าสังคมด้วยเช่นค่ะ

 

 

เมื่อลูกรักมี การสนับสนุนทางอารมณ์ (Emotional Support) จากคนใกล้ชิด คนรอบข้างได้ดีมากพอ เมื่อจะต้องเจอโลกที่กว้างขึ้น

ประสบการณ์ที่เยอะขึ้น ลูกรักก็จะมีความพร้อมในการเผชิญหน้าสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ 

 

 

ทาง BrainFit ของเราใส่ใจและให้ความสำคัญในทักษะพื้นฐานทางด้านต่าง ๆ ของเด็กทุก ๆ คนเลยค่ะ และเรายังมีโปรแกรมที่ช่วยฝึก

ทักษะขั้นพื้นฐานของลูกรักได้อย่างแข็งแรง เรียกว่า  BrainFit Whole Brain Training เพราะเรายังคงเชื่อว่า เมื่อเด็กมีพื้นฐานแข็งแรง

ก็จะสามารถต่อยอดกิจกรรมไปได้มากมาย ยังรวมไปถึงทักษะขั้นสูงอีกด้วย

 

 

✨หากสนใจติดต่อได้ที่นี่เลยค่ะ✨

 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

ปรึกษาฟรี หรือ ทดลองเรียนฟรี