ADHD VS APD เรียนรู้ รับมือ และเข้าใจ
เมื่อเด็กๆต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ และเริ่มมีอารมณ์ที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ บางครั้งคุณอาจจะเห็นเด็กวัยอนุบาลวิ่งออกจากห้องเรียนในขณะที่คุณครูกำลังเล่าเรื่องราวต่างๆ หรือกำลังสอนอยู่ อาจจะเป็นเด็กประถมที่ชอบหลงลืมสิ่งของ ไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆที่เขาได้เห็นและได้ยินได้ หรือแม้แต่เด็กวัยมัธยมที่ไม่สามารถอดทนทำการบ้านให้เสร็จ
ไม่ว่าปัญหาที่พบเจอจะเป็นเรื่องที่น่าหงุดหงิด หรือทำให้คุณผู้ปกครองรู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจมากแค่ไหนก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้ของเด็กๆอาจดูเหมือนกับว่าเด็กๆกำลังท้าทาย หรือต่อต้านเราอยู่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่อยากจะให้ผู้ปกครองทุกคนใส่ใจ ไม่ใช่การมองแค่ปัญหาและพฤติกรรมเหล่านี้ แล้วคิดที่จะแก้ไขมันที่ปลายเหตุ กลับกัน ผู้ปกครองควรมองหาต้นเหตุของปัญหาพฤติกรรมเหล่านี้ต่างหาก ว่ามาจากอะไร แล้วแก้ไขมัน จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน
ในปี 2559 เด็กกว่า 6.1 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการสมาธิสั้น และโดยเฉลี่ยทุกๆห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 30 คน จะมีเด็กนักเรียนที่มีอาการสมาธิสั้น 1-3 คน เมื่ออัตราการเกิดอาการสมาธิสั้นยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผลการรายงานการตรวจวินิจฉัยโรคอาจเกิดความเกินจริง หรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ มีภาวะอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เข้าใจผิดว่าสิ่งเหล่านี้คืออาการสมาธิสั้น หนึ่งในนั้นรวมถึงความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน
เมื่อมีความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน ผู้ที่มีอาการนี้จะแสดงออกเหมือนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง วอกแวกง่าย และมักจะพูดว่า “ฮะ” หรือ “อะไรนะ” อยู่บ่อยครั้ง มีปัญหาในการจดจำรายละเอียด ซึ่งการได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และได้รับแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะอาการเป็นสิ่งจำเป็น และสิ่งนี้สัมพันธ์ต่อการมีสุขภาพที่ดี และความสุขของลูก และครอบครัวของคุณ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ...
อาการสมาธิสั้น (ADHD) & ความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน (APD)
ความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน: เด็กที่มีความผิดปกติจากการประมวลผลการได้ยินมักจะมีการได้ยินที่เป็นปกติ คือเมื่อฟังเสียงสามารถรับเสียงที่ได้ยินได้ปกติ แต่มีความยากลำบากในการประมวลผลสิ่งที่ได้ยินมา และมีความยากลำบากในการแยกคำที่มีความหมายแตกต่างกัน แต่ออกเสียงคล้ายกัน ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้ผู้ที่มีอาการสามารถทำความเข้าใจบทสนทนาได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงเรื่องของการอ่านออกเสียงด้วยเช่นกัน
สมาธิสั้น: เด็กจะมีอาการอยู่ไม่นิ่ง ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้อย่างยาวนาน ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้ผู้ที่มีอาการไม่สามารถนั่งนิ่งเพื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งได้ สิ่งเหล่านี้หากเมื่อเต็กโตขึ้นและยังไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
คุณเห็นอะไรไหม?
เมื่ออาการสมาธิสั้นที่เป็นซ้อนทับกับภาวะอื่นๆ การวินิจฉัยอาการอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายการทำงานของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ผ่านการฝึกอบรมการประเมินอาการของเด็ก และท้าทายสำหรับการทำความเข้าใจความเหมือนและความต่างของภาวะต่างๆด้วยเช่นกัน
สัญญาณและอาการ
ADHD
- เหม่อลอยบ่อยครั้ง
- ไม่สามารถควมคุมตัวเองจากสิ่งเร้าต่างๆที่เข้ามากระตุ้นได้
- ไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ได้
- ใจร้อน
- ชอบพูดแทรก
- แสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาทีหลัง
- ชอบเล่นแรงๆ
- หงุดหงิด และโมโห ท้อแท้ และย้อมแพ้ได้ง่ายเมื่อเจอเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่คาดฝัน
- มีความยากลำบากในการเข้าสังคม
- ยุกยิก และไม่สามารถอยู่นิ่งได้
APD
- มีความยากลำบากในการติดตามบทสนทนา
- ถามคุณด้วยคำถามเดิมซ้ำๆ
- ตอบสนองด้วยคำว่า “ฮะ?” หรือ “อะไรนะ” บ่อยครั้ง
- อาจมีปัญหาด้านการพูด และสับสนในคำที่มีเสียงคล้ายคลึงกัน
- มีความยากลำบากในเรื่องของการบอกคำที่คล้องจองกัน
- มีความยากลำบากในการทำความเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน
- ชอบที่จะอ่านออกเสียงเมื่ออยู่คนเดียวมากกว่าในที่ที่มีผู้คนรอบข้าง
- ไวต่อการตอบสนองเสียงที่ดังเกินไป
Shared
- ดูเหมือนกับว่าจะไม่ฟังคำสั่ง หรือเมินเฉยต่อคำสั่ง
- หลงลืม
- มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่ง
- วอกแวกได้ง่าย
แล้วใครล่ะที่จะสามารถช่วยได้?
ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาการวินิจฉัย หรือต้องการความช่วยเหลือในการบำบัดรักษาลูกของคุณที่บ้าน หรือที่โรงเรียน ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่สามารถช่วยเหลือคุณในการบำบัดรักษาที่ถูกต้อง กับการบริการเหมาะสมสำหรับลูกคุณได้
-
กุมารแพทย์ : แพทย์ประจำตัวของลูกคุณสามารถช่วยคุณได้ หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับลูกของคุณ กุมารแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นหรือแนะนำให้ผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยวินิจฉัย และบำบัดรักษาให้ลูกคุณได้
-
นักจิตวิทยาเด็ก : ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้สามารถบำบัดรักษาพฤติกรรมของเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น หรืออาการที่เด็กมีความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน วิธีการและเทคนิคต่างๆที่ใช้ในการบำบัดรักษาจะแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน แต่นักจิตวิทยาเด็กสามารถช่วยกำหนดแนวทางวิธีรักษาที่ดีที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคนได้ ไม่เพียงเท่านั้น นักจิตวิทยาเด็กยังสามารถวินิจฉัยปัญหาสุขภาพทางจิตของเด็กที่อาจเกิดร่วมกับอาการ ADHD หรือ APD ได้อีกด้วย เช่น ความวิตกกังวล ซึมเศร้า และความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นต้น
-
นักโสตสัมผัสวิทยา : เป็นผู้ดูแลแก้ไขการได้ยิน โดยนักโสตสัมผัสวิทยาจะทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว แล้วทำการประเมินการได้ยิน และแยกแยะการสูญเสียการได้ยินของเด็กได้ เพื่อนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการบำบัดรักษาต่อไป ไม่เพียงเท่านี้นักโสตสัมผัสวิทยายังสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของการประมวลผลจากเสียงที่ได้ยินได้อีกด้วย
- นักบำบัดเพื่อการศึกษา : จะแตกต่างจากครูสอนพิเศษที่โรงเรียนโดยทั่วไป โดยปกติแล้วนักบำบัดเพื่อการศึกษาจะทำงานตัวต่อตัวกับเด็กนอกโรงเรียนเพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาในทักษะเกี่ยวกับการเรียนที่ตัวเด็กบกพร่องไป หากลูกของคุณกำลังเผชิญกับอาการความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน(APD) นักบำบัดเพื่อการศึกษาสามารถช่วยพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการอ่าน และการเรียนรู้ของเด็ก สำหรับเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น(ADHD) นักบำบัดเพื่อการศึกษาจะเน้นไปที่ทักษะการควมคุมตัวเอง และการจัดการพฤติกรรมของเด็ก รวมไปถึงทักษะการเรียน และนิสัย
-
นักพยาธิวิทยาพูด-ภาษา : ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากต่อเด็กที่มีความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน(APD) โดยทั่วไปผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในทีมการศึกษาพิเศษ พวกเขาอาจดูแลลูกของคุณแบบตัวต่อตัว หรือดูแลเป็นกลุ่มเล็กๆ พวกเขาจะดูแลเด็กในเรื่องของการวิเคราะห์แยกแยะเสียงที่ได้ยิน การตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน และการใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม
-
นักจิตวิทยาโรงเรียน : ที่โรงเรียนผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาแผนการช่วยเหลือที่เหมาะสมให้กับเด็ก ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะทำงานกับลูกของคุณโดยตรง หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งในทีมขนาดใหญ่ที่มีผู้เชียวชาญหลายด้านที่จะค่อยส่งเสริมทักษะด้านต่างๆให้กับลูกของคุณ
-
คุณครู : ไม่ว่าลูกของคุณจะมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเรียนห้องพิเศษ หรือเรียนห้องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียนแบบใดผู้ที่เป็นครูควรจัดสภาพแวดล้อมของห้องให้เหมาะแก่การเรียนรู้ ขยายเวลาในการอ่านและการเขียน รวมไปถึงที่นั่งในห้องเรียนควรมีความใกล้ชิดกับครู เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและตอบสนองความต้องการของเด็กได้อย่างทันท่วงที
แล้วที่บ้านล่ะ?
มีทรัพยากร และผู้เชี่ยวชาญมากมายในโรงเรียนที่จะสามารถช่วยเหลือเด็กๆ และครอบครัวของคุณ จากความบกพร่องของทักษะต่างๆในตัวเด็ก นอกจากนี้ยังมีวิธี และคำแนะนำต่างๆที่คุณสามารถนำเอาไปใช้ที่บ้านเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อช่วยพัฒนาทักษะต่างๆของลูกคุณได้เช่นกัน
สิ่งที่ต้องทำที่บ้าน
ADHD
- กำหนดรูปแบบของตัวกิจกรรมและสิ่งที่จะต้องทำ ให้เด็กทำเป็นกิจวัตรประจำวันโดยจะต้องเข้มงวดกับสิ่งนี้
- บอกข้อควรระวัง หรือคำเตือนต่างๆให้เด็กรู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม และสิ่งที่จะต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันอันใหม่นี้ แล้วพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เราคาดหวังที่อยากให้เกิดขึ้นหากเด็กๆทำตาม
- แยกย่อยงานในกิจกรรมที่ยุ่งยากและซับซ้อน ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ เพื่อง่ายต่อการทำตาม
- ใช้นาฬิกา และเครื่องมือจับเวลา
- กำหนดตารางเวลาของกิจกรรมต่างๆให้ชัดเจน โดยมีการให้รางวัลเพื่อเป็นแรงกระตุ้น
- ส่งเสริมให้เด็กมีการออกกำลังกาย รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
APD
- ให้เข้าใจว่าการได้ยินของลูกไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ เพียงแค่เด็กจะไวต่อเสียงรบกวนรอบข้างมากกว่าคนทั่วไป
- ให้เด็กทวนซ้ำในสิ่งที่เราพูด แทนที่การพูดตามเพียงอย่างเดียว
- ใช้อุปกรณ์ที่เป็นภาพ หรือกระดาษโน๊ตแผ่นเล็กๆ เพื่อเป็นการเตือนสำหรับการทำกิจกรรมต่างๆที่เราได้มอบหมายให้สำเร็จ
- เปิดคำบรรยายในทีวี เพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้
Shared
- ในระหว่างการรักษา เด็กๆจะไม่ดิ้นรนขัดขืน ท้าทาย หรือหยาบคายใส่คุณ แต่เด็กๆจะต้องต่อสู้กับความยากลำบากของอาการที่เขาเป็นอยู่
- ค้นหาเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่ช่วยรักษาอาหารเหล่านี้ให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่บ้าน
- สร้างพื้นที่เงียบสงบ และเป็นระเบียบให้เหมาะกับการพูดคุย เพื่อทำให้เด็กๆสงบลงได้เมื่อเด็กๆไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือทำบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เหมาะสมลงไป
- สอนเด็กๆเกี่ยวกับการเข้าสังคม และการวางตัวในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาจใช้การแสดงบทบาทสมมติเข้าร่วมด้วย
ลูกของคุณกำลังต้องการการสนับสนุน ความรัก และขันติ(ความอดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ) จากคุณ เพื่อคอยช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จกับสิ่งต่างๆในอนาคต คุณอาจรู้สึกหนักใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับคำวินิจฉัยที่บอกว่าลูกของคุณมีอาการสมาธิสั้น หรือมีความผิดปกติของการประมวลผลการได้ยิน แต่คุณอย่าพึ่งท้อแท้สิ้นหวังเพราะคุณสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ และแนวทางการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการช่วยบำบัดรักษา เพื่อพัฒนาลูกของคุณให้ดีขึ้นมาได้ ช่วยให้คุณเข้าใจ และจัดการรับมือกับอาการที่ลูกคุณเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ท้ายที่สุดนี้โปรแกรม Fast ForWord หรือโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาการอ่านของเด็กๆ สามารถช่วยพัฒนาสมาธิ และทักษะด้านการฟัง ของเด็กๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สนใจเรียนพัฒนาสมาธิ และทักษะด้านการฟัง พร้อมทั้งทดลองเรียนฟรีกับเราคลิก!
BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี
รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!
ที่ 02-656-9938-9 / 02-656-9915 / 091-774-3769
LINE: @brainfit_th