แก้ได้! 5 วิธีเมื่อลูก เขียนตัวอักษรกลับด้าน

 

 

แก้ได้! 5 วิธีเมื่อลูก เขียนตัวอักษรกลับด้าน

 

เมื่อลูกถึงวัยเข้าโรงเรียน เริ่มจับดินสอขีดเขียน คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มสังเกตว่า ทำไมลูก ๆ ของเรา เขียนตัวอักษรกลับด้าน ตลอดเลย?

 

  ตัวอย่างเช่น เขียน b เป็น d เขียน p เป็น q ลองแก้ปัญหาด้วยการฝึกคัดตัวอักษร แต่คัดเท่าไหร่ ปัญหานี้ก็ไม่หายไป

 

แม้แต่ตัวอักษรภาษาไทยที่ลูกน่าจะคุ้นชิน ก็ยังเขียนกลับหัว บางคน เขียนตัวอักษรกลับด้าน จนต้องใช้กระจกเงาอ่าน หรือแม้แต่ตอนที่อ่านหนังสือก็จำสลับกัน มาดูกันดีกว่าว่าเพราะอะไรลูกถึง เขียนตัวอักษรกลับด้าน กันนะ? 

 

 

ปัญหาการเขียนตัวอักษรกลับด้านนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

 

1. กล้ามเนื้อตาไม่แข็งแรง 


รู้หรือไม่? การมองนั้นเป็นส่วนสำคัญ และส่งผลต่อการเขียนโดยตรง เพราะลูกต้องใช้ทักษะการมองเพื่อจดจำ และแยกแยะความเหมือนหรือความแตกต่างในแต่ละตัวอักษร และมีทักษะที่เรียกว่า การรับรู้ทางสายตา (Visual Perception) คือการที่เด็ก ๆ มองเห็นของสิ่งหนึ่ง แล้วบอกได้ว่าของสิ่งนั้นคืออะไร หรือเห็นคำแล้วบอกความหมายได้ โดยเด็ก ๆ ที่เขียนตัวอักษรกลับด้านนั้น มักเกิดจากความบกพร่องในการรับรู้ตำแหน่ง หรือที่เรียกว่า Position in Space คือการที่เด็ก ๆ สามารถแยกบน ล่าง ซ้าย ขวา และตำแหน่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี หากทักษะนี้ยังบกพร่องการแยกทิศทางก็จะเป็นเรื่องยาก รวมถึงส่งผลต่อการเขียนตัวอักษรกลับด้านด้วยเช่นกัน 

 

2. กล้ามเนื้อมัดเล็กไม่แข็งแรง 


แน่นอนว่าการจะเขียนให้ได้สวยและถูกต้อง ต้องเกิดจากการที่กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงพอที่จะควบคุมลายเส้นให้เป็นไปตามที่ต้องการ หากยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดี แม้จะรู้ว่าต้องเขียนแต่ละตัวอักษรอย่างไร แต่ก็ไม่สามารถเขียนออกมาได้อย่างใจ

 

3. กล้ามเนื้อตาและมือทำงานไม่ประสานกัน  


นอกจากการที่กล้ามเนื้อแต่ละส่วนต้องแข็งแรงแล้ว ทั้งสองทักษะยังจำเป็นต้องทำงานประสานกันได้ดี กล้ามเนื้อตาวิเคราะห์สิ่งที่กำลังเขียน ทำงานประสานกับกล้ามเนื้อมือเพื่อเขียนต่อจากสิ่งที่เห็น โดยทักษะนี้ยังส่งผลโดยตรงกับเรื่องของลายมือด้วยเช่นกัน

 

4. อาการสมาธิสั้น 


หากเด็กมีภาวะ ADHD หรือสมาธิสั้นร่วมด้วย จะไม่สามารถจดจ่อได้นานพอที่จะเก็บข้อมูลสิ่งที่เห็นได้อย่างครบถ้วน จนเกิดความผิดพลาดในการรับรู้ และจดจำตัวอักษรแต่ละตัว

 

5. มีภาวะ Learning Disability : LD หรือภาวะการเรียนรู้บกพร่อง  


หากได้รับการฝึกเรื่องการมองและกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรงแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเขียนตัวอักษรที่ถูกด้านได้ อาจเป็นเพราะมีภาวะ Dysgraphia หรือกลุ่มบกพร่องด้านการเขียน หนึ่งในกลุ่มของภาวะการเรียนรู้บกพร่อง โดยเด็กกลุ่มนี้มักจะเขียนตัวอักษรกลับด้าน เขียนไม่ตรงบรรทัด เว้นวรรคไม่ถูกต้อง ขนาดตัวหนังสือไม่เท่ากัน เป็นต้น 

 

 


 

แล้วเป็นเรื่องปกติไหมนะ ที่ลูก ๆ เขียนตัวอักษรกลับด้าน ?

 

จริง ๆ แล้วทักษะการเขียนจะพัฒนาขึ้นตามอายุของลูก ๆ และ เป็นธรรมดาที่เด็ก ๆ จะสับสนตัวเลข และตัวอักษร จนถึงอายุ 7 ขวบ เนื่องจากการเขียนนั้นไม่เพียงแต่ใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก แต่ยังรวมถึงทักษะการมองที่ต้องแข็งแรงอีกด้วย โดยทักษะต่าง ๆ จะเริ่มพัฒนาอย่างแข็งแรงในช่วงอายุ 7 ขวบ วัยก่อน 7 ขวบนั้นควรให้อิสระในการขีดเขียนกับลูก ๆ ก่อน และคอยสนับสนุนให้ลูก ๆ ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กบ่อย ๆ ผ่านกิจกรรมอย่างการปั้น เพื่อให้เขาพร้อมสำหรับการเขียนในอนาคต ✨

 


เมื่อเข้าใจถึงสาเหตุแล้ว มีกิจกรรมที่ช่วยลูก ๆ ได้ไหมนะ?

 

มีอย่างแน่นอนค่ะ  วันนี้ทาง BrainFit ขอนำเสนอ 5 วิธี เพื่อช่วยฝึกพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุที่ลูกเขียนตัวอักษรกลับด้าน มาฝากกัน 

 


1.จับคู่ภาพเหมือน

 

"เขียนตัวอักษรกลับด้าน"

 

โดยให้เด็ก ๆ โยงเส้นจับคู่ภาพที่เหมือนกันในกระดาษ เพื่อฝึกทักษะการสังเกตความเหมือนต่าง

 

2. วงกลม หรือกากบาทภาพที่ต่าง

 

"เขียนตัวอักษรกลับด้าน"

 

ฝึกทักษะการกวาดสายตามองให้แข็งแรงยิ่งขึ้น รวมถึงทักษะการแยกแยะรายละเอียด

 

3. ปั้นดินน้ำมัน

 

"เขียนตัวอักษรกลับด้าน"

 

โดยให้เด็ก ๆ ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อฝึกพัฒนากล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง จนสามารถควบคุมลายมือได้อย่างดี

 

4. โยนรับบอล

 

"เขียนตัวอักษรกลับด้าน"

 

โดยให้เด็ก ๆ โยนบอลใส่ห่วง โยนขึ้นเหนือหัวและรับด้วยตนเอง หรือโยนให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อพัฒนาการทำงานประสานกันระหว่างตาและมือ กิจกรรมนี้ยังช่วยเสริมความมั่นใจให้กับเด็ก ๆ อีกด้วย เพราะเด็ก ๆ บางคนยังไม่กล้าปล่อยบอลออกจากมือ

 

5. เกมวางตามตำแหน่ง

 

"เขียนตัวอักษรกลับด้าน"

 

โดยให้เด็ก ๆ นำสิ่งของไปวางตามตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่คุณพ่อคุณแม่บอก เพื่อฝึกพัฒนาในเรื่องการรับรู้ตำแหน่ง หรือ Position in Space ให้แข็งแรง

 


นอกจากวิธีข้างต้น ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คือกำลังใจ และการชมเชยเมื่อลูก ๆ ทำได้ดี หากยังทำได้ไม่ถูกต้อง ก็ให้ชมเชยในความพยายามของเขา  เรียนรู้วิธี และประโยชน์ของการให้กำลังใจลูก ๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี่

 


ที่สถาบัน BrainFit ของเรายังมีการฝึกเพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเขียน และสมาธิ เพื่อให้ลูก ๆ มีความพร้อมสำหรับการเรียน ผ่านกิจกรรมที่แสนสนุกอีกมากมาย สนใจทดลองเรียนฟรี คลิก                                                                                                                                 

                                   

 

พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แบบครอบคลุมรอบด้าน

สำหรับเด็ก 3-18 ปี

 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

 


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

ขอบคุณที่มาจาก TutorFerry, ครูแนน นักกิจกรรมบำบัด, ครูผู้สร้าง

ปรึกษาฟรี หรือ ทดลองเรียนฟรี