เสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้ง่าย ๆ
ด้วย กิจกรรมบำบัด แบบ SI (Sensory Integration)!
SI (Sensory Integration) คืออะไร?
SI (Sensory Integration) คือ กระบวนการทำงานของสมอง ในการรับข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย จากนั้นนำข้อมูลเหล่านั้นมาคิด วิเคราะห์ และประมวลผล แล้วโต้ตอบออกไปในรูปแบบของพฤติกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะกับสถานการณ์ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ โดยเราสามารถแบ่งประสาทรับความรู้สึกออกมาได้เป็น 3 อย่างคือ
1. Tactile sensation
Tactile sensation คือ ความรู้สึกจากประสาทสัมผัสทางกาย ได้แก่ ประสาทสัมผัสด้านการมองเห็น การได้ยิน การรับกลิ่น การรับรส และการรับสัมผัสทางผิวหนัง
2. Vestibular sensation
Vestibular sensation คือ ความรู้สึกจากระบบการทรงตัว โดยหูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ Cochlea
3. Propioceptive sensation
Propioceptive sensation คือ ความรู้สึกจากการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายผ่านกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ
และในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราไม่ว่าจะเป็นการเรียน การเล่นดนตรี หรือการเล่นกีฬาก็ตาม เราก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างประสาทสัมผัสด้านต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เราสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ตัวอย่างเช่น :
ในการเรียนหนังสือ เราก็จะต้องใช้ประสาทสัมผัสทางตาเพื่อมองกระดาน หรือเนื้อหาที่เรากำลังเรียนอยู่ ใช้ประสาทสัมผัสทางหูเพื่อรับข้อมูลเสียงที่คุณครูพูดออกมา รวมไปถึงใช้การรับรู้ตำแหน่งของร่างกาย และประสาทสัมผัสด้านการทรงตัวเพื่อให้เราสามารถนั่งนิ่งอยู่กับที่ และเขียนสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงไปบนสมุดได้ ดังนั้นแล้วหากประสาทสัมผัสด้านใดด้านหนึ่งที่ใช้ในการนั่งเรียนของเด็ก ๆ ทำงานบกพร่อง ก็จะส่งผลต่อการรับรู้ พฤติกรรมในห้องเรียน และการเข้าใจเนื้อหาของเด็ก ๆ ได้
-
หากการรับรู้ด้านระบบการทรงตัวของเด็ก ๆ เร็วเกินไป จะส่งผลให้เด็กกลายเป็นคนที่ทำอะไรช้า และเฉื่อยชา เนื่องจากถ้าพวกเขาขยับตัวเร็วเกินไปจะส่งผลให้พวกเขารู้สึกจี๊ดที่สมอง ด้วยเหตุนี้ พออยู่ในห้องเรียนก็อาจจะส่งผลให้เด็ก ๆ ทำอะไรไม่ทัน เขียนไม่ทัน จดไม่ทัน จนส่งผลเสียต่อการเรียนในอนาคตได้
-
ในทางตรงกันข้าม หากเด็กคนนั้นมีการรับรู้ด้านระบบการทรงตัวที่ช้าจนเกินไป ก็จะส่งผลให้เด็กคนนั้นกลายเป็นคนที่ต้องขยับตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้ เพราะหากอยู่นิ่งจะรู้สึกไม่สบายตัว เมื่อเด็ก ๆ ต้องขยับตัวตลอดเวลา ก็จะส่งผลต่อเรื่องของสมาธิ และการจดจ่อของเด็ก ๆ ได้
ดังนั้นแล้วการทำ กิจกรรมบำบัด SI (Sensory Integration) จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เด็ก ๆ มีความพร้อมในการเรียนรู้ และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ หรือดีขึ้นมาได้
เนื่องจากการส่งเสริมพัฒนาการให้เด็ก ๆ ด้วยวิธีนี้ จะเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสทั้ง 3 อย่างให้กับพวกเขาผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายด้วยท่าทาง และรูปแบบที่ซับซ้อน และแตกต่างกันไป การเล่นของเล่นที่ช่วยเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ การขีดเขียน ลากเส้น งานศิลปะ และการฟังนิทาน เป็นต้น
หากเด็ก ๆ ได้รับการพัฒนาทักษะที่ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์นักไปเรื่อย ๆ ผ่านตัวกิจกรรมเหล่านี้ ทักษะต่าง ๆ เหล่านั้นจะค่อย ๆ ใช้งานได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย และเมื่อทักษะต่าง ๆ ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว เด็ก ๆ ก็จะสามารถเรียนรู้เนื้อหาในห้องเรียน เล่นดนตรี หรือเล่นกีฬาได้ดีกว่าที่เคย!
และนี่ก็คือเนื้อหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กด้วย กิจกรรมบำบัด แบบ SI (Sensory Integration) ที่เรานำมาฝากทุกท่านในวันนี้ ทางสถาบันก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อยนะคะ
ที่ BrainFit เรามีคอร์สพัฒนาสมองรอบด้านที่จะช่วยพัฒนาทักษะสมองพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 5 ด้านให้แข็งแรงขึ้น ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน และหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการมอง การฟัง การเคลื่อนไหว สมาธิ รวมถึงเรื่องของอารมณ์ เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ พร้อมสำหรับการเรียนรู้ และรับมือสิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น!!
ติดต่อเรา
02-656-9938 / 02-656-9939 / 091-774-3769
อ้างอิง: www.manarom.com, www.phyathai-sriracha.com