เสริมสร้างทักษะการฟัง เพื่อพัฒนาสมาธิ และการจดจ่อให้ดีขึ้น!

 

เสริมสร้างทักษะการฟัง เพื่อพัฒนาสมาธิ

และการจดจ่อ ให้ดีขึ้น!

 

 

 

อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิในการจดจ่อสิ่งใด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือที่โรงเรียน ลูกของคุณมีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า? หากลูก ๆ ของคุณมีอาการที่ได้กล่าวมานี้ มันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณในการที่จะต้องค้นหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเหลือ และรับมือกับเด็ก ๆ ดังนั้นวันนี้เราไปทำความเข้าใจเรื่องสมาธิและการจดจ่อในเด็ก พร้อมทั้งวิธีการที่จะช่วยให้เด็กมีสมาธิ และการจดจ่อที่ดีกว่าเคยกันดีกว่าค่ะ...

 

ทำความเข้าใจช่วงความสนใจ (ระยะที่เด็กจะสามารถให้ความสนใจและจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ อาจจะเป็น 2 นาที หรือ 5 นาทีเป็นต้น ) ที่เด็ก ๆ สามารถมีสมาธิจดจ่อได้...

 

สิ่งแรกที่เราควรต้องคำนึงถึงก็คือ: อะไรคือช่วงความสนใจตามวัยของเด็ก (เด็กอายุเท่าใด ควรมีช่วงความสนใจอยู่ในระยะเวลาเท่าไหร่)? สิ่งนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณคาดหวังให้เขาสนใจอะไร มีการทดสอบ และเครื่องมือวินิจฉัยอยู่จำนวนหนึ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจช่วงความสนใจของเด็ก แต่สิ่งเหล่านี้วัดในปัจจัยที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้คุณสามารถเข้าใจช่วงสนใจประเภทต่าง ๆ  เราจะทำการจำแนกมันออกมาเพื่อง่ายต่อการเข้าใจของคุณ ไปดูกันเลย…

 

  • ความสนใจ/การมีความสนใจอย่างต่อเนื่อง: เป็นความสามารถของสมองในการจดจ่อ หรือให้ความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงอย่างต่อเนื่องโดยปราศจากการถูกรบกวนจากสิ่งรอบข้าง ตัวอย่างของความสนใจ เช่น เราสามารถจดจ่อ และให้ความสนใจกับการอ่านหนังสือ และดูหนังได้ในระยะเวลานาน โดยเราไม่ได้หันเห หรือหันไปสนใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา

 

  • การเลือกที่จะสนใจสิ่งใด: เป็นความสามารถของสมองที่จะเลือกสนใจเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเมื่อเราอยู่ในสถานการณ์ที่มีหลายสิ่งเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือมีหลายอย่างให้สนใจ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณให้ความสนใจ และสามารถจดจ่ออยู่กับบทสนทนาระหว่างคุณกับเพื่อนได้ ในขณะที่คุณอยู่ท่ามกลางสนามฟุตบอล หรืออยู่ในงานปาร์ตี้

 

  • การเปลี่ยนความสนใจ: เป็นความสามารถของสมองในการเปลี่ยนความสนใจสลับไปมาในงานที่จะต้องใช้ความสามารถของสมองที่แตกต่างกัน เช่น คุณอาจจะต้องหันเห หรือเปลี่ยนความสนใจของคุณ จากการที่คุณกำลังทำงานคอมพิวเตอร์ไปรับโทรศัพท์กระทันหันเมื่อมีคนโทรเข้ามา หรืออาจจะต้องจดรายงานการประชุม ในขณะที่ต้องฟังการประชุมไปด้วย

 

 

เพิ่มเพื่อน

 


 ช่วงความสนใจตามวัย  


เกณฑ์ของช่วงความสนใจที่พูดต่อกันมา จะเท่ากับอายุของเด็กในช่วงเวลานั้น บวกด้วย 1 ไปจนถึงบวกด้วย 2-5 นาที แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์มารองรับทฤษฎีเหล่านี้ แต่ทฤษฎีนี้ก็มีประโยชน์อย่างมาก เพราะเป็นแบบแผนที่ช่วยให้คุณสามารถกำหนดทิศทาง หรือรู้พื้นฐานพัฒนาการเบื้องต้นของเด็ก

 

 

ช่วงความสนใจตามวัย

       ถ้าเด็กอายุเท่านี้ ... / พวกเขาควรมีช่วงความสนใจเป็นระยะเวลา

 

 

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และช่วงสนใจของเด็กแต่ละคนก็จะพัฒนาในอัตราที่แตกต่างกันด้วย  หากพวกเขากำลังต่อสู้กับอาการสมาธิสั้น หรืออาการอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความสนใจ และสมาธิในการจดจ่อของเขา ทฤษฎีที่ได้กล่าวมานี้อาจใช้ไม่ได้ผลกับเด็กเหล่านี้

 

หากคุณกังวลเกี่ยวกับช่วงความสนใจ และอาการขาดสมาธิของเด็ก สิ่งสำคัญคือคุณต้องพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอความช่วยเหลือในการวินิจฉัยอาการ และขอคำแนะนำในการรักษา

 

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วเท่านั้น ที่จะสามารถช่วยให้คุณเข้าช่วงความสนใจของเด็ก และอาการต่าง ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อช่วงความสนใจของเด็กได้

 

 

 การเสริมสร้างทักษะการฟัง  

 
ไม่ว่าปัจจุบันลูกของคุณจะมีช่วงความสนใจตามทฤษฎีช่วงความสนใจตามวัยหรือไม่ก็ตาม หรือว่าตอนนี้คุณกำลังร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำความเข้าใจว่า ทำไมการพัฒนาทักษะการฟังของลูกจึงเป็นงานที่สำคัญสำหรับครอบครัวอยู่ก็ตาม

 

แต่ที่โรงเรียนครูและบุคลากรภายในโรงเรียนกำลังช่วยกันทำงานอย่างกระตือรือร้นในการพัฒนาทักษะการฟังของเด็ก โดยให้เด็กได้ทำกิจกรรมในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น จับคู่กับเพื่อนร่วมห้องเพื่อพูดคุย และพัฒนาทักษะการสื่อสารที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

ดังนั้นที่บ้าน คุณก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการฟัง และช่วงความสนใจของเด็กให้ดีขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น...

 

  • พูดคุยเกี่ยวกับ “ การใช้ทุกส่วนของร่างกายในการฟัง ” สำหรับเด็กประถม 3-6 ปี แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ทุกส่วนของร่างกายในการฟังเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเป็นอย่างมาก สอนลูกของคุณให้ใช้ทุกส่วนของร่างกายในการฟัง โดยใช้ตุ๊กตาคุณหัวมันฝรั่ง(Mr. Potato Head) หรือตุ๊กตาอะไรก็ได้ ที่สามารถให้เด็กเห็นทุกส่วนของร่างกายมาเป็นอุปกรณ์ในการสาธิตการฟังโดยใช้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น เมื่อเวลาที่มีคนพูด ตาของเราจะต้องมองไปที่ผู้พูด หูทั้งสองข้างต้องพร้อมที่จะฟัง ปากของเราต้องปิด และไม่มีเสียงใดเล็ดรอดออกมา เป็นต้น

 

  • ระวังอย่าขัดจังหวะ หรือเร่งลูกของคุณขณะที่ลูกของคุณกำลังพูดอยู่ อย่าคิดแทนลูก ว่าพวกเขาต้องการที่จะพูดว่าอะไร แล้วจัดการพูดแทนลูก ปล่อยให้พวกเขาคิดประมวลผล และสื่อสารมันออกมาด้วยตัวของเขาเอง

 

  • สร้างเกมขึ้นมา! เล่นเกมเล่าเรื่องกับเด็ก ๆ โดยการให้ทุกคนในครอบครัวผลัดกันเพิ่มคำ หรือวลีลงไปในเรื่อง ทุก ๆ คนต้องฟังอย่างตั้งใจ เพื่อที่เวลาถึงคิวของตัวเองจะได้สามารถเพิ่มคำหรือวลีลงไปในเรื่องราวที่สร้างขึ้นได้อย่างสมเหตุสมผล เกมนี้เป็นเกมที่เหมาะกับการเล่นเมื่อเราอยู่บนรถในระหว่างการเดินทางไปที่ไหนสักแห่งกับครอบครัว หรือเล่นระหว่างที่รออาหารมาเสิร์ฟ

 

  • ถามคำถามปลายเปิด และแสดงให้เด็ก ๆ เห็นว่าคุณกำลังสนใจในสิ่งที่เด็ก ๆ พูดอยู่ ถามคำถามง่าย ๆ เด็ก ๆ ในแต่ละช่วงวัยน่าจะตอบได้ และช่วยให้พวกเขาอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำตอบให้ได้มากที่สุด จะทำให้เด็ก ๆ สามารถจดจ่อกับเรื่องราวที่กำลังพูดได้นานมากยิ่งขึ้น

 

  • อ่าน อ่าน และอ่าน... อ่านหนังสือให้ลูกของคุณฟังให้ได้มากที่สุดในตอนที่พวกเขายังเป็นเด็กเล็ก ๆ และถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณได้อ่านไป หรืออาจจะอ่านหนังสือเล่มหนึ่งให้ลูกคุณฟัง จากนั้นเล่าเรื่องที่คล้ายกันกับสิ่งที่คุณอ่านไปเมื่อสักครู่แต่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางส่วน แล้วบอกลูกของคุณว่าเมื่อได้ฟังเนื้อเรื่องแล้ว รู้สึกว่าเนื้อเรื่องตรงไหนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมให้ปรบมือที่ตรงนั้น

 

  • ทำอาหารร่วมกัน! อ่านวิธีการทำ และส่วนผสมที่ใช้ให้ลูกของคุณฟัง แล้วให้พวกเขาทำตามสิ่งที่พวกเขาได้ยินในแต่ละขั้นตอนให้ถูกต้อง

 

  • ทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ กลับมาพูดเรื่องราวที่เคยฟังแล้วอีกครั้ง เป็นหนทางที่ดีในการที่เด็กจะได้จดจำและมีต้นแบบของเสียงในการพัฒนาทักษะการพูด และการสนทนาที่สุภาพ ในขณะเดียวกันก็เป็นการประเมินไปด้วยว่าทักษะการจดจ่อ และทักษะการฟังของลูกคุณตอนนี้เป็นอย่างไรแล้วบ้าง เช่น ถามลูกของคุณเกี่ยวกับกิจกรรมที่พวกเขาอยากทำ แล้วให้เขาตัดสินใจว่าอยากจะทำมันในวันไหน จากนั้นก็ให้เด็ก ๆ นำสิ่งเหล่านี้ไปเขียนใส่ไว้ในปฏิทินของครอบครัว

 

  • เมื่อลูกของคุณโตขึ้นควรที่จะพูดคุยเกี่ยวกับทักษะการฟัง และการจดจ่อของพวกเขา เช่น พูดคุยถึงความแตกต่างของการได้ยิน กับการฟังแล้วคิดตามว่าต่างกันอย่างไร หรือว่าวัจนภาษา (ภาษาพูด) กับอวัจนภาษา (ภาษากาย) นั้นมีความแตกต่างกันตรงไหนอย่างไรบ้าง เป็นต้น ถามพวกเขาว่าตอนนี้มีตรงไหนที่รู้สึกว่ามันยากลำบากสำหรับพวกเขา และอะไรเป็นเรื่องง่ายสำหรับพวกเขาในการฟัง และมีส่วนร่วมกับบทสทนาอย่างจริงใจ เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ สามารถพัฒนาทักษะการฟังของพวกเขาให้ดีขึ้น

 

  • ให้เด็ก ๆ สร้างสรรค์งานศิลปะตามสิ่งที่คุณกำหนดให้โดยใช้วัจนภาษา(ภาษาพูด) ให้คำสั่งที่สั้น ง่าย กระชับ และได้ใจความ และให้เด็ก ๆ วาดภาพตามสิ่งที่ได้ยิน

 

  • ให้เด็กเล่นเกมทำตามคำสั่งหัวหน้า หรือเกม “ Simon Says ” เพื่อฝึกการทำงานไปพร้อม ๆ กันระหว่างทักษะการจดจ่อ และทักษะการฟังอย่างเข้าใจของเด็ก

 

  • จำกัดเวลาหน้าจอ มีงานวิจัยหลายงานได้ออกมามายืนยันแล้วว่า การที่เด็กอยู่กับหน้าจอต่าง ๆ เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอโทรทัศน์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอมือถือก็ตาม นั้นมีผลกระทบต่อการสมองที่กำลังเจริญ และพัฒนาการของเด็ก ในขณะเดียวกันเราก็เชื่อในพลังของเทคโนโลยีเหมือนกัน ว่ามันสามารถช่วยให้เด็กต่อสู้ และเอาชนะต่อความยากลำบากในเรื่องของภาษา และความบกพร่องด้านการเรียนรู้ได้เช่นกัน  การกำหนดเวลา และติดตามการใช้เวลาของเด็กกับหน้าจอของบุตรหลานของคุณสำคัญเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากระหว่างการเล่นเกมกระดานหรือเกมในชีวิตจริง กับการเล่นเกมในหน้าจอ ดังนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับเวลา และคุณภาพของการใช้เทคโนโลยีของเด็ก เพราะหากใช้มันได้อย่างถูกทางมันจะให้คุณประโยชน์กับเด็ก มากกว่าโทษ

 

  • ใช้การเคลื่อนไหวเข้ามาช่วย ด้วยการยกแขนยกขา การเต้น หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น เพื่อช่วยให้พัฒนาทักษะการจดจำ และการจดจ่อในสิ่งที่จะต้องทำของเด็ก!


 

เพิ่มเพื่อน

 

 ความสำคัญของทักษะการฟัง ช่วงความสนใจของเด็ก และการจดจ่อ  


ทักษะการฟังของเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตในเกือบจะทุกด้านของเขาเลยก็ว่าได้ การช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาทักษะการโต้ตอบ และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพนั้นถือเป็นของขวัญที่มีคุณค่าที่จะสามารถติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต หากเด็ก ๆ ฟังได้ดีขึ้น เข้าใจมากขึ้น และสามารถแปลความหมายของสิ่งที่ได้ยินได้อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้เด็ก ๆ อยากที่จะฟังสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้น จดจ่อและมีสมาธิกับการได้ยินได้ดีขึ้น สื่อสารกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

 

และสิ่งสำคัญคือ ทักษะการสื่อสารของพวกเขานั้นจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง พฤติกรรม และการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเขา เช่นเดียวกับทักษะอื่น ๆ ทักษะการฟังของเด็กสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป และคุณสามารถช่วยพวกเขาได้!

 

ท้ายที่สุดนี้โปรแกรม Fast ForWord หรือโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการฟังและการอ่าน สามารถช่วยพัฒนา สมาธิ ความจำ การเรียนลำดับก่อนหลัง การอ่าน และการฟังของลูกคุณให้ดีมากยิ่งกว่าที่เคยได้!

 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

 

Source: https://www.fastforwordhome.com/single-post/2018/08/01/Building-Listening-Skills-to-Improve-Focus-Attention

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4