เราพูดอย่าง เด็กเข้าใจอีกอย่าง ปัญหานี้แก้ได้!

 

 

 เราพูดอย่าง เด็กเข้าใจอีกอย่าง ปัญหานี้แก้ได้! 


บ่อยครั้งที่เราถามคำถาม เล่าเรื่อง หรือขอให้ลูกช่วยไปหยิบอะไรสักอย่างให้ แต่ลูกกลับไม่เข้าใจว่าเราจะสื่ออะไร?

 

บางครั้งคุณครูที่โรงเรียนยังบอกอีกว่าลูกเราเรียนช้า ตามไม่ทันเพื่อน 

 

แล้วปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร? 

 

เราจะแก้ปัญหานี้ได้ไหม? 

เพิ่มเพื่อน

 

ลักษณะของการที่ ลูกเข้าใจอีกอย่าง หรือลูกไม่เข้าใจสิ่งที่ได้ยิน

เกิดจากการที่ลูกของเรามีทักษะการฟังที่อ่อนแอ ทำให้เขาไม่สามารถจับใจความเสียงที่ได้ยินอย่างชัดเจน 

 

"เด็กเข้าใจอีกอย่าง"

 

นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้ บางครั้งเวลาถามคำถาม หรือพูดอะไรกับลูก ๆ พวกเขาจะแสดงออกถึงการไม่เข้าใจในคำถาม หรือสิ่งที่เราต้องการจะสื่อสาร และการที่ลูกไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่คุณครูกำลังสอนก็อาจมาจากเหตุผลเดียวกันนี้ได้เช่นกัน

 

"เด็กเข้าใจอีกอย่าง"

 

นอกจากนี้ ยังมีลักษณะอาการอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าลูกเราเริ่มมีทักษะการฟังที่อ่อนแอ เช่น 

 

  1. ไม่ชอบอ่านหนังสือ หรือมองว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องที่ยาก 
  2. ถามคำถามเดิมซ้ำ ๆ เพราะลูกไม่เข้าใจว่าคุณกำลังพูดหรือบอกอะไรเขา ทำให้ลูกต้องถามซ้ำเพื่อฟังให้ชัดเจน 
  3. ลืมง่าย เนื่องจากเสียงที่ได้ยิน จะถูกนำไปประมวลผลเป็นความหมาย และบันทึกในสมองส่วนความจำ (Working Memory) แต่เมื่อไรที่ลูกมีทักษะการฟังที่อ่อนแอ จะทำให้เสียงที่ได้ยินนั้นไม่สามารถแปลงเป็นความหมายได้ เลยทำให้บ่อยครั้งเขาจึงไม่คุ้นหรือเข้าใจกับสารที่รับมา    
  4. ฟังบทสนทนาหรือคำพูดยาว ๆ ไม่เข้าใจ ตามไม่ทัน เพราะการที่มีทักษะการฟังที่อ่อนแอ ส่วนหนึ่งมาจากการประมวลผลที่ยังไม่แข็งแรง เนื่องจากไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของเสียง หรือวิเคราะห์หน่วยเสียงย่อยได้ดี  ดังนั้นจึงกลายเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจเสียงที่ได้ยินนั่นเอง 
  5. จำรายละเอียดยิบย่อยได้ แต่จับประเด็นของเรื่องที่ฟังไม่ได้  
  6. ไม่เข้าใจหลักการเลข เรขาคณิต หรือโจทย์ปัญหา เป็นต้น 
  7. มีความยากลำบากในการจับใจความสิ่งที่ฟัง หรือแยกเสียงไม่ได้ในพื้นที่ที่มีเสียงรบกวน 

 

จากปัญหาข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าการที่ลูกมีทักษะการฟังที่อ่อนแอนั้นส่งผลต่อการสื่อสารและงานวิชาการในห้องเรียนอย่างมาก ซึ่งหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข อาจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและอนาคตต่อไป เช่น การเรียนเนื้อหาที่มีความซับซ้อน การบอกความต้องการ ปัญหาในเรื่องของอารมณ์ หรือการเข้าสังคม เป็นต้น

 

ด้วยเหตุนี้ BrainFit จึงมีเคล็ดลับหรือวิธีง่าย ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการฟังให้แข็งแรงเบื้องต้น ซึ่งผู้ปกครองสามารถฝึกลูกได้เองที่บ้าน ดังนี้

"เด็กเข้าใจอีกอย่าง"

 

  1. อ่านออกเสียง อย่างน้อยวันละ 10 นาที ไม่ว่าจะเป็นหนังสือนิทาน การ์ตูนหรือหนังสือเล่มโปรดของลูก เพื่อให้ลูกได้ยินเสียง ได้คุ้นชินกับภาษา การออกเสียง การเปล่งคำ จนค่อย ๆเรียนรู้และจดจำเป็นความหมายมากขึ้น 
  2.  คอยเช็คว่าลูกเข้าใจสิ่งที่เราพูดหรือไม่ ด้วยการทวนประโยคหรือคำสั่งที่เข้าใจง่าย โดยใช้น้ำเสียงที่มีระดับสูง-ต่ำ เพื่อให้เขาเกิดความสนใจที่จะฟังเรา เช่น หนูต้องไปหยิบขวดน้ำหรือแก้วน้ำนะคะ? 
  3. เหนื่อยก็พัก สำหรับเด็กบางคนจะใช้พลังงานสมองอย่างมาก เมื่อต้องตั้งใจฟัง และจับใจความสิ่งที่ได้ยิน ดังนั้นเราจึงต้องให้เวลาเด็ก ๆ พักเติมพลังสมอง เช่น ทุกๆ 30 นาที ก็จะได้พัก 5 นาที ได้เดินเล่นในบ้าน ได้สูดอากาศบริสุทธิ์ให้สมองปลอดโปร่ง หรือดื่มน้ำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น เป็นต้น 

 

มากไปกว่านี้ เพื่อการพัฒนาทักษะด้านการฟังให้ดียิ่งขึ้น BrainFit ยังมีโปรแกรม Fast ForWord® ที่จะเข้ามาปูพื้นฐานทักษะทางภาษาและการฟังอย่างเต็มที่ 

 

โดยใช้รูปแบบของเกมที่มีคลังคำศัพท์มากมาย และแบบฝึกหัดที่จะช่วยฝึกในเรื่องของความแม่นยำในการวิเคราะห์หน่วยเสียงย่อย ความจำ แกรมมาร์ การแยกแยะความแตกต่างของเสียง และสมาธิ การเรียงลำดับก่อนหลัง การอ่าน รวมไปถึงการฝึกทักษะการฟังแล้วจับใจความให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

 

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ แน่นอนว่าหากเด็ก ๆ ได้ใช้เวลาฝึกฝนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ก็จะมีทักษะการฟังที่แข็งแรงขึ้น และช่วยให้เขาสามารถจับใจความสิ่งที่ได้ยินอย่างแม่นยำ ฟังแล้วเข้าใจ สามารถทำกิจกรรมในห้องเรียนได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างเข้าใจ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

 

"เด็กเข้าใจอีกอย่าง"

 

ขอรับคำปรึกษาได้ ฟรี!

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  โทร 02-656-9938

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์   091-774-3769

LINE Official Account: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

 

 

 

Source: MATTHEW LYNCH (2022) and The Understood team

ปรึกษาฟรี หรือ ทดลองเรียนฟรี