เมื่อ ลูกเป็นPerfectionist ติดความสมบูรณ์แบบ
“ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ” เรื่องนี้หลาย ๆ คนคงรู้และเข้าใจดี แต่เด็ก ๆ นี่สิคะ เขาจะแยกแยะได้อย่างไร เพราะเมื่อบางครั้งคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกหงุดหงิด หรือไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองทำ ก็จะเริ่มใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนแรก ไม่ยอมให้มีตรงไหนผิดพลาดไปจากที่พวกเขาหวังไว้ แบบนี้อาจเข้าข่ายว่า ลูกเป็น Perfectionist ทุกอย่างจะต้องสมบูรณ์แบบเท่านั้น
โรค Perfectionist หรือ โรคสมบูรณ์แบบ คือ โรคที่มีพฤติกรรมนิยมความสมบูรณ์แบบ ทำอะไรต้องอยู่กรอบ ทำอะไรต้องเป๊ะ หากมีความผิดพลาด ก็จะมีผลต่ออารมณ์อย่างรุนแรง เช่น เศร้าเสียใจอย่างรุนแรง โมโหรุนแรง จนสุดท้ายก็สะสมเป็นความเครียด กดดันตัวเองโดยไม่รู้ตัว และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของตัวเด็กอีกด้วย หลาย ๆ คนอาจพบเจอโรคนี้ได้กับผู้ใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะ ว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ ได้เช่นกัน ดังนั้น เรามาทำความรู้จักโรคสมบูรณ์แบบ รวมถึงคำแนะนำวิธีการรับมือกับพฤติกรรมนี้กันค่ะ ?
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เด็กที่ติดความสมบูรณ์แบบมาจาก สองอย่างหลัก คือ ติดสมองเด็กมาตั้งแต่เกิด และ จากการเลี้ยงดู เช่น พ่อแม่คาดหวังสูงจากลูก ในลักษณะตึงเครียด ตัวเด็ก ๆ เองต้องพยายามตะเกียกตะกายไปให้ถึงจุดที่พ่อแม่คาดหวังเอาไว้ หรือ พ่อแม่คนใดคนหนึ่งมีลักษณะติดความสมบูรณ์แบบจะทำให้เด็กเลียนแบบโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น
ลักษณะของเด็ก Perfectionist มีดังนี้
- คาดหวังสูงกับตัวเอง
- คิดแต่ว่าคนอื่นจะมองยังไง รู้สึกแย่ถึงแย่ที่สุด ถ้าทำอะไรผิดพลาดต่อหน้าคนอื่น
- หวั่นไหวง่ายมาก เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์
- จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่คิดว่าทำได้ไม่ดี หรือทำไม่ได้
- ชอบเก็บตัวเงียบไม่สุงสิงกับใคร ปิดกั้นตัวเอง
- จัดลำดับความสำคัญไม่ค่อยเป็น ลังเลไปมา
- ถ้าทำอะไรแล้วผลลัพธ์ออกมาแย่กว่าที่คาด อาจมีอาการ ทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง บ่อยๆ
วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ
1. ให้ลูกได้รู้จักการจัดการความเครียดของตนเอง เช่น การฝึกทำสมาธิ ฝึกการกำหนดลมหายใจ และการฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดความตึงเครียดทั้งทางกายและทางใจที่เกิดขึ้น
2. อย่าเปรียบเทียบ เพราะเด็กแต่ละคนก็มีความสามารถเฉพาะตัว และมีพื้นนิสัยที่แตกต่างกัน
3. เรียนรู้แบบมีเป้าหมาย สิ่งสำคัญที่พ่อแม่สามารถปลูกฝังและสอดแทรกไปกับการเรียนรู้เรื่องแพ้-ชนะ คือ ความมุ่งมั่นที่จะไปสู่เป้าหมาย โดยใส่ใจในรายละเอียดระหว่างทางด้วย
4. ไม่ดุหรือทำโทษรุนแรง เนื่องจากจะไปตอกย้ำและกระตุ้นให้เด็กรู้สึกผิดที่ทำผิดพลาด กลายเป็นความเครียดและความกดดันตัวเองมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรกล่าวชมเชยและให้กำลังใจ สอนให้เขารู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาด เปลี่ยนความกดดันเป็นกำลังใจ
5. ลองหากิจกรรมใหม่ ๆ ที่อยู่นอกแผนบ้าง เพื่อให้ลูกได้ออกนอกกรอบเดิม ๆ บ้าง ได้ทำอะไรใหม่ ๆ เป็นการปลูกฝังความกล้าคิด กล้าทำ
ถึงแม้ว่าการติดความสมบูรณ์แบบก็มีข้อดีคือ เด็กจะเป็นคนที่ตรงต่อเวลา เคารพเวลาของผู้อื่น มีความรับผิดชอบสูง .. ในขณะเดียวกันทางการแพทย์พบว่า คนที่มีลักษณะดังกล่าวมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า ขี้วิตกกังวล และทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้นหากปล่อยให้เด็กที่ติดความสมบูรณ์แบบ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ติดความสมบูรณ์แบบ โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ช่วยเหลือลูกให้เต็มที่ อาจเป็นการทำร้ายลูกโดยไม่เจตนา ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ลูกได้ตามวิธีการเบื้องต้นค่ะ เพื่อให้ลูกได้ดำเนินชีวิตตัวเองได้อย่างมั่นคง ?
พัฒนาสมาธิ และทักษะการเรียนรู้ให้เด็ก 3-18 ปี
------------------
ติดต่อขอทดลองเรียน ฟรี!
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์
02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
อ้างอิง: www.rakluke.com
www.trueplookpanya.com