7 วิธีอยู่กับเด็ก ๆ เมื่อคุณต้อง Work from home
..จะทำยังไงดี เมื่อคุณก็ต้อง Work from home ลูกก็ต้องดู..
เชื่อว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ทุกคนส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับชีวิตที่เด็ก ๆ อยู่บ้านมากขึ้น แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้เด็ก ๆ มีกิจกรรมทำอย่างสร้างสรรค์ และเราสามารถโฟกัสเวลางานของเราได้มากขึ้น
พ่อแม่อาจจะเล่นกับลูกตลอดเวลาไม่ได้ เพราะว่ามีงานต้องทำ มีประชุมต้องเข้า เราควรทำอย่างไรดี ให้สามารถบาลานซ์ระหว่างงานกับลูกได้
การหาสิ่งต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ทำในขณะที่คุณเองก็ต้องทำงานที่บ้านไปด้วย เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองหลายท่านกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ทว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมาโดยรู้วิธีสร้างความบันเทิงให้ตัวเอง ในเด็กเล็กคุณพ่อคุณแม่อาจต้องช่วยฝึกฝนหรือหากิจกรรมให้ทำ
แน่นอนว่า คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ก็จะวางแผนตารางกิจกรรมต่าง ๆ ให้ลูกทำอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความสนุกสนาน ตื่นเต้น หรือควบคู่กับการช่วยเหลือของคุณพ่อแม่ในแต่ละวัน
เรามาดูวิธีสร้างกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ให้เด็ก ๆ กัน!
1. Play Dates วางแผนวันเล่นกับเพื่อน
ช่วงอายุ: เหมาะสำหรับเด็กวัยเตาะแตะขึ้นไป
เชื่อหรือไม่ว่า การจัดตารางวันที่สำหรับให้เด็กเล่น อาจเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ปกครองที่ต้องทำงานที่บ้าน แม้แต่ในเด็กวัยเรียนก็สามารถเล่นได้ และควรให้เด็กเล่นด้วยกันโดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่เข้ามาแทรกแซงมากนัก หากคุณวางแผนที่จะทำงานในขณะที่พวกเขาเล่น คุณควรเตือนลูก ๆ ของคุณเกี่ยวกับกฎพื้นฐานล่วงหน้า และเชิญเพื่อนที่พวกเขาสนิทมาร่วมเล่นด้วยกัน
หากคุณต้องรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการรับเลี้ยงเด็กวัยเตาะแตะหรือเด็กก่อนวัยเรียน คุณจะต้องอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก ๆ ดังนั้นการเลือกทำงานในขณะที่คุณต้องเป็นเจ้าภาพจึงอาจไม่ใช่ทางเลือกในวันนั้น แต่นี่จะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการแลกเปลี่ยนเด็กของคุณบ้าง คุณจะเป็นเจ้าภาพในวันหนึ่งและพ่อแม่ของเพื่อนเด็กก็จะแลกเปลี่ยนการเป็นเจ้าภาพตอบแทนกัน
2. Art งานศิลปะ
ช่วงอายุ: เหมาะสำหรับวัยก่อนเข้าเรียนขึ้นไป
การสร้างสรรค์งานศิลปะบางประเภทสามารถที่จะทำให้เด็กบางคนใช้เวลาว่างกับมันได้หลายชั่วโมงเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม หากเป็นกิจกรรมอิสระที่เด็ก ๆ จะต้องอยู่คนเดียว ผู้ปกครองต้องมั่นใจว่า เด็ก ๆ สามารถจัดเซ็ตอุปกรณ์บางอย่างและทำความสะอาดได้ด้วยตนเอง พยายามทำให้ง่ายที่สุด!
สำหรับเด็กเล็ก การทำโปรเจ็กต์ศิลปะที่ต้องใช้การตัดสิ่งของ หรือหากต้องใช้การตัด ผู้ปกครองควรเตรียมตัดให้ล่วงหน้าก่อน และสำหรับเด็กที่อายุน้อยที่สุด สามารถเลือกวิธีระบายสีรูปได้ง่าย ๆ
3. Reading การอ่าน
ช่วงอายุ: เหมาะสำหรับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป
แม้ว่าจะมีเด็กจำนวนมากที่อายุน้อยกว่า 8 ปีที่สามารถอ่านหนังสือเองได้แล้ว แต่สำหรับการอ่านหนังสือเพื่อเป็นกิจกรรมอิสระสำหรับเด็ก เด็กจะต้องมีทักษะในการอ่านระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม หากเป็นเด็กเล็ก ผู้ปกครองสามารถเลือกหาหนังสือที่ไม่มีคำหรือเกือบไม่มีคำเพื่อดึงดูดความสนใจให้เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัยเพื่อให้พวกเขาสนุกกับการอ่านมากขึ้น
4. Educational Games เกมทางการศึกษา
ช่วงอายุ: เหมาะสำหรับเด็กอายุ ก่อนวัยเข้าเรียนเป็นต้นไป
ยุคนี้ เราแทบจะหลีกหนีเทคโนโลยีไปไม่ได้เลย หากที่บ้านมีคอมพิวเตอร์หรือแทปเล็ตในระหว่างที่คุณจะต้องทำงานที่บ้านไปด้วย การเลือกหาเกมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอาจเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ และรู้สึกสนุกไปพร้อม ๆ กัน >> เกมฝึกคณิตศาสตร์ คลิก >>
สิ่งที่พ่อแม่ควรระวังคือ จำกัดเวลาที่เด็กจะต้องอยู่กับหน้าจอให้เหมาะสมเพื่อป้องกันอาการขาดสมาธิที่จะเกิดขึ้นตามมา
5. การงีบหลับระหว่างวัน
ช่วงอายุ: เหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป
ช่วงนี้อาจจะเป็นเวลาทองที่พ่อแม่จะสามารถโฟกัสกับการทำงานของตนเองได้ ในช่วงที่เด็กงีบหลับ แต่เวลาของการงีบหลับของเด็กจะไม่คงที่เสมอไป อาจนอนนานหรือตื่นเร็วขึ้น เพราะฉะนั้น อย่าพยายามนัดเวลาสำหรับประชุมหรือคุยโทรศัพท์สำคัญในช่วงที่ลูกนอน เพราะลูกอาจตื่นตอนไหนก็ได้ ควรเลือกทำสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก เช่น พักผ่อนให้เวลากับตนเอง ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น
6. จัดสรรของเล่น
ช่วงอายุ: เหมาะสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ ขึ้นไป
พ่อแม่จะต้องไม่ลืมสิ่งที่เด็ก ๆ ชอบเล่น มีของเล่นมากมายที่เด็กเคยชอบเมื่อก่อน และเด็กอาจจะเริ่มเบื่อและไม่สนใจแล้ว แต่ในบางครั้งของเล่นเดิม ๆ ที่ไม่เคยได้เล่นเมื่อก่อน ก็อาจจะเปลี่ยนหมุนเวียนให้ดูเหมือนของเล่นชิ้นใหม่ได้
ของเล่นประเภท บอร์ดเกมเกมกระดาน, ไพ่, ของเล่นก่อสร้าง, รถไฟ, ชุดของเล่น และปริศนา เป็นเพียงของเล่นบางส่วนที่จะช่วยให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมเป็นเวลาหลายชั่วโมง ลองนำของเล่นเหล่านี้กลับมาเล่นใหม่ได้
7. การจินตนาการ
ช่วงอายุ: เหมาะสำหรับเด็กวัยหัดเดิน
การฝึกให้เด็กมีจินตนาการ นี่ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะบังคับหรือขอร้องเด็กให้ทำได้ ส่วนใหญ่แล้วการจินตนาการจะเกิดขึ้นกับเด็กที่อายุน้อย สร้างโลกจินตนาการของตนเอง เล่นกับสิ่งของหรือตุ๊กตา
ส่วนเด็กโต พ่อแม่สามารถส่งเสริมจินตนาการโดยแนะนำให้พวกเขาสร้างบทละครหรือเขียนเรื่องราว เขียนบันทึก เล่นกับสัตว์เลี้ยง ฝึกดนตรี เป็นต้น
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พ่อแม่จะต้องสื่อสารให้เด็กๆ ต้องเรียนรู้ว่า นี่คือสถานการณ์ที่ไม่ปกติ พ่อแม่ต้องทำงานเหมือนอยู่ที่ทำงาน หากมีประชุม ก็ควรสื่อสารให้ลูกเข้าใจ ให้เขารู้ว่า เป็นเวลาทำงานของพ่อแม่ แต่ถ้าลูกต้องการอะไร สามารถเรียกหรือถามได้เสมอ
และอย่าลืมว่า เด็กๆ ควรมีโอกาสที่จะได้รับประสบการณ์ในการดูแลและจัดการตัวเอง เป็นเจ้าของเวลาของตัวเอง เพราะมันจะช่วยได้มาก พ่อแม่เองก็ต้องเรียนรู้ที่จะจัดการเวลาของตัวเอง เพื่อให้เราไม่พลาดช่วงเวลามหัศจรรย์ในการเห็นพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด
อยู่บ้านช่วงโควิด ก็พัฒนาสมาธิแบบออนไลน์ ได้!
สนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติม
ทดลองเรียนฟรี