เด็กซน คือเด็กฉลาด จริงหรือไม่?
หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ่อย ๆ อาจจะตั้งแต่เด็กเลยก็ว่าได้กับคำพูดที่ว่า "เด็กซนคือเด็กฉลาด" ซึ่งคำพูดนี้นั้น มีทั้งส่วนที่เป็นความจริงและส่วนที่ไม่เป็นความจริงผสมอยู่รวมกัน
เพราะอาการซนนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติของเด็ก เนื่องจากวัยเด็กนั้น เป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากลอง การที่เด็กได้วิ่งเล่นซุกซน พูดคุยถามไถ่ในสิ่งที่อยากรู้จะเป็นการช่วยให้เด็กได้เรียนรู้โลกได้มากขึ้น แต่หากว่าเด็กคนไหนมีอาการวิ่งเล่นซุกซนที่มากผิดปกติ ไม่สามารถที่จะอยู่นิ่ง หรือจดจ่อกับสิ่งใดได้เลย นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กคนนั้น อาจมีอาการของ สมาธิสั้น ได้
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรหล่ะ ว่าเด็กคนนั้นแค่ซนปกติตามวัย หรือว่าเป็นอาการของการเกิดสมาธิสั้น.....
ไปทำความเข้าใจกับอาการ สมาธิสั้น พร้อมทั้งวิธีการสังเกตอาการเหล่านี้กันเลย!!!
อาการของเด็กสมาธิสั้น
สามารถแบ่งออกเป็นได้ 3 กลุ่ม คือ
1. ขาดสมาธิ
เด็กที่อยู่ในกลุ่มนี้จะไม่สามารถจดจ่อ ทำอะไรได้นาน ๆ จะเหม่อลอย หลงลืม สังเกตเด็กในกลุ่มนี้ได้จาก เมื่อเวลาที่ครูสอน เด็กจะมีอาการเหม่อลอย ไม่ฟังครู หรือหากว่าผู้ปกครองสอนอะไรเด็ก เด็กจะไม่ฟัง หรือเมื่อเด็กทำอะไร ก็จะไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งนั้นได้นาน ๆ
2. ซนมาก และอยู่ไม่นิ่ง
เด็กจะ ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้ จะปีนป่าย และชอบวิ่งไปวิ่งมา ไม่อยู่เฉย ๆ
3. ใจร้อน หุนหันพลันแล่น
เมื่อเด็กในกลุ่มนี้โกรธ เสียใจ มีความผิดหวัง ไม่ได้ดั่งใจ จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และจะแสดงอารมณ์ออกมาอย่างรุนแรง
สังเกต เด็กซน ที่เข้าข่ายจะเป็นเด็กสมาธิสั้น สังเกตได้จาก
สามารถสังเกตเด็กที่ซนมาก ได้จาก เด็กที่อยู่ไม่นิ่ง ชอบขยับตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้ เป็นเวลานาน ๆ จะไม่มีสมาธิในการเรียน เขียน หรืออ่าน
จะวัดว่าเด็กมีอาการสมาธิสั้นได้อย่างไร สังเกตได้จาก เมื่อเด็กเรียนหรือทำการบ้าน จะไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้เลย ไม่ฟังเมื่อครูสอน สำหรับการเล่นเกม หรือดูโทรทัศน์นั้น ไม่นับ เพราะว่ามันมีทั้งสื่อและเสียงให้ความน่าสนใจ
หากว่าเป็นสมาธิสั้นตอนเด็กแล้วนั้น เมื่อโตขึ้น อาการสมาธิสั้น จะหายหรือไหม
โดยปกติทั่วไป เด็กที่มีอาการสมาธิสั้น จะทุเลาลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 แต่อีก 70 เปอร์เซนต์ ก็จะยังมีอาการแทรกซ้อน
และในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นนั้นจะมีปัญหาค่อนข้างมาก เพราะจะยากต่อการปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มเพื่อน ๆ
แก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น จากต้นเหตุ
ได้มีการวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์มากมายจากทั่วโลก เกี่ยวกับอาการขาดสมาธิ หรืออาการสมาธิสั้นในเด็ก ซึ่งผลจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า อาการสมาธิสั้น เป็นเพียงอาการปลายเหตุ เพราะต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้คือความบกพร่อง ที่อาจเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ของพัฒนาการบ้างด้าน เช่น พัฒนาการด้านการมอง การเคลื่อนไหว หรือการฟังเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านรวมกัน ซึ่งความบกพร่องนี้จะเกิดขึ้นแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน
ดังนั้นถ้าหากต้องการแก้ไข หรือลดอาการสมาธิสั้นในเด็กจากต้นเหตุ เราก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝึกพัฒนาการ นั่นเองค่ะ เมื่อพัฒนาการแต่ละด้านของเด็ก ๆ แข็งแรงสมวัย พวกเขาก็จะมีความพร้อมในการจดจ่อเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ในอนาคตข้างหน้าได้ดีขึ้น!!
พบกันที่ BrainFit พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ให้มีสมาธิเพิ่มขึ้น
สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!
LINE Official Account: @brainfit_th