สารเคมีในสมอง (Neurotransmitters)
สมองของเราคือสิ่งที่น่าอัศจรรย์และมีข้อมูลให้ศึกษาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และถึงแม้เรารู้อยู่แล้วว่าการทำงานทุกอย่างในระบบร่างกายของเราเกิดขึ้นเพราะสมองเป็นตัวสั่งการ แต่เราเคยตั้งคำถามให้กับตัวเองไหมคะว่า สมองทำงานอย่างไร มีการงอกและการเชื่อมโยงของใยสมองอย่างไร ทำไมถึงทำให้เราสามารถทำนู้นทำนี่ได้ รู้สึกนึกคิด รับรู้และแสดงอารมณ์ในหลากหลายสถานการณ์ ทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะมี สารสื่อประสาท หรือ Nuerotransmitters
เจ้าสารเคมีนี้ถูกสร้างขึ้นบริเวณปลายประสาท เพื่อเป็นตัวนำสัญญาณประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง หรือเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์กล้ามเนื้อก็ได้เช่นกัน โดยการส่งสัญญาณจะเกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์เรียกว่า ซินแนปส์ (synapse) เมื่อกระบวนการนี้เกิดขึ้น การทำงานของระบบประสาทก็จะเกิดความสมบูรณ์ สารสื่อประสาท (Neurontransmitters) นั้นมีมากมายและถูกแบ่งกลุ่มออกไปหลาย ๆ ประเภท วันนี้เราจะมาแนะนำสารสื่อประสาทบางชนิดที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของเราค่ะ
1. Acetylcoline หรือ แอซิติลโคลิน
สารสื่อประสาทที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อ นอกเหนือจากแอซิติโคลินจะทำให้เราเคลื่อนไหวได้แล้วนั้น สารตัวนี้ยังมีส่วนช่วยในเรื่องความจำ สมาธิ ความสนใจ การตัดสินใจ และกระบวนการการเรียนรู้อีกด้วย
2. Dopamine หรือ โดพามีน
สารสื่อประสาทแห่งความสุข สารชนิดนี้จะถูกปล่อยออกมาเมื่อเรากำลังสนุกหรือความพึงพอใจกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์นั้น ๆ เช่น การทำสิ่งที่ชอบ การได้กินอาหารอร่อย ๆ หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น ไม่เพียงแต่เป็นสารที่หลั่งออกมาเมื่อเราพอใจเท่านั้น สารโดพามีน จะถูกหลั่งออกมาในขณะที่เรากำลังเรียนรู้หรือทำกิจกรรมใด ๆ ด้วยความตั้งใจเช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโดพามินถึงมีส่วนช่วยในเรื่องของสมาธิ เพราะขณะที่เราสนุกหรือพอใจที่ได้ทำกิจกรรมตรงหน้า สารตัวนี้จะถูกหลั่งออกมา ทำให้เราทำกิจกรรมตรงหน้าได้นานยิ่งขึ้นโดยไม่รู้สึกเบื่อหรือเหนื่อย
3. Norepinephrine
Norepinephrine เป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่หลายฟังก์ชั่น ทั้งในสมองและร่างกาย ในกรณีที่เป็นฮอร์โมนความเครียด (Stress Hormones) โนเรฟิเนฟรินจะกระทบสมองในส่วนของการควบคุมสมาธิและส่วนการแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง ที่ช่วยในเรื่องของการคิด การตัดสินใจ ความจำและความตื่นตัว สารตัวนี้ถูกใช้ในการรักษาอาการสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention Deficit Disorder Association) ร่วมกับสารโดพามีน โดยใช้ตัวยา Methylphenadate (Ritalin, Concerta, etc..)
4. Serotonin หรือ เซโรโทนิน
สารสื่อประสาทที่ควบคุมหรือปรับสภาวะด้านอารมณ์ เช่น ความก้าวร้าว รวมถึงการนอนหลับเฉพาะระยะหลับตื้น ความเจ็บปวด โดยสารตัวนี้ทำงานสัมพันธ์กับโดพามิน หากในร่างกายของเรามีเซโรโทนินที่ต่ำ จะทำให้เรารู้สึกซึมเศร้าหรือรู้สึกกังวล เรียกได้ว่าสารตัวนี้เกี่ยวกับกับความรู้สึกและอารมณ์โดยตรง
นี่เป็นเพียงแค่สารบางส่วนที่อยู่ในร่างกายเราเท่านั้น ยังต้องมีการวิจัยอีกมากเพื่อทำการเข้าใจการทำงานของสารเคมีในสมองอย่างแท้จริง สารเหล่านี้ทำหน้าที่มากมาย ทำให้เรารู้สึกนึกคิด ควบคุมร่างกายให้ทำกิจกรรมหลายอย่างได้ แต่ในขณะเดียวกัน สารบางชนิดมีมากหรือน้อยเกินไปก็ไม่เป็นผลดีสำหรับร่างกายเราเช่นกัน และปริมาณการหลั่งของสารเคมีให้มากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราด้วยและสภาพแวดล้อมด้วย กล่าวคือ ถ้าเราเครียดเกินไป มีอารมณ์และความรู้สึกเยอะเกินไป ก็จะทำให้สารเคมีบางชนิดนั้นหลั่งมากเกินไป ซึ่งแน่นอนว่าไม่ส่งผลดีต่อร่างกายของเรา สิ่งที่เราสามารถช่วยร่างกายและสมองของเราให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นได้คือ การออกกำลัง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองในการคิดวิเคราะห์ การฝึกควบคุมอารมณ์ สภาวะด้านจิตใจ เพราะสิ่งนี้ จะกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีออกมาให้พอเหมาะ เพื่อส่งเสริมให้การทำงานของสมองนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การฝึกสมองอย่างถูกวิธี ต้องสามารถกระตุ้นให้สารเคมีที่ถูกต้องหลั่ง ในปริมาณและความเข้มข้นที่พอเหมาะ
ทุกคอร์สที่สถาบัน BrainFit ได้ออกแบบเพื่อฝึกสมองทุกด้านและกระตุ้นให้สารเคมีที่ถูกต้อง ได้มีการหลั่งและซึมซับ อย่างสมดุลในทุกขณะที่นักเรียนฝึก ทำให้เห็นพัฒนาการเร็วและยั่งยืน ทักษะสมาธิและ การคิดวิเคราะห์ รวมไปถึงความสามารถในการควบคุมร่างกาย และอารมณ์ที่นิ่งขึ้นได้
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จให้ลูกรักได้แล้ววันนี้
โทร 02-656-9939 / 091-774-3769
LINE Official: @brainfit_th