สมาธิสั้น ดิสเล็กเซีย(Dyslexia) และความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยินสัมพันธ์กันอย่างไร

 

สมาธิสั้น ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) และความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยินสัมพันธ์กันอย่างไร

รู้หรือไม่ ดิสเล็กเซีย (Dyslexia) สมาธิสั้น (Attention Deficit Disorder) และความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยิน (Auditory Precessing Disorder) มีความเกี่ยวข้องกัน

  • เด็กที่มีปัญหาในการทำความเข้าใจคำศัพท์ที่ได้ยินมักถูกมองว่าไม่มีสมาธิหรือขาดความพยายาม ปรากฎให้เห็นเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
  • เด็กที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นดิสเล็กเซียมีโอกาสประสบปัญหาในการประมวลผลทางการได้ยิน
  • สมองส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากระบบการประมวลผลรับความรู้สึก (การมองเห็น การได้ยิน การรับรส การได้กลิ่น การรับสัมผัส การเคลื่อนไหว และการรับรู้ตำแหน่งของร่างกาย) มีการพัฒนาก่อนสมองส่วนที่ควบคุมการจดจ่อและสมาธิ
  • การส่งเสริมทักษะด้านการประมวลผลทางการได้ยินในช่วงเริ่มแรกส่งผลลัพธ์ทางบวกต่อการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างมาก

ตามที่ได้กล่าวมานั้นเป็นข้อสรุปจากการสัมนาทางเว็บไซต์ของ Dr. Marty Burns ในหัวข้อ สมาธิสั้น ดิสเล็กเซีย และ ความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยินสัมพันธ์กันอย่างไร อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากข้อความด้านล่าง หรือ ชมคลิปการสัมนา How Do ADD, Dyslexia, and Auditory Processing Disorder Overlap? 

การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Disorder: ADD) และ โรคซนสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทั้งผู้ปกครองและนักวิทยาศาตร์เป็นกังวลและต้องออกมาพูดคุยกันอย่างจริงจัง ซึ่งจากการวิจัยในปัจจุบันพบว่า แท้จริงแล้วปัญหาของเด็กเหล่านี้มีต้นเหตุมาจาก “ปัญหาการทำความเข้าใจและการประมวลผลทางการฟัง”

ขณะเดียวกันสมาธิก็มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับระบบการประมวลผลรับความรู้สึกและระบบประมวลผลทางภาษา ซึ่งเป็นสมอง 2 ส่วนที่แตกต่างกัน โดยปกติแล้ว การจดจ่อและสมาธิถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางความคิดขั้นสูง เช่น การจัดการ และการวางแผน เป็นต้น สมองส่วนนี้จะพัฒนาอย่างช้าๆจนถึงช่วงอายุ 20 ปี ซึ่งทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็น ADD มีระดับการทำงานของสมองส่วนหน้าต่ำ

ส่วนกลีบสมองด้านหลัง 3 ส่วน ที่เรียกว่า angular gyrus เกี่ยวข้องกับระบบการประมวลผลรับความรู้สึก โดยทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลจากการมองเห็น การได้ยิน และมิติสัมพันธ์ สมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาภาษา ซึ่งพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงแรกของชีวิต อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบสำคัญในการเรียนรู้ภาษา คือ การจำแนกรายละเอียดของคำศัพท์ ที่ทำให้เราสามารถแยกความแตกต่างของคำศัพท์ได้ เช่น คำว่า ‘bad’ กับ ‘pad’ หรือ ‘moon’ กับ ‘noon’ นอกจากนี้ สมองของเราสามารถสร้างโครงสร้างทางภาษาจากการได้ยินเสียงคำพูดของเจ้าของภาษา เลียนแบบการออกเสียง และเชื่อมโยงเสียงกับสัญลักษณ์ได้ในเวลาต่อมา เช่น การเชื่อมโยงเสียงกับลักษณะท่าทาง รูปภาพ และตัวอักษร เป็นต้น

ความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยินเกิดขึ้นเมื่อมีการขัดขวางพัฒนาการโครงสร้างการเรียนรู้ภาษา ทำให้เด็กมีความยากลำบากในการแยกแยะหน่วยเสียงที่ได้ยิน หากเด็กไม่มีปัญหาทางการได้ยิน ประเด็นนี้จะเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่แบ่งแยกความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยินออกจากปัญหาทางการได้ยิน อย่างไรก็ตาม อุปสรรคทางการได้ยิน เช่น ความหนาวเย็นหรือการติดเชื้อเป็นเวลานาน ก็ส่งผลต่อการประมวลผลทางการได้ยินเช่นกัน เนื่องจากเป็นการขัดขวางช่วงเวลาสำคัญของการเรียนรู้ อีกทั้ง พันธุกรรมก็มีบทบาทด้วย เช่น เด็กที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นดิสเล็กเซีย ในอดีตมองว่าส่งผลกระทบเพียงการเรียนภาษาในระดับสูง แต่ผลการวิจัยในปัจจุบันกลับพบว่า เด็กเหล่านี้มีระดับการทำงานของสมองในส่วนระบบการประมวลผลรับความรู้สึกต่ำ ทั้งยังประสบปัญหาด้านการประมวลผลทางการพูดก่อนเริ่มเรียนรู้การอ่านด้วย

แม้ว่าสมองส่วนหน้าจะเกี่ยวข้องกับสมาธิ แต่สมาธิก็อาศัยการเชื่อมโยงเส้นใยประสาทส่วนการประมวลผลรับความรู้สึกด้วย สิ่งนี้เองที่ทำให้ปัญหาสมาธิกับการประมวลผลทางการได้ยินมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากสมาธิสัมพันธ์กับการเรียนรู้ในการจัดเรียงลำดับข้อมูลจากระบบการประมวลผลรับความรู้สึกทั้งหมดและเลือกรับรู้สิ่งที่ต้องการ เด็กบางคนไม่สามารถทำได้ ดังนั้นจึงเป็นการยากในการมีสมาธิเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งที่ได้ยินสำหรับเด็กที่มีปัญหาด้านการแยกความแตกต่างของเสียง หรือการแยกเสียงที่ได้ยินออกจากเสียงสภาพแวดล้อม

เด็กที่มีความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยินมักแสดงอาการคล้ายกับเด็กที่เป็น ADD เช่น ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ไม่สนใจเรียนในห้องเรียน หรือไม่ทำตามคำสั่ง ทำให้คุณครูมองว่าพวกเขาไม่พยายาม ไม่สนใจ หรือมีสมาธิได้ไม่นาน ทั้งที่ความจริงแล้ว เด็กเหล่านี้พยายามอย่างมากแต่ไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่เรากำลังพูดได้ ทำให้พวกเขาเบื่อหน่ายและยอมแพ้ไปในที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น เด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ADD หรือ ADHD ส่วนหนึ่งได้รับการรักษาที่ไม่ได้ผล เนื่องจากการหาสาเหตุที่ไม่ตรงจุด

อย่างไรก็ตาม ข่าวดีคือ โปรแกรม Fast ForWord สามารถแก้ปัญหา Dyslexia ได้จากต้นเหตุ เป็นระบบที่ถูกออกแบบเพื่อช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านการประมวลผลทางการได้ยิน พัฒนาโดยนักประสาทวิทยาและได้รับการพิสูจน์ด้วยผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาสมาธิเนื่องจากการประมวลผลทางภาษา

หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถรับชมการสัมนาฉบับเต็มของ Dr. Marty Burns ได้ที่ How Do ADD, Dyslexia, and Auditory Processing Disorder Overlap?

หรือติดต่อสอบถามประสิทธิภาพของระบบ Fast ForWord ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้ที่BrainFit Studio 02-656-9938-9

 

 

ขอรับคำปรึกษาได้ฟรี โทร 02-656-9938 – 9 

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769

Line: @brainfit_th

BrainFit จัดสัมนาเกี่ยวกับการพัฒนาสมอง และคอร์สระบบการฝึกของเรา อย่างสม่ำเสมอ **สำรองที่นั่งล่วงหน้า ที่นั่งมีจำนวนจำกัด**
หรือสามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถทำการติดต่อได้ทันทีค่ะ

 

 

บทความจาก Lynn Gover วันที่ 15 ธันวาคม 2558 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4