สมาธิสั้นแท้ VS สมาธิสั้นเทียม

 

สมาธิสั้นแท้ VS สมาธิสั้นเทียม

                    เด็ก ๆ ที่เกิดในยุคนี้ เกิดมาพร้อมเทคโนโลยีและความรวดเร็ว ซึ่งสวนทางกับพัฒนาการของมนุษย์ที่มีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน ผู้ปกครองหลายท่าน จึงรู้สึกว่าลูกเรานั้น อาจมีปัญหาเรื่องของสมาธิสั้น ซน อยู่ไม่นิ่ง ทำอะไรไม่เสร็จ วอกแวกง่าย ทำให้การดูแลลูกยากลำบาก จึงพาลูกไปพบแพทย์และได้ยามารับประทานเพื่อควบคุมอาการสมาธิสั้น อย่างไรก็ดี ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่กังวลถึงผลข้างเคียงของการทานยาของลูก จึงมองหาวิธีที่จะสามารถพัฒนาลูกได้โดยไม่ต้องทานยา บทความนี้จึงอยากอธิบายถึงลักษณะและสาเหตุของอาการสมาธิสั้น เพื่อความเข้าใจในการดูแลลูกมากยิ่งขึ้น

 

                 

                     "สมาธิสั้นแท้" หรือโรคสมาธิสั้น คือโรคทางสมองชนิดหนึ่ง เมื่อสมองผิดปกติจึงทำให้พฤติกรรมผิดปกติ  เนื่องจากสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมสมาธิหรือการเรียงลำดับขั้นตอนในการทำงานยังพัฒนาการได้ไม่เต็มที่ ทำให้เด็กมักจะทำอะไรไม่ได้นาน นั่งกับที่ไม่ได้และทำงานไม่เสร็จ เพราะเหตุใดแพทย์ถึงต้องให้ทานยา เนื่องจาก อาการสมาธิสั้นเกิดจากการพัฒนาของสมองส่วนที่ควบคุมสมาธิหรือเรียบเรียงตามลำดับขั้นตอนยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้เกิดพฤติกรรมนั่งได้ไม่นาน ซุกซน ยุกยิกหรือทำงานไม่เสร็จ แพทย์จึงต้องให้ยามาช่วยควบคุมอาการนั้น จนกว่าที่สมองจะสามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในบางคนอาจจะต้องทานยาไปจนถึงวัยรุ่น

 

                    ต่อมา "สมาธิสั้นเทียม" อาการเหมือนกับสมาธิสั้นแท้ทุกประการ ต่างกันที่ "สาเหตุ" เพราะว่าโรคสมาธิสั้นเทียมมีสาเหตุจากพัฒนาการและสิ่งแวดล้อม  "ไม่ใช่จากสมอง" ซึ่งสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือสาเหตุทาง "การเลี้ยงดู" และยิ่งในเด็กที่ทำทุกอย่างด้วยความรีบเร่งอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเด็กที่โตมากับสภาพแวดล้อมในเมือง มีการแข่งขันกับเวลา เมื่อเด็กต้องทำงานแข่งกับเวลาตลอด โดยที่พัฒนาการของเด็กยังไม่พร้อม ทำให้ออกมาเป็นอาการทำงานผิดบ่อย ๆ ขี้ลืม เหม่อลอย บ่อยครั้งที่เด็กพบกับความผิดหวังที่ทำไม่ได้ทันเวลา ก็จะเป็นปัญหาทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิดง่าย เบื่อหน่าย กังวลตามมาด้วย

                    นอกจากการเลี้ยงดูแล้ว สาเหตุอีกอย่างคือ "เทคโนโลยี"  คือโทรศัพท์มือถือ แท๊บเล็ต และอินเตอร์เน็ต ทุกวันนี้เทคโนโลยีสามารถส่งผลกระทบทำให้เราไม่รู้จักรอคอย ไม่สามารถวางแผน และทำให้เรามีอาการเป็น "สมาธิสั้นเทียม" ไม่ว่าเด็กหรือลูกของคุณจะมีอาการอย่างไร คล้ายหรือไม่คล้ายสมาธิสั้น สิ่งที่สำคัญ คือ เราไม่ควรมองแต่ข้อผิดพลาดของเด็ก ให้มองเด็กตามพัฒนาการตามวัย เสริมแรงจูงใจเมื่อเขาทำได้ และช่วยเหลือเมื่อเขาทำไม่ได้ แต่ไม่ใช่ทุกครั้ง เน้นการสอนดีกว่าลงมือทำให้  ต้องให้เขารู้จักลองผิดถูกด้วยตนเองบ้าง

 

 

                    ทางออกแบบธรรมชาติ คือ ควรฝึกให้ลูกมีพัฒนาการตามวัยที่เหมาะสม เพราะจะช่วยทำให้สมองพัฒนาตามไปด้วย การฝึกพื้นฐานสมองให้ลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ควรปล่อยปะละเลย เพราะหากผ่านช่วงวัยที่ต้องพัฒนาไปแล้ว การจะกลับมาฝึกนั้นต้องใช้เวลานานมากขึ้นกว่าจะสามารถผ่านไปได้ หากฝึกอย่างถูกวิธีพัฒนาการล่าช้าก็สามารถฝึกให้กลับมาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัยและพันธุกรรมด้วย  “คนก็เหมือนต้นไม้ ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่เป็นเมล็ด จึงจะงอกงามมาเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์ได้”

                   

 

คอร์สพัฒนาสมาธิ เด็ก 3-18 ปี 

คลิกเลย!

สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!

02-656-9938 / 02-656-9939 

02-656-9915 / 091-774-3769

LINE Official Account: @brainfit_th

 

 

 

 

บทความนี้รวบรวมข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลของ BrainFit Studio เท่านั้น

 

แหล่งอ้างอิง

นพ. ทรงภูมิ เบญญากร (2012). คุยกับจิตแพทย์เด็ก.

ADHD in the News. (2011). https://cerescan.com/adhd-in-the-news/

The dad vibe. (2012). Parent's ego & the hurried child: Part 2.

http://www.castanet.net/news/ The-Dad-Vibe/80995/Parents-ego-the-hurried-child-Part-2.

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4