สมาธิสั้นแก้ได้ด้วยการฝึกพัฒนาการ

สมาธิสั้นแก้ได้ด้วยการฝึกพัฒนาการ

 

อาการสมาธิสั้นในเด็ก อาจเป็นเรื่องที่พบได้มากขึ้นในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะที่โรงเรียน เพราะในการเรียนหนังสือนั้นเด็ก ๆ ต้องใช้ทักษะหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการเคลื่อนไหว การมอง การฟัง รวมถึงเรื่องสมาธิด้วย เนื่องจากการเรียนหนังสือในห้องเรียนนั้น สมองของเด็กๆจะต้องใช้ทักษะต่างๆในการเรียนดังต่อไปนี้โดยเริ่มจาก

 

  1. การควบคุมร่างกายให้ตั้งตรง และสามารถนั่งอยู่บนเก้าอี้นิ่ง ๆ ไม่เท้าโต๊ะ โดยเด็กๆจะต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณช่วงหน้าท้อง หลัง ไหล่ คอ ศีรษะ
  2. หูต้องฟังและวิเคราะห์สิ่งที่ได้ยิน เพื่อตีความหมาย และตัดเสียงที่รบกวนอื่นเพื่อที่จะเข้าใจสิ่งที่คุณครูพูด
  3. ตาต้องมองเพื่อ วิเคราะห์ ตีความหมายและจดจำภาพและสัญลักษณ์ที่มองเห็นเพื่อจดลงสมุด
  4. การเขียนลงสมุด ต้องบังคับ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ข้อมือให้เคลื่อนไหวตามที่คิด
  5. ใช้ทักษะการมองเพื่ออ่านหนังสือหน้าที่คุณครูบอก และรวมถึงหากทักษะด้านการตีความวิเคราะห์เชื่อมโยงภาษายังไม่แข็งแรง เด็กจะอ่านหนังสือไม่ได้ สะกดไม่ถูก ไม่รู้ว่าผสมคำกันแล้วเป็นเสียงอะไร
  6. แก้โจทย์ปัญหาและตอบคำถาม ทักษะนี้ซับซ้อนและยาก เพราะต้องใช้การวิเคราะห์ระดับสูง เพื่อตีความ เรียบเรียงข้อมูล และตอบออกมา

 

เห็นไหมคะว่าในการทำกิจกรรมแค่ 1 อย่าง อย่างการเรียนหนังสือนั้น เราต้องใช้ทักษะสมองหลายด้านเลย ซึ่งถ้าหากว่าทักษะของสมองด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้านไม่แข็งแรงก็จะส่งผลให้สมองต้องดึงพลังจากสมองด้านที่แข็งแรงกว่ามาช่วย ทำให้สมองแต่ละด้านทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้เด็กๆเกิดความยากลำบากในการเรียนรู้

 

เมื่อเด็กๆคิดว่าการทำกิจกรรมแต่ละอย่างนั้นยาก หรือพยายามแล้วแต่ทำได้ไม่ค่อยดี ก็จะเกิดความรู้สึกไม่อยากทำ แล้วเบี่ยงเบนความสนใจไปทำอย่างอื่นได้แทน เช่น ขาดสมาธิ ซุกซน ไม่ฟัง ขาดความตั้งใจ หรือ เหม่อลอยได้ง่ายขึ้น เพราะสิ่งที่ต้องทำนั้น ยากเกินไป ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ควรเสริมสร้างให้ลูกน้อยก็คือ การพัฒนาทักษะของสมองแต่ละด้านให้แข็งแรง หรือเรียกอีกอย่างว่าการฝึกพัฒนาการ เพื่อป้องกันการเกิดอาการสมาธิสั้นในเด็ก หรือเรียนรู้ช้าในอนาคต

 

 

 

 คุณผู้ปกครองสามารถช่วยฝึกพัฒนาการให้เด็กได้ด้วยตัวเองที่บ้านโดยการ 

 

    1. ช่วงปีแรกของชีวิตในวัยทารกถึงก่อนเดิน ผู้ปกครองควรสื่อสารกับลูกเป็นเสียงและคำพูดที่มีความหมาย เพื่อฝึกทักษะการฟังแลพการสื่อสารให้เด็ก และหากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกได้ภาษาที่ 2 ก็สามารถเริ่มต้นด้วยการพูดให้ลูกฟังบ่อย ๆ โดยเน้นเป็นการพูดจากคน เพราะหากฟังจากวิดิโอ การเลียนเสียงของลูกจะไม่ชัดเจน เพราะลูกไม่เคยเห็นรูปปากเวลาออกเสียง ทำให้พูดไม่ชัดหรือพูดช้าได้

 

    2. พัฒนากล้ามเนื้อ และทักษะการทรงตัวด้วยการฝึกการนั่งโดยเริ่มจากการประคอง และค่อย ๆ ปล่อยให้ลูกนั่งด้วยตนเอง การนั่งของเด็ก ผู้ปกครองต้องช่วยสังเกต ไม่ให้ลูกนั่งท่าเป็ด เพราะจะทำให้เกิดปัญหาต่อสะโพก เข่า และข้อต่อได้ ท่านั่งที่แนะนำ คือ นั่งห้อยขาบนเก้าอี้ นั่งขัดสมาธิ นั่งเหยียดขาไปด้านหน้า เป็นต้น

 

    3. พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว และกล้ามเนื้อโดยการให้เด็กคลาน ไม่ควรเร่งรีบให้เด็กยืน หรือเดินในช่วงนี้ เปิดโอกาสให้ลูกคลานได้อย่างคล่องแคล่วก่อนแล้วค่อยยืน เพราะ การคลาน คือทักษะการทำงานประสานกันของร่างกาย (Body Coordination) สังเกตให้ลูกคลานแบบปกติ คือ การเคลื่อนที่จากข้างหนึ่งไปข้างหนึ่ง โดยใช้เข่าและมือทั้งสองข้าง ก้าวสลับกันไปมา เพื่อให้มีพื้นฐานที่ดี ไม่สับสนซ้ายขวา เล่นกีฬา เรียนคณิตศาสตร์ได้อย่างไม่สะดุด

 

    4. ฝึกการเดิน โดยสังเกตท่าเดินของลูก หากลูกเดินเขย่ง หรือการเดินด้วยปลายนิ้ว ให้พาลูกไปวิ่งเล่นหรือกระโดดบ่อย ๆ หากลูกมีน้ำหนักตัวเยอะ สามารถให้ลูกกะโดดบนแทรมโพลีน หรือพื้นที่มีความยืดหยุ่น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ข้อเท้า หากลูกลักษณะฝ่าเท้าแบน สามารถหารองเท้าที่รองรับรูปเท้าของลูกได้ แต่อย่างไรก็ดี หากสังเกตเห็นเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยปรับได้เร็วขึ้น

 

    5. ฝึกทักษะการมองในช่วงวัย 2 -3 ขวบ ให้เด็กฝึกแยกสี แยกรูปทรงง่าย ๆ ให้ได้ เช่น แม่สีหลัก รูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น

 

    6. ให้ลูกเล่นนอกบ้านบ่อย ๆ ไปสนามเด็กเล่น ปีนป่าย หรือจะโยนรับบอลในห้องก็ได้หากมีพื้นที่จำกัด เพราะ การที่เด็กได้ฝึกการคาดคะเน ควบคุมร่างกายให้เคลื่อนไหว จะช่วยเด็กมีพื้นฐานการควบคุมร่างกายที่ดี เมื่อโตขึ้น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรีจะเป็นเรื่องที่เรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย

 

    7. การฝึกให้เริ่มต้นเขียน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลหรือเร่งให้ลูกเขียนได้ตั้งแต่วัย 3 ขวบ เพราะบางครั้งพัฒนาการตามวัยด้านนี้อาจจะยังไม่เอื้อให้เด็กสามารถเขียนได้อย่างสวยงามหรือเขียนเป็นตัวหนังสือได้ ควรเริ่มด้วยการให้ลูกลากเส้นและช่วยดูเรื่องการจับดินสอ ระบายสีเพื่อฝึกการลงน้ำหนักเส้นที่เขียน ให้ลูกเล่นของเล่นที่ต้องใช้นิ้วมือเยอะ ๆ เช่น ปั้นแป้งโดว์ เล่นกรรไกรพลาสติกที่ไม่มีคม หัดคีบของ ร้อยลูกปัด เป็นต้น เพื่อให้กล้ามเนื้อมือของลูก และการคาดคะเนได้ฝึกก่อน จะสามารถเป็นพื้นฐานให้ลูกเขียนได้ง่ายขึ้น

 

    8. ในวัยเข้าโรงเรียน หากเกิดอาการ สมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตและปรึกษาคุณครูถึงพฤติกรรมที่เห็นที่โรงเรียนและที่บ้าน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาทำความเข้าใจหาสาเหตุ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำได้

 

 

ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่คุณผู้ปกครองสามารถฝึกน้องที่บ้านได้ด้วยตนเอง เพื่อให้น้องมีพื้นฐานพัฒนาการที่สมวัยพร้อมกับการเรียนสิ่งใหม่ ๆ เห็นไหมคะว่าอาการ สมาธิสั้น ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด อาการเหล่านี้สามารถแก้ไข หรือทำให้เบาบางลงได้ด้วยการฝึกพัฒนาการ ซึ่งคุณผู้ปกครองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้าง และฝึกพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้

 

 

BrainFit รับสมัครน้อง ๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี 

 

"คอร์สปิดเทอม"

 

 

รับคำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ฟรีที่เบอร์

02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915 / 091-774-3769

 

 LINE: @brainfit_th

 

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4