วิธีการรับมือกับลูกที่มีภาวะ สมาธิสั้น

 

 

วิธีการรับมือกับลูกที่มีภาวะ สมาธิสั้น

 

"อาการอยู่ไม่นิ่ง วอกแวกง่าย จดจ่อกับกิจกรรมตรงหน้านาน ๆ ไม่ได้ 

รวมไปถึงการมีอารมณ์หุนหันพลันแล่นและขาดการยับยั้งชั่งใจ…"

 

เพิ่มเพื่อน

 

ซึ่งลักษณะอาการเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่บางท่านคงเข้าใจและเห็นภาพได้ดีในทุก ๆ วัน เพราะถือเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นกับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกที่มีอาการ สมาธิสั้น ในแต่ละวัน โดยเฉพาะการเลี้ยงดูให้เขามีความคิดและใช้ชีวิตแบบนอกกรอบจะยิ่งเป็นเรื่องยาก

 

"สมาธิสั้น"



เพราะ เด็กที่มีอาการ สมาธิสั้น จะมีพฤติกรรมไม่นิ่ง วอกแวกง่าย ไม่สามารถทำตามกฏหรือจดจ่อกับงานตรงหน้าได้นาน ๆ ทำงานไม่เป็นระเบียบ มักขัดจังหวะหรือพูดแทรกคนอื่นเพราะรอคอยไม่ได้ รวมไปถึงการควบคุมอารมณ์ตนเอง หุนหันพลันแล่น และมีความยากลำบากในการปรับตัวเข้ากับคนอื่น ๆ ในสังคม เช่น เพื่อน คุณครู


 
ฉะนั้นรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นให้ถูกวิธี จึงต้องเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน เป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น กิจวัตรในตอนเช้า หลังเลิกเรียน และเวลานอน เพื่อเป็นการฝึกให้เขาสามารถจัดการตัวเองได้และผ่อนแรงให้กับสมาชิกคนอื่นในครอบครัวอีกด้วย ซึ่งการรับมือเพื่อให้แต่ละวันดำเนินไปได้ด้วยดี จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายและหนักอกหนักใจสำหรับหลาย ๆ บ้านอย่างมาก 

 

✨ แล้วเราจะมีวิธีการรับมือกับลูกที่มี ภาวะสมาธิสั้น อย่างไรได้บ้างนะ?


 
วันนี้ BrainFit ชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับธรรมชาติของอาการ สมาธิสั้น มากขึ้นและสามารถรับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้ง่ายมากขึ้นค่ะ


 
1.มองหาจุดแข็ง  ?? สำหรับเด็ก ๆ ที่มีอาการสมาธิสั้น เรามักจะมุ่งประเด็นไปที่จุดอ่อนของพวกเขา เพื่อแก้ไข เพื่อปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้น เช่น บังคับให้จดจ่อและเขียนแบบฝึกหัดเยอะ ๆ กดดันให้เป็นเด็กนั่งนิ่ง ๆ สงบเสงี่ยมตลอดเวลา ซึ่งการบอกสิ่งที่เขาต้องปรับแก้ไขถือเป็นวิธีการที่ดี แต่หากว่าการโฟกัสไปที่จุดอ่อนมากเกินไป จะทำให้เด็ก ๆ มองว่าตัวเองมีปมด้อย ทำอะไรก็ไม่ถูกสักทีและขาดความมั่นใจแทน

 

"สมาธิสั้น"

 

ดังนั้นลองมาโฟกัสจุดแข็งของเขากันค่ะ เช่น สิ่งที่เขาชอบหรือสนใจเป็นพิเศษคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นกีฬา ศิลปะ ธรรมชาติ การเต้น ดนตรี ทำอาหาร หรือคำศัพท์รอบตัว? เพราะเมื่อเขาได้จดจ่อและใช้เวลาทำสิ่งที่ชอบแล้ว ก็จะส่งผลให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจและผ่อนคลายมากขึ้น 

 

 2.สิ่งที่เหมาะและสิ่งที่ใช่ ? บางครั้งเราอาจจะเห็นว่าเขาจดจ่อกับการอ่านหนังสือเรียนไม่ได้เลย ซึ่งทำให้เขาดูเป็นเด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเอาเสียเลย แต่แท้จริงแล้วเขาอาจจะถนัดหนังสือการ์ตูน ชอบฟังหนังสือเสียง (Audio book) หรืออาจจะชอบให้คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือนิทานให้ฟังก็เป็นได้  

โดยในช่วงเริ่มแรกเราอาจจะเริ่มในสิ่งที่เขาถนัดหรือชอบก่อนให้เป็นกิจวัตรประจำวัน แล้วเมื่อเขาเริ่มคุ้นชิน คุณพ่อคุณแม่อาจเพิ่มความท้าทายขึ้นทีละนิด เช่น ช่วยแม่อ่านคำนี้หน่อยได้ไหม หรือหนูลองอ่านหน้านี้ให้แม่หน่อยได้ไหม  

 

"สมาธิสั้น"

 

 

3.ใจดีกับตัวเองให้มาก ๆ  ? ให้เวลาตัวเองได้พักบ้าง แม้การเริ่มต้นในแต่ละวันอาจจะไม่เป็นไปตามแบบแผน บางวันเขาอาจจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือไม่ฟังสิ่งที่เราพูดเลย ทำให้วันนั้นทั้งวันช่างดูวุ่นวายและน่าปวดหัว ซึ่งทั้งหมดนี้เราอยากให้คุณพ่อคุณแม่ถือให้เป็นเรื่องปกติและใจเย็น ปล่อยวางไว้ตรงนั้นเลยค่ะ (That’s okay to mess up!) 

 

"สมาธิสั้น"

 

เพราะในขณะที่เราโมโห หรือแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา ลูกของเราก็กำลังเรียนรู้พฤติกรรมเลียนแบบของคุณพ่อคุณแม่อยู่นะคะ ซึ่งลูก ๆ กำลังเรียนรู้ว่าพวกเขาต้องจัดการอารมณ์อย่างไรเมื่อทุกอย่างไม่ได้ดั่งใจ หากคุณพ่อคุณแม่พยายามทำทุกอย่างให้ Perfect เป็นไปตามแบบแผนทุกอย่างตลอดเวลา  พวกเขาก็จะไม่มีทางเรียนรู้ความผิดพลาด หรือสิ่งที่ควรหรือสิ่งที่ไม่ควรได้เลย 

 

 

ดังนั้นเวลาที่เขากระจายข้าวของไม่เป็นระเบียบ เราไม่จำเป็นต้องดุให้เขาเก็บทันที แต่ปล่อยให้ทุกอย่างเย็นลง แล้วค่อย ๆ บอกเขาช่วยเก็บของเล่นด้วยเหตุผลได้ค่ะ

 

4. สร้างวินัยและกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ ⏰ ซึ่งแน่นอนว่าการสร้างระเบียบวินัยและกิจวัตรประจำวันถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อเด็ก ๆ ทุกคนอยู่แล้ว โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่มีอาการสมาธิสั้น เพราะการประมวลผล การใช้ความคิดตัดสินใจวางแผนทำอะไรสักอย่างถือเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับพวกเขาอย่างมาก

 

 

ดังนั้นการที่เขามีกิจวัตรประจำวัน เป็นแบบแผนตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเวลาเข้านอน เช่น ตื่นนอน แปรงฟัน อาบน้ำ แล้วกินข้าว ไปโรงเรียน รวมไปถึงเวลาทำการบ้าน เวลาเล่น เวลาของครอบครัว เวลาของการไปเดินเล่นข้างนอก จนถึงเวลาปิดไฟแล้วเข้านอน จะทำให้ สมองเริ่มเรียนรู้รูปแบบการทำกิจกรรมของแต่ละวันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะส่งผลให้ตัวเขาค่อย ๆ ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองค่ะ

 

ซึ่งในช่วงแรกอาจจะมีความยากลำบากในการจัดการบ้าง แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถค่อย ๆ ทำกิจกรรมไปทีละอย่าง และค่อย ๆ เพิ่ม Routine ไปเรื่อย ๆ ได้แบบไม่ต้องเร่งรัดได้เลยค่ะ   

 

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีบางวันที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกหมดความอดทน หรือรับมือไม่ไหวแล้ว เราอยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองคิดว่า “อุปสรรคที่เราเผชิญอยู่ คือบทเรียนที่จะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นในทุก ๆ วัน” เพราะอาการสมาธิสั้นที่ส่งผลต่อการแสดงออกบางอย่าง อาจทำให้เราไม่พอใจนั้นเกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว แต่การแสดงออกของเราจะส่งผลต่อความรู้สึกลูกรักและทำให้เขาจดจำช่วงเวลานั้นตลอดไปเลยค่ะ 

 

สุดท้ายนี้ สถาบัน BrainFit มีคอร์สฝึกพัฒนาสมาธิแบบ Whole Brain Training ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายและสนุกสนาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาจากงานวิจัย โดยมีพื้นฐานมาจากหลักการทางประสาทวิทยา (neuroscience) เพื่อช่วยให้ลูกรักมีพัฒนาการและสมาธิดีขึ้น รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกันค่ะ !  


 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

Source: Parents with confidence (2018), ADDITUDE (2022) 

 

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4