ลูกคุยกับตัวเอง
เรื่องปกติหรือต้องกังวล?
มีเด็กหลายคนเลยที่ชอบพูดคุยกับตัวเอง หรือคุยกับเพื่อนในจินตนาการ แล้วพฤติกรรมนี้
คุณพ่อคุณแม่ต้องกังวลหรือไม่ ?
จากการศึกษาของนักจิตวิทยาเด็ก ระบุว่า มันเป็นเรื่องปกติที่เด็กเล็กจะชอบคุยกับตัวเอง ซึ่งเราไม่ควรจะไปตัดสินว่าพวกเขาเป็นเด็กที่แปลกหรือมีความคิดในแง่ลบ ซึ่งโดยทั่วไป การคุยกับตนเองนั้น จะพบมากในเด็กช่วงอายุ 3-5 ขวบ หรืออาจนานกว่านั้น ถึงอย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ก็อาจสร้างความกังวลให้คุณพ่อคุณแม่ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว..
แล้วทำไมเด็ก ๆ ต้องคุยกับตัวเองด้วย
นั่นก็เพราะว่าเด็ก ๆ กำลังเรียนรู้การสำรวจโลกของภาษาอยู่ เช่นเดียวกับเวลาที่เด็กวัยเตาะแตะเรียนรู้ที่จะเริ่มหัดเดิน นักจิตวิทยา Ester Cole จากเมืองโตรอนโตได้กล่าวไว้ว่า “นี่มันก็เป็นการสวมบทบาทของพวกเขาอยู่” “พวกเขากำลังสำรวจความสัมพันธ์และกำลังนำพาตนเองในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ” คุณอาจจะเคยเห็นลูกของคุณพูดคนเดียว ในขณะที่เขากำลังใส่รองเท้า หรืออาจจะเล่าเรื่องบางอย่างที่เกิดขึ้นในรถเข็นเด็ก หรือคุยกับของเล่นของเขาในช่วงเวลาก่อนนอน พวกเขาอาจจะพูดบางอย่าง เช่น “อย่ากลัวความมืดไปเลย ไม่เป็นไรนะ ฉันจะกอดเธอเอง” ซึ่งพวกเขาอาจจะกำลังพูดเลียนแบบในสิ่งที่เขาได้ยินมาจากพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงของเขาก็ได้
ข้อดีของการคุยกับตัวเองหละ
การคุยกับตนเองนั้น สามารถใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกในการเรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมตนเองของเด็ก แรงจูงใจความคิด และอารมณ์ หรือกลยุทธ์ของเด็กได้ โดย Kimberly Day นักวิจัยทางด้านการพูดและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย West Florida ได้แสดงการศึกษาของเธอ เกี่ยวกับการพูดของเด็กวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียนว่า เด็กที่พูดคุยกับตัวเองในขณะทำงานต่าง ๆ อาจมีความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ได้ดีกว่าเมื่อต้องทำกิจกรรมที่ยากลำบาก
แล้วจะรับมืออย่างไร
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เราไม่ควรที่จะห้ามหรือยับยั้งการพูดคนเดียวของเด็ก เพราะการพูดกับตัวเองจะช่วยเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญา การเล่นกับการเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน โดย Cole ยังกล่าวอีกว่า หากคุณเห็นลูก 3 ขวบของคุณกำลังคุยกับตุ๊กตาและเล่นบทบาทสมมติอยู่นั้น หากคุณไปถามเขาว่า “ลูกพูดกับไดโนเสาร์ทำไม” “มันไม่ใช่คนจริง ๆ นะ” การพูดแบบนี้อาจจะสร้างความสับสนให้เด็กได้ เราควรจะเล่นกับเด็กและค่อย ๆ สอนพวกเขาถึงความแตกต่างระหว่างโลกของความจริงหรือโลกของจินตนาการ เช่น “งั้นเรามาบอกตุ๊กตาตัวนี้ว่า ได้เวลาที่เราจะต้องไปนอนกันแล้วดีไหมคะ”
แล้วทำไมเด็กบางคนยังไม่หยุดพูดกับตัวเอง
ในปี 2018 จากการศึกษาของ Kimberly แสดงให้เห็นว่า เด็ก ๆ จะเริ่มพูดกับตนเองน้อยลง เมื่อคุณพ่อคุณแม่ออกคำสั่งมากเกินไปและมีความละเอียดอ่อนในแง่ของการจัดการโครงสร้างการเล่นของพวกเขา และ Cole ยังกล่าวอีกว่า การคุยกับตนเองนั้นส่งผลต่อบุคลิกภาพของเด็ก ๆ เพราะฉะนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ด้วย ว่าอยากจะเริ่มให้ลูกมีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น หรือปล่อยให้เขาสนุกกับการพูดคุยกับตนเองต่อไป
แล้วเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล
ถึงแม้จะมีรายงานว่า เด็กที่มีอาการ เช่น สมาธิสั้น ส่วนใหญ่นั้น จะชอบคุยกับตนเองมากกว่าคุยกับคนรอบข้าง แต่การพูดคุยกับตนเองอาจไม่ใช่เรื่องต้องกังวลมากนัก Cole กล่าวว่า การคุยกับตนเองจะค่อย ๆ หายไป เมื่อเด็ก ๆ เติบโตขึ้น พวกเขาจะเริ่มเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้มากขึ้น เช่น เมื่อเด็กไปโรงเรียน เด็กจะได้เรียนรู้และถูกฝึกให้อยู่ในสถานการณ์ที่ที่เงียบ เพื่อเรียนรู้ สังเกต และรอคอยจังหวะการพูดของตนเองกับผู้อื่น แต่หากพฤติกรรมการพูดกับตนเองยังไม่หยุดหรือน้อยลง และเริ่มบ่อยขึ้น โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่เด็กอาจประสบกับเหตุการณ์บางอย่างหรือเผชิญบางสิ่งมา เช่น การสูญเสียสัตว์เลี้ยงที่เขารัก หรือสิ่งที่จะเป็นสาเหตุให้เด็กแยกตัวเองมาจากกลุ่มในระหว่างการเล่นหรืออยู่กับผู้อื่น ผู้ปกครองควรสังเกตอาการและขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว อยากแยกตัว หรือถูกปฏิเสธจากการสื่อสารกับคนรอบข้าง
ที่ BrainFit เราพัฒนาศักยภาพสมอง พัฒนาการทางด้านร่างกาย และอารมณ์ ครอบคลุมทุกด้าน ให้กับเด็กอายุ 3-18 ปีช่วยให้เด็กมีความพร้อมและสมาธิที่ดีในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
สถาบัน BrainFit Thailand
02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
ที่มา: todaysparent.com