รักวัวให้ผูก รักลูกให้ "ตี" ดีจริงหรือ?

 

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ “ตี” 

สุภาษิตที่หลาย ๆ คนคงคุ้นเคย แล้วการเลี้ยงดูด้วย การตีลูก ดีจริงหรือ

ยังใช้ได้ผลกับเด็ก ๆ ในยุคปัจจุบันอยู่หรือไม่ ? แล้วหากจำเป็นต้องลงโทษ ควรลงโทษแบบไหนดี ? 

 

การตีส่งผลกระทบต่อลูกอย่างไรบ้าง ?

💢 เมื่อการ "ตี" ไม่ได้มีผลกระทบแค่ทางร่างกายเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อ "สภาพจิตใจ" และบุคลิกภาพของลูกอีกด้วย

การตีอาจทำให้ลูกหยุดทำพฤติกรรมนั้นเพราะเจ็บหรือกลัว แต่ไม่ได้เข้าใจเหตุผลจริง ๆ ว่าเพราะอะไรเขาจึงถูกคุณพ่อคุณแม่ตี ทำไมจึงทำแบบนั้นไม่ได้

และยังส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงลบที่จะทำให้มีแนวโน้มที่จะเลียนแบบพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง หรือมองว่าการตีเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้กับคนอื่น ๆ เช่นกัน 

 

📝 ซึ่งมีงานวิจัยหลายฉบับพบว่า การลงโทษด้วยการใช้ความรุนแรงทางร่างกาย ไม่ได้ทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น แต่จะทำให้พวกเขามีความก้าวร้าวมากขึ้น

มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมมากขึ้น และมีแนวโน้มจะเป็นพวกก่อกวนผู้อื่นในโรงเรียน โดยบางงานวิจัยระบุอีกว่า การลงโทษส่งผลต่อทักษะทางเชาว์ปัญญาที่ลดน้อยลงของเด็กและอาจส่งผลให้กลายเป็นคนขาดความมั่นใจในตนเอง เครียดง่าย และร้ายแรงถึงขั้นกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้

 

 

ลงโทษอย่างไรดี ถ้าไม่อยากตีลูก ?

1. Positive Time out : 

แยกลูกออกจากสถานการ์นั้น สร้างพื้นที่สงบให้ลูกอยู่กับลูก รอให้อารมณ์สงบโดยไม่ทอดทิ้ง แต่อาจเป็นการกำหนดข้อตกลง เช่น ถ้าหนูหยุดร้องเมื่อไหร่เราจะกลับไปเดินเล่นต่อ แต่ถ้าหยุดไม่ได้แสดงว่ายังไม่พร้อมจะอยู่ที่นี่ เราจะกลับบ้านกัน ซึ่งการทำ Positive Time out ให้ผลดีกว่าการ Time out ธรรมดา โดยที่เราไม่ทอดทิ้งเด็กให้อยู่ลำพังและไม่ขังไว้ในห้องแคบ ๆ 


 

2. ให้รับผิดชอบต่อการกระทำ :

เช่น เมื่อลูกทำน้ำหกก็ให้เขาเช็ดทำความสะอาดด้วยตัวเอง หรือเมื่อทำจานแตกคุณพ่อคุณแม่ก็ให้ลูกเก็บกวาดด้วยตัวเองได้เช่นกัน แต่หากเป็นเด็กเล็กกว่า 6 ขวบ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องหยิบออกจากมือทันทีที่เห็นใช้การตักเตือนและบอกเหตุผล เพราะการที่จะให้เด็กเล็กเก็บกวาดจานที่แตก อาจจะเกิดอันตรายได้เช่นกันค่ะ

 

3. ตัดสิทธิ์ :

งดกิจกรรมนั้น ๆ หรือไม่ให้รางวัล แต่วิธีนี้ควรมีการทำข้อตกลงกันไว้ก่อนแล้วว่าหากทำผิดกฎหรือไม่ทำตามข้อตกลงจะถูกลงโทษอย่างไร

เช่น ทำข้อตกลงกันว่า"ทำการบ้านเสร็จก่อน ค่อยเล่นของเล่น หากการบ้านไม่เสร็จ แล้วจับของเล่น แม่ขออนุญาตงดเล่นของเล่น 1 สัปดาห์นะครับ" ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ลูกเองก็ยอมรับ เมื่อลูกทำไม่ได้ตามที่ตกลง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรทำตามที่ตกลงกันอย่างเคร่งครัด

 

⭐ แม้ว่าการเลี้ยงลูกมีหลายรูปแบบ ไม่มีรูปแบบตายตัวขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ไม่ว่าเด็ก ๆ จะมีบุคลิกภาพแบบใด การเลี้ยงลูกด้วยตีก็อาจจะไม่เหมาะกับเด็ก ๆ ค่ะ ฝึกฝน พัฒนาให้ลูกมีพลังบวก ด้วยการเลี้ยงลูกเชิงบวก ปรับตัวเข้าโลกยุคใหม่ ร่วมส่งเสริมพัฒนาการและทักษะแต่ละด้านของลูกไปกับคอร์ส BrainFit Whole Brain Training เหมาะสำหรับน้อง ๆ อายุ 3 - 18 ปี พัฒนาทักษะครบทั้ง 5 ด้าน รวมถึงด้านอารมณ์และการเข้าสังคม  

 

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

 

 

ปรึกษาฟรี หรือ ทดลองเรียนฟรี