ปรับพฤติกรรมเมื่อ ลูกชอบพูดแทรก

 

 

ปรับพฤติกรรมเมื่อ ลูกชอบพูดแทรก

 

เมื่อลูกรักเติบโตได้ช่วงวัยที่สามารถสื่อสารได้อย่างรู้เรื่องแล้ว คุณพ่อคุณแม่เคยอยู่ในสถานการณ์ ที่คุณพ่อคุณแม่กำลังคุยโทรศัพท์หรือกำลังคุยกับเพื่อนบ้าน แล้วลูกมักจะพูดแทรกหรือพูดเสียงดังขึ้นมาทันทีไหมคะ? ซึ่งในบางครั้งเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่พูดคุยกันอยู่อาจเป็นเรื่องสำคัญ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หงุดหงิดได้

 

โดยพฤติกรรมที่ลูกชอบพูดแทรกนั้นอาจเกิดบ่อยครั้ง จนคุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่าลูกตัวเองจะกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจหรือไม่ ? ?
 

 

 

แล้วทำไม ลูกชอบพูดแทรก กันนะ?
 

สาเหตุของการพูดแทรกนั้นมีหลายปัจจัยค่ะ เรามาดูกันเลยว่าแต่ละปัจจัยสามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง
 

          ปัจจัยที่ 1. ลูกกำลังเรียกร้องความสนใจ

เพราะลูกอยากไม่อยากให้เราสนใจคนอื่น ลูกกำลังรู้สึกถูกแย่งความรัก ดังนั้นการแสดงออกด้วยการพูดแทรกก็คือการเรียกร้องความสนใจให้เราไปคุยกับลูก

 

✅ วิธีแก้ : เราคุยกับลูกก่อนว่าเพราะอะไรลูกถึงทำแบบนี้ พยายามเข้าใจและเห็นใจมุมมองของลูก

แล้วก็อธิบายให้ลูกฟังว่าแม่/พ่อแค่คุยงาน คุยกับคุณลุง/ป้า ฯลฯ แม่/พ่อยังรักหนูเหมือนเดิมนะ แล้วทำข้อตกลงร่วมกัน และที่สำคัญเราต้องบอกลูกก่อนเสมอว่าจะไปคุยกับคนอื่น เช่น

 

“ลูกจ๋า เดี๋ยวแม่ไปคุยโทรศัพท์แปบนึงนะคะ เสร็จแล้วจะกลับมาเล่นกับลูกต่อนะ”

หลังจากคุยเสร็จ หากลูกสามารถรอได้ก็อย่าลืมชื่นชม และทำตามสัญญานะคะ

“ขอบคุณนะคะที่รอแม่ เยี่ยมมากเลยนะ เรามาเล่นต่อกันดีกว่า”
 

ลูกพูดแทรก

 

          ปัจจัยที่ 2. ลูกไม่เข้าใจเรื่องการเป็นผู้ฟังที่ดี

บางครั้งลูกอาจจะแค่อยากคุยด้วย อยากร่วมวงสนทนาด้วย แต่ไม่ทันรอให้เราพูดจบลูกก็รีบพูดแทรกขึ้นมา 

 

✅ วิธีแก้ : สอนและพูดคุยกับลูก เช่น 


“ลูกจ๋า ถ้าลูกอยากจะพูด ลูกต้องดูก่อนนะว่าตอนนั้นมีใครพูดอยู่ไหม”

“ถ้ามีคนพูดอยู่ เรารอก่อนนะ”

“ถ้าเขาพูดจบแล้ว เราค่อยพูดต่อ”

“เพราะถ้าทุกคนพูดพร้อมกัน เราจะไม่เข้าใจว่าใครพูดว่าอะไร”

 

เพื่อให้ลูกเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น เราอาจจะลองแสดงบทบาทสมมติให้ลูกดู เช่น ให้คุณพ่อคุยกับลูก แล้วคุณแม่ลองพูดแทรกขึ้นมา จากนั้นลองถามลูกว่าลูกรู้สึกอย่างไร เข้าใจหรือได้ยินอะไรจากคุณพ่อบ้าง

 

และหากลูกเข้าใจ และพยายามจะพูดแทรกน้อยลงแม้บางครั้งจะยังมีบ้าง ก็ควรชื่นชมและให้กำลังใจลูก ?

“เดี๋ยวนี้ลูกตั้งใจฟังมากขึ้น และอดทนรอที่จะพูดได้ดีขึ้นนะจ๊ะ แม่ภูมิใจในตัวลูกจังเลย”

“เยี่ยมมากเลย วันนี้หนูอดทนรอได้ดีเลยนะ พยายามต่อไปนะคะ”

 


          ปัจจัยที่ 3. ลูกมีอาการสมาธิสั้น

ลูกมักจะรอไม่ได้ อยากพูดก็พูดทันที และมักมีอาการฉุนเฉียว แบบนี้อาจจะเข้าข่ายอาการสมาธิสั้น


✅ วิธีแก้ไข : ในเบื้องต้นลองหากิจกรรมเสริมสมาธิให้ลูกทำบ่อย ๆ และลดเวลาหน้าจอให้น้อยลง ส่งเสริมให้ลูกได้วาดรูป ระบายสี เล่นตัวต่อ การปั้นดินน้ำมัน อ่านหนังสือนิทาน เล่นกีฬา ฯลฯ 
 

ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจอาการของลูก ใจเย็น พยายามทำกิจกรรมร่วมกับลูก และเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นเรื่องการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่หากสาเหตุสมาธิสั้นมาจากกรรมพันธุ์ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อประเมินอาการดูนะคะ จะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุดมากขึ้น


 

ที่ BrainFit เรามี คอร์สฝึกสมองรอบด้าน ที่จะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทั้ง 5 ด้านไม่ว่าจะเป็น การเคลื่อนไหว การมอง การฟัง เพิ่มสมาธิ รวมถึงเรื่องของอารมณ์ ให้แข็งแรงสมวัย ผ่านการทำกิจกรรมที่สนุก และหลากหลาย เพื่อให้เด็ก ๆ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้ยาวนานยิ่งขึ้น และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เคย! ???

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

 

อ้างอิง parentsone and www.simplymommynote.net

ปรึกษาฟรี หรือ ทดลองเรียนฟรี