ทำอย่างไรให้สมองเพิ่มประสิทธิภาพการฟังได้

ทำอย่างไรให้สมองเพิ่มประสิทธิภาพการฟังได้

 

             คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาพูดอะไรแล้วลูกไม่ได้ยิน ต้องพูดซ้ำๆ สาเหตุอาจเพราะ ลูก ๆ อาจกำลังปวดหัวไม่น้อยกับเสียงมากมายเหล่านั้นที่ได้ยิน แต่ไม่สามารถจับใจความได้  ส่งผลให้ลูกไม่เข้าใจ และหมดความสนุกหรือเริ่มเบื่อหน่าย

เพราะอะไรเราถึงตัดเสียงรบกวนออกไปไม่ได้ ?

              นั้นก็เพราะ สมองของเรามีส่วนที่ใช้ในการวิเคราะห์เสียงที่เราได้ยิน และเราเรียก ความสามารถในการที่จะฟังเสียงเหล่านี้ ว่า การฟังที่เฉพาะเจาะจง” ซึ่งทักษะนี้เป็นส่วนวิเคราะห์ข้อมูลในสมองที่ทำให้เราจดจ่อกับเสียงที่เราคุ้นเคยผ่านตัวกลางของคลื่นเสียงที่ไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เสียงใบพัดของพัดลม เสียงดนตรีในเพลง และเสียงสะท้อนจากกำแพง สมองของเราจะสามารถแยกแยะเสียงเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสมองมนุษย์มีความสามารถในการฟังที่เฉพาะเจาะจง หากทักษะนี้ทำงานได้ไม่ค่อยดีล่ะก็ สมองจะต้องทำงานหนักและใช้เวลาในการแยกแยะเสียงรบกวนกว่าจะจับใจความสิ่งที่ต้องการฟังได้

              นักศึกษาระดับปริญญาเอกของศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัย Georgetown ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ เพราะอะไรมนุษย์ถึงสามารถวิเคราะห์เสียงมีความซับซ้อนได้โดยศึกษาจากค้างคาว พบว่า เซลล์ประสาทของค้างคาวสามารถทำให้เซลล์ประสาทตัวอื่นๆ ลดการทำงานลงได้ เพื่อนที่จะให้จดจ่อกับเสียงที่ต้องการฟัง หรือสามารถเพิ่มระดับเสียงของเสียงที่ต้องการฟังได้ แต่ความสามารถการฟังที่สำคัญจะหายไป เช่น คลื่นเสียงเรดาร์ของค้างคาว หรือเสียงเหล่านั้นจะถูกกลืนไปกับเสียงอื่น ๆ (2010)

              นักวิจัยแห่ง UCSF ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร Naturethat ที่อธิบายเกี่ยวกับ กระบวนการทำงานแทนที่ในสมองของมนุษย์โดยใช้แผ่นขั้วไฟฟ้า 256 แผ่นติดไว้ที่สมอง ซึ่งทำให้เห็นการทำงานของเซลล์ประสาทที่งานกับเสียงที่ผู้วิจัยใช้เป็นตัวอย่างในกระตุ้นสมอง จากนั้น ผู้วิจัยจึงสามารถถอดรหัสข้อมูลจากขั้วไฟฟ้า เพื่อหาสิ่งที่ผู้รับการทดสอบได้ยินโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้รับการทดสอบ (2012)

              ค้างคาวต้องล่าเหยื่อ ชุมนุมและนำทาง ในจำนวนประชากรค้างคาวที่มากเป็นพัน ๆ ตัว จึงเป็นเหตุให้ทักษะการฟังที่เฉพาะเจาะจงสำคัญในการดำรงชีวิต ซึ่งในอดีต มนุษย์ก็วิวัฒนาการทักษะนี้ด้วยเหตุผลไม่ต่างจากค้างคาว

               แล้วเราจะทำอย่างไรให้เราจับใจความจากเสียงวุ่นวายเหล่านั้นได้ล่ะ?

              ในปัจจุบัน มนุษย์จะไม่ต้องล่าสัตว์เพื่อหาอาหารแล้ว โลกมีความแตกต่างจากเดิมมาก ที่ไม่ได้ใช้แค่การฟังที่เฉพาะเจาะจงแล้ว ลองจินตนาการภาพในเมืองที่สภาพการจราจรหนาแน่น เสียงต่าง ๆ มากมาย เช่น เสียงลมฝน ความวุ่นวายของชีวิตในแต่ละวันที่เราไม่สามารถดื่มด่ำกับชีวิตไปในทุกขณะได้ ไม่ใช่แค่เสียงที่เราต้องฟังเฉพาะเจาะจงได้ ตอนนี้เรากำลังจมลงไปในเสียงรบกวนที่วุ่นวาย ไม่สามารถจดจ่อกับเสียงใดเสียงหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ความสามารถของระบบประสาทที่เราเรียกว่า การฟังที่เฉพาะเจาะจง จึงได้มีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันของเรา

               เราจะเห็นได้ว่าความสามารถในการฟังที่เฉพาะเจาะจงยังเกิดขึ้นในห้องเรียนด้วย ถ้าขาดทักษะนี้ อาจจะทำให้วอกแวกได้ง่ายด้วยเสียงรบกวน นักวิจัย ยังพบอีกว่า สมาธิในการวิเคราะห์เสียงที่เฉพาะเจาะจงจะพัฒนาได้ดีขึ้นหลังจากฝึกโปรแกรม Fast ForWord 6 สัปดาห์ (2008)

               จะเห็นได้ว่าทักษะนี้ สำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ เราลองทดสอบตัวเองดูได้ว่าทักษะนี้ของเรา แข็งแรงดีหรือไม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วลองมาแชร์กันในคอมเม้นท์ได้นะคะ สามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม Fast ForWord   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทักษะการฟังได้แล้ววันนี้

 

 

BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18 ปี

รับคำปรึกษาจากเรา และทดลองเรียนฟรี ได้แล้ววันนี้

โทรเลย!  02-656-9938-9 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE: @brainfit_th

 

References:

https://www.scilearn.com/blog/selective-hearing-how-your-brain-extracts-meaning-noise

Bardi, J. (2012) . How Selective Hearing Works In the Brain. Retrieved from the University of California San Franciso website: 
                    http://www.ucsf.edu/news/2012/04/11868/how-selective-hearing-works-brain.

Mallet, K. (2010). Bat Brains Offer Clues As to How We Focus on Some Sounds and Not Others.  Retrieved from the Georgetown University Medical Center: 
                    http://explore.georgetown.edu/news/?ID=54075&PageTemplateID=295.  

Stevens,C., Fanning, J.,  Coch, D., Sanders, L., & Neville, H. (2008). Neural mechanisms of selective audiory attention are enhanced by computerized training: Electrophysiological evidence from language-impaired and typically developing children. Brain Research .1205, 55 –        69. doi:10.1016/j.brainres.2007.10.108.

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4