การโกหก โดยไม่ตั้งใจ แก้อย่างไรได้บ้างนะ? 

 การโกหก โดยไม่ตั้งใจ แก้อย่างไรได้บ้างนะ?

 

เราโกหกครั้งแรกตอนอายุเท่าไหร่คะ? อาจจะเป็นช่วงที่เด็กมาก ๆ สัก 2-3 ขวบ ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น กลัวความผิด การรู้สึกอายกับการกระทำบางอย่างของตัวเอง หรือการพูดเกินจริงไปบ้าง เพื่อต้องการความสนใจจากผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าบ่อยครั้ง การโกหกเกิดขึ้นด้วยความตั้งใจของตัวผู้พูดเอง… 

 

เพิ่มเพื่อน

 

แต่ถ้าหากว่า การโกหก เกิดขึ้นเพราะความบกพร่องในการจัดการอารมณ์ การขาดความยับยั้งชั่งใจ การขาดสมาธิ

หรือที่เราเรียกอาการนี้ว่า “สมาธิสั้น” ล่ะคะ!?

 

❓  แล้วทำไมเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น จึงโกหกโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือมีกลไกอะไรของสมองที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้โกหกออกมากันนะ ?

 

"การโกหก"

 

วันนี้ BrainFit มีเกร็ดความรู้มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะว่า อะไรคือ การโกหก โดยไม่ตั้งใจ แล้วเราจะมีวิธีปรับพฤติกรรมนี้อย่างไรได้บ้าง? 

 

Monica Hassall และ Barbara Hunter บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นมายาวนานกว่า 30 ปี ได้อธิบายเรื่องของการโกหกว่า เป็นกลไกของสมองที่แสดงออกมาตามสัญชาตญาณการเอาตัวรอด เพื่อปกป้องตัวเองจากความรู้สึกไม่ปลอดภัย เช่น ความละอาย กลัว การถูกตัดสิน ความรู้สึกผิด หรือหลีกหนีจากการต้องตอบคำถามที่ตัวเองไม่สบายใจ เช่น “หนูทำการบ้านเสร็จแล้วค่ะ เหลือเช็คคำตอบอีกนิดเดียวเอง” แต่แท้จริงแล้วอาจจะยังไม่ได้เริ่มทำเลยก็ได้ค่ะ เพราะเขากลัวจะโดนดุ หากคุณพ่อคุณแม่รู้ว่ายังไม่ได้ทำเลย 

 

นอกจากนั้น Monica และ Barbara ยังได้ขยายความเกี่ยวกับการโกหกโดยไม่ตั้งใจ เป็นความบกพร่องของการทำงานของสมองส่วนที่เรียกว่า Executive Function Skill หรือที่เราเคยได้ยินคุ้นหูกันว่า “ทักษะสมอง EF” ซึ่งทำหน้าที่ช่วยให้เด็กสามารถตัดสินใจ บริหารจัดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี เป็นต้น  

 

"สมอง"

 

 

ซึ่งเมื่อทักษะ Executive Function อ่อนแอ จะทำให้เกิดองค์ประกอบ ต่าง ๆ ที่ทำให้เด็ก ๆ ไม่สามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้อย่างเหมาะสม เช่น การโกหกแบบไม่ได้ตั้งใจ เช่น 


1.ขาดความยับยั้งชั่งใจ นั่นคือการไม่สามารถควบคุมคำพูด การกระทำ หรือการสื่อสารได้ เมื่ออยู่ในสถานการณ์กดดัน ดังนั้นเมื่อเขารู้สึกไม่สบายใจ ก็จะพูดโกหกออกไปอย่างอัตโนมัติ เพื่อหลีกเลี่ยงความตึงเครียด 

 

"การโกหก"

 

2.มีความยากลำบากในการจัดการอารมณ์ตนเอง เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกกลัวหรือเครียดสุด ๆ ก็จะส่งผลให้เด็ก ๆ เลือกวิธีรับมือได้ไม่เหมาะสม หรืออาจจะระเบิดอารมณ์ออกมาสุดโต่งเลยก็ได้ค่ะ

 

"อารมณ์"

 

3.การมีปัญหาทักษะความจำ นั่นคือการมีความยากลำบากในการนำข้อมูลในสมองมาประมวลผลหรือนึกถึงผลลัพธ์ของการกระทำ เช่น เด็ก ๆ ไม่สามารถตระหนักได้ว่าการโกหกจะเกิดผลร้ายอย่างไรตามมา เพราะสมองไม่สามารถเก็บข้อมูลที่อาจจะเคยได้ยิน หรือรับรู้มาจากคนอื่นได้อย่างเต็มที่

 

"ความจำ"

 

รวมไปถึงการขาดทักษะ “การคุยกับตัวเองด้วยตรรกะหรือเหตุผล (Self-talk)” เพราะถือเป็นอีกเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากสำหรับพวกเขาในการประมวลผลเรื่องราว ให้เป็นลำดับขั้นตอน เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ในอนาคต เช่น หากลูกไม่ทำการบ้าน รู้มั้ยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต เราอาจจะสอบตก ได้คะแนนไม่ดี แล้วมาสอบซ่อมและอาจซ้ำชั้นได้อีกรอบนะคะ 

 

แล้วเราจะมีวิธีการช่วยเหลือหรือบรรเทาพฤติกรรมการโกหกอย่างไรได้บ้าง ในฐานะผู้ปกครอง คุณครู คนรอบข้าง หรือผู้ดูแลก็ตาม

 

1.การตั้งคำถามแบบโสเครติส (Socratic questioning techniques)

คือการตั้งคำถามหรือสร้างบทสนทนา เพื่อกระตุ้นให้เกิดทักษะการคิดแบบวิพากษ์ (Critical Thinking) และได้ฝึกฝนการคิดอย่างมีเหตุผล 

 

"การตั้งคำถาม"

 

โดยลักษณะคำถามจะเป็นแบบปลายเปิด เพื่อให้เด็ก ๆ ฝึกการสะท้อนความคิดตัวเอง เช่น เราอาจจะถามว่า “หนูคิดว่าปฏิทินการบ้านของหนูจะหน้าตาเป็นยังไงคะ ถ้าเราได้การบ้านเยอะมากเกินไป แล้วงานใหม่ ๆ ก็กำลังตามมาเรื่อย ๆ เลย” และเราสามารถต่อยอดคำถามนี้ได้อีกว่า “แล้วแบบนี้ เราจะจัดการยังไงได้บ้างนะ เพื่อไม่ให้เราส่งงานช้าเกินไป?”  

 

2.การบอกหรือคอยย้ำเตือนว่า การพูดความจริง จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า และดีอย่างไร

โดยพยายามชี้นำให้เด็ก ๆ เห็นว่าการพูดความจริง ก็จะช่วยให้คุณแม่ หรือคนรอบข้างช่วยแก้ปัญหาให้หนูได้เวลาที่หนูต้องการความช่วยเหลือในเรื่องอะไรก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นความไม่สบายใจเรื่องเล็กหรือใหญ่ก็ตาม

 

"การโกหก"

 

3.การแปลความประโยคคำพูดของเขา

หากเราสงสัยว่าเด็ก ๆ เผลอพูดโกหกอยู่หรือเปล่า เราสามารถพูดทวนประโยคของเขาอีกครั้ง เพื่อเป็นการให้โอกาสเขาได้เช็คคำพูดและแก้ไขใหม่ได้ อีกทั้งยังไม่ทำให้เขารู้สึกว่าเรากำลังจับผิดเขาด้วยนะคะ เช่น “แม่ได้ยินหนูพูดว่า หนูเก็บห้องเรียบร้อยแล้ว ทำการบ้านเสร็จหมดแล้วด้วย คือสิ่งที่หนูอยากจะบอกแม่ใช่ไหมคะ?” 

 

4.สร้างพื้นที่ปลอดภัย

เพื่อให้เด็ก ๆ รู้สึกผ่อนคลาย และสงบอารมณ์ เมื่อเขาเริ่มรู้สึกไม่สบายใจ แทนการเผชิญกับสถานการณ์ตึงเครียดและเลือกการโกหกหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมออกมา  

 

"safe zone"


ดังนั้นการโกหกสำหรับเด็ก ๆ บางคนเกิดขึ้นเพราะความไม่ตั้งใจ โดยเฉพาะเมื่อเขามีปัจจัยเรื่องของทักษะทางสมองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้บางครั้งจึงมีความยากลำบากที่จะจัดการอารมณ์กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เผชิญและต้องรับมือด้วยความตึงเครียด ทำให้เขาเลือกการแก้ปัญหาออกมาอาจไม่เหมาะสมนัก 

 

สุดท้ายนี้สถาบัน BrainFit มีคอร์สฝึกพัฒนาสมาธิแบบ Whole Brain Training ผ่านกิจกรรมที่จะช่วยพัฒนาทักษะทางสมองทั้ง 5 ด้าน รวมไปถึงทักษะด้านอารมณ์ เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถจัดการอารมณ์ มีความคิดในเชิงบวก และฝึกฝนกระบวนการคิดด้วยเช่นกันค่ะ 
 

Source: CHADD (2019), ADDITUDE (2022)

 

 

พัฒนาสมาธิ และศักยภาพการเรียนรู้ที่ BrainFit

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

Contact Us

หากคุณสนใจคอร์สหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อเราได้เลย

BrainFit Studio Thailand ชั้น 2, อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์,
สุขุมวิทซอย 2, กทม. 10110BTS สถานีเพลินจิต ทางออก 4