ทักษะสมอง 5 ด้าน

สมองของคนเรามี 5 ส่วนหลัก ๆ ซึ่งแต่ละส่วนเป็นพื้นฐานของการต่อยอดทางความรู้ การเรียน และรับสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเติม พื้นฐานของสมองยิ่งดีเท่าไหร่ ก็จะสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ไวมากขึ้นเท่านั้น

สมองทั้ง 5 ส่วนควบคุมวิธีการในการรับรู้สิ่งต่างๆ สมองจะเป็นตัวตัดสินว่า ในการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ต้องใช้ความสามารถทางด้านใดบ้าง เพื่อให้ได้รับและใช้ประโยชน์จากการเรียน ส่วนความรู้คือ "สิ่งที่ได้เรียนมา" เป็นตัวบอกว่าเราได้เรียนรู้อะไร ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ภาษาหรือเทคนิคต่าง ๆ ในชีวิต สรุปได้ว่าพื้นฐานของสมองทั้ง 5 ส่วนนั้นเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดศักยภาพในการเรียนรู้และนำความรู้ที่เราจำเป็นต้องศึกษามาใช้ในชีวิตประจำวัน หากพื้นฐานดังกล่าวแข็งแรง ย่อมก่อให้เกิดการเรียนสิ่งใหม่ ๆ ได้ดีและต่อยอดทักษะด้านการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ  สมองควบคุม 5 ส่วนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

 

 

5 brain pillars

 

1. ประมวลผลจากสิ่งที่มองเห็น (Visual)

สายตาคือความสามารถในการมองเห็น แต่ "สิ่งที่เห็น" (Vision) คือข้อมูลที่ถูกประมวลผลมาจากสมองและดวงตาของเรา สมองส่วนนี้ทำงานควบคู่กับสมองที่ประมวลผลข้อมูลจากการฟัง (Auditory Brain Pillar) เพื่อให้เกิดการรับรู้และจัดการข้อมูลต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เหมือนคำพูดติดปากที่เราได้ยินบ่อย ๆ ว่า "ตาดู หูฟัง"     

 

​Vestibular System or Semicircular Canal อวัยวะหลอดกึ่งวง

เป็นระบบที่รับรู้ข้อมูลทิศทางการเคลื่อนไหวและตำแหน่งของร่างกายและเกี่ยวข้องกับการทรงตัว

หน้าที่หลัก:

  • รักษาเสถียรภาพของศีรษะ
  • การตั้งท่าต่าง ๆ
  • การทรงตัวในขณะตั้งท่าต่าง ๆ
  • รักษาการเคลื่อนไหวของลูกตาให้มีเสถียรภาพ
  • ให้ความรู้สึกของความปลอดภัยทางกายภาพและทางอารมณ์

​Proprioception (ความรู้สึกของแรงดันและการบังคับแรงต้านในข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ)

  • Proprioception หมายถึง การรับรู้ในทิศทางการเคลื่อนไหวของแขน ขา และร่างกาย
  • ช่วยให้เราสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้
  • ทิศทางและความเร็วของการเคลื่อนไหว
  • ความแรงที่จำเป็นสำหรับการถือสิ่งของหรือการยกสิ่งของ
  • ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกาย
  • ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์

Ocular Control การควบคุมกล้ามเนื้อสายตา

  • การเคลื่อนไหวที่ราบรื่นและการประสานงานของลูกตาทั้งสอง
  • การบังคับทิศทางการเคลื่อนไหวของลูกตาที่ถูกต้องและรวดเร็ว
  • ​การบังคับลูกตาให้เคลื่อนไหวจากซ้ายไปขวาอย่างแม่นยำในบรรทัดเดียวกัน - สำคัญต่อความสามารถในการอ่านหนังสืออย่างคล่องแคล่ว

 

 

เพิ่มเพื่อน

 

2. ประมวลผลจากสิ่งที่ได้ยิน (Auditory)

เมื่อเราได้ยิน หูทำหน้าที่เพียงรับสัญญาณของเสียงเท่านั้น แต่สมองจะเป็นตัวแปลสัญญาณเหล่านั้นเป็นข้อมูลว่าสิ่งที่เราได้ยินคืออะไร สมองส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากในการเรียนรู้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาและการปฏิสัมพันธ์ในสังคม

เสียงเดินทางได้อย่างรวดเร็วมากผ่านทางอากาศ  ภาษาที่พูดคือการรวมตัวของเสียงที่สั้นมากหลาย ๆ เสียงที่ได้เดินทางมาถึงแก้วหูภายในเวลาอันสั้น ความสามารถของเราที่จะฟังได้อย่างถูกต้อง ขึ้นอยู่กับความเร็ว ของสมองในการประมวลผลของเสียงเหล่านี้
พื้นฐานที่แท้จริงของการพัฒนาภาษาคือความสามารถในการฟังเสียงที่แม่นยำ และถูกต้อง

นักวิทยาศาสตร์ผู้ผลิตโปรแกรม Fast ForWord ได้ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย​​และผลจากการวิจัยกว่า 30 ปี เริ่มโดยการฝึกสมองให้มีความแม่นยำในการฟังเสียงภาษาอังกฤษมากขึ้น ต่อด้วย Phonics หรือการเชื่อมโยงเสียงกับตัวหนังสือ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาการอ่าน และต่อด้วยการฝึกให้สมองอ่านหนังสือคล่องขึ้น ในระดับสูงขึ้นคือ Decoding, Fluency, Vocabulary, Comprehension และ Critical Thinking

 

 

3. ประสาทสัมผัสและความสัมพันธ์ของร่างกาย (Sensory-Motor)

ไม่มากนักที่มนุษย์เราจะรู้ว่าการทำงานของสมองส่วนนี้สำคัญเพียงใด สมองส่วนนี้ทำงานอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้ความพยายามมากมายเพื่อให้บรรลุกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องทำ ระบบประสาทสัมผัสภายในร่างกายของเรามีมากมายและแตกต่างกัน แต่ละส่วนส่งสัญญาณไปยังสมอง เพื่อผลักดันให้ร่างกายเกิดการตอบสนองและเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยสัญญาณเหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดแรงผลักที่เหมาะสมในขณะที่เราทำกิจกรรมหรือเคลื่อนไหวในลักษณะต่าง ๆ

 

 

Tactile system - ระบบสัมผัส

  • Tactile หมายถึง ข้อมูลที่ได้รับผ่านทางประสาทสัมผัสผิวของเรา
  • ให้การรับรู้ความรู้สึกของเราจากการสัมผัส
  • ระบบประสาทสัมผัสแรกของมนุษย์ที่ได้มีการพัฒนา
  • ระบบจำแนกข้อมูลจากการสัมผัส
  • ​ช่วยให้สมองรับรู้ข้อมูลอย่างแม่นยำเกี่ยวกับขนาด รูปแบบ และเนื้อสัมผัสของสิ่งของในสิ่งแวดล้อมโดยใช้การสัมผัสแต่อย่างเดียว

 

 

4. สมาธิและความจำ (Attention & Memory)

สมาธิทำให้เราจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำโดยไม่วอกแวกต่อสิ่งรบกวนรอบข้าง นอกจากนี้ยังช่วยให้เรามีสติและไม่ทำสิ่งใดก็ตามโดยปราศจากการคิดหรือติตรองให้ถี่ถ้วน ส่วนหน่วยความจำในสมองทำหน้าที่รักษาและเรียกคืนข้อมูลให้กลับมาใช้อีกได้ ทั้งสองส่วนนี้สำคัญอย่างมากในการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ การปฏิสัมพันธ์ภายในสังคม รวมไปถึงความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน

 

5. อารมณ์ในด้านสังคม (Social-Emotional)

สมองส่วนนี้ส่งผลต่อการพัฒนาความรู้สึกและทัศนคติต่อกิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินในชีวิตประจำวัน ความสนใจ แรงผลักดันและความมั่นใจ เป็นปัจจัยที่ส่งผลทางด้านบวกให้มนุษย์สามารถพัฒนาสมองในส่วนนี้ได้ดี เพราะเมื่อเรารู้สึก "ดี" สมองจะหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดทัศนคติและความสามารถในการเรียนรู้ที่ดีขึ้นได้

หากทักษะพื้นฐานอย่างใดอย่างหนึ่งอ่อน อาการที่เห็นอาจมองว่าเด็กคนนี้มีสมาธิสั้นในการกระทำบางอย่าง โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องใช้ทักษะที่อ่อนอยู่แล้ว จึงเป็นธรรมดาที่เด็กจะไม่อยากทำกิจกรรมนั้นเพราะจะยาก จึงเป็นสาเหตุของการมีอารมณ์ฉุนเฉียวตามมา
หลังจากที่เราได้เพิ่มประสิทธิภาพของสมองให้มีความสามารถสูงขึ้นแล้ว เด็กจะมีสมาธิมากขึ้น และมีความมั่นใจในตัวเองที่สูงขึ้นด้วย

 

 

การฝึกทุกทักษะสมองให้แข็งแรง ย่อมส่งผลให้การเรียนรู้ทุกด้านพัฒนาขึ้น ไวขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สถาบัน BrainFit มีคอร์ส "BrainFit Whole Brain Training" ที่มาจากการวิจัยกว่า 30 ปี และได้รับการยอมรับจากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก คอร์สที่จะยกระดับความสามารถของทุกทักษะสมองของเด็ก ๆ ตั้งแต่ 3-18 ปี แบบขีดสุด ฝึกแบบตรงจุด และเห็นผล นักเรียนและผู้ปกครองต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าสามารถพัฒนาทุกทักษะให้ดีขึ้นได้ เราพร้อมแล้วที่จะเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่จะพาให้ลูก ๆ ของคุณประสบความสำเร็จ

 

 

 มาฝึกสมองอย่างถูกวิธีกับเราได้

 

ติดต่อเรา

ปรึกษาฟรี หรือ ทดลองเรียนฟรี

เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th

02-656-9938 / 02-656-9939

 


 

ปรึกษาฟรี หรือ ทดลองเรียนฟรี