ฝึกสมองโดยใช้ Flash card ดีจริงหรือ

 

ฝึกสมองโดยใช้ Flash card ดีจริงหรือ

 

เพิ่มเพื่อน

 

ฝึกสมองโดยใช้ flash card ดีจริงหรือ?

 

การฝึกสมองโดยใช้ flash card ให้กับเด็ก ๆ กำลังได้รับความนิยมในหมู่ผู้ปกครองโซนแถบเอเชียเป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงการทำงานของ flash card ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของสมอง เรามาทำความเข้าใจกันก่อนเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของสมอง และการฝึกสมองที่ถูกวิธีนั้นจะก่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กอย่างไรบ้าง 

 

"flash cards"

 

มาทำความรู้จักการทำงานของสมองในอีกรูปแบบหนึ่ง...

 

จากงานวิจัยของ Roger Sperry และ Robert Ornstein ค้นพบว่าสมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือสมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) กับสมองซีกขวา (Right Hemisphere ) ซึ่งมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

สมองซีกซ้าย (Left Hemisphere) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายฝั่งขวาทั้งหมด โดยสมองซีกซ้ายเกี่ยวกับการแสดงออก มีสามัญสำนึก การวิเคราะห์ แยกแยะรายละเอียด เป็นเหตุเป็นผล การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล คิดวิเคราะห์ ตีความสัญลักษณ์ในภาษา อักษรได้ดี ซึ่งในสมองซีกซ้ายนั้นสามารถสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ทีละอย่าง หรือการรับรู้เป็นระบบ พวกวิทยาศาสตร์ การทดลอง คณิตศาสตร์ เป็นต้น

 

สมองซีกขวา (Right Hemisphere) จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายฝั่งซ้ายทั้งหมด โดยสมองซีกขวาเกี่ยวกับจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ รวมไปถึงการรับรู้สัญชาตญาณ และอารมณ์ความรู้สึก สมองซีกขวาจะสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานพร้อมกันได้ในทันที

 

การทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก ไม่ได้แบ่งแยกกันโดยเด็ดขาด แต่จะทำงานสัมพันธ์กันตามประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน เช่น เด็กบางคนชอบวาดรูป ระบายสี ในส่วนนี้จะเป็นการทำงานของสมองซีกขวาเป็นหลัก และการระบายสีก็อาจจะใช้เรื่องการวิเคราะห์ภาพต่าง ๆ เช่น เด็กเคยเห็นรถสีแดง ก็เลยระบายสีรถเป็นสีแดง ในส่วนนี้จะเป็นการทำงานของซีกซ้ายร่วมด้วยกันค่ะ การทำงานของสมองมีความน่าสนใจมากเลยใช่ไหมคะ

 

แล้วการฝึก Flash cards คืออะไรกันนะ?!

การใช้ flash cards ถูกคิดค้นที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อประมาณปี 2523 โดยเทคนิคการใช้ flash cards หรือ บัตรคำ เป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการฝึกสมองสำหรับเด็กตั้งแต่ช่วงวัยหัดเดิน โดยเน้นที่การฝึกสมองซีกขวา ในเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์ ความจำ รวมไปถึงการวิเคราะห์และประมวลผลคำศัพท์ หรือรูปภาพต่าง ๆ ได้อีกด้วย รูปแบบในการฝึกสมองโดยใช้ Flash cards มีหลายรูปแบบ แล้วแบบใดจึงจะเหมาะสมกับลูกรักกันแน่นะ?

 

"flash cards"

 

การฝึก Flash cards มีหลากหลายรูปแบบ ลองมาดูกันเลย!

หลายคนอาจจะเข้าใจว่าการใช้ Flash card คือการที่ต้องสลับเปลี่ยนรูปไปแบบรวดเร็วเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว การฝึกโดยใช้ Flash card มีหลายเทคนิคให้ได้ลองใช้ ยังขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็ก ๆ แต่ละช่วงวัยด้วยเช่นกันค่ะ

 

รูปแบบที่ 1 : การใช้ Flash cards แบบสับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว 

ในรูปแบบนี้ มีการศึกษาและงานวิจัยออกมามากมายเกี่ยวกับการที่เด็ก ๆ คอยมองสิ่งที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีผลกระทบต่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เช่นเดียวกันกับกิจกรรมที่ฝึกกับ flash cards แบบสับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ก็อาจจะเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นการทำงานของสมองมากเกินไป ทำให้การเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ได้เป็นระบบเท่าที่ควรซึ่งเกี่ยวเนื่องไปกับสมาธิ การจดจ่อของเด็ก ๆ เบื้องต้นค่ะ

แล้วรูปแบบนี้เหมาะกับใครบ้าง : การสับเปลี่ยนแบบรวดเร็วสามารถทำได้ หากเด็กมีพื้นฐานการมองรูป การจำคำศัพท์ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่แข็งแรงมากพอ หรือเป็นการเพิ่มความท้าทายสำหรับเด็ก ๆ มากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัย แต่ละคนไม่เหมือนกัน การที่กระตุ้นสิ่งที่รวดเร็วมากเกินไปอาจจะส่งผลในเรื่องการจดจ่อ การจำของน้องเช่นกันค่ะ รูปแบบนี้จึงคล้ายกับบอร์ดเกมที่เน้นความเร็วในการตอบ มากกว่าการวิเคราะห์ที่มาที่ไปของข้อมูลที่ได้รับ

 

รูปแบบที่ 2 : การใช้ Flash cards แบบการจับคู่

รูปแบบนี้จะเป็นอีกวิธีในการใช้ Flash cards หรือบัตรคำให้เกิดการเรียนรู้หลาย ๆ อย่าง เสริมสร้างทักษะการจดจำ การเรียงลำดับข้อมูล การจับคู่ข้อมูลต่าง ๆ จากประสบการณ์ของเด็ก ๆ ตัวอย่างเช่น การใช้บัตรคำตัวเลข จับคู่กับจำนวนผลไม้ สัตว์ต่าง ๆ เด็กจะได้เสริมการเรียนรู้เรื่องการคำนวณ หรืออาจจะเป็นการเติมเต็มข้อมูล การหาสิ่งที่หายไปเพื่อเติมเต็ม ซึ่งในรูปแบบนี้ก็จะเน้นในเรื่องการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับของเด็ก ๆ ได้มากขึ้น รวมไปถึงเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวได้อีกด้วย

 

รูปแบบที่ 3 : การใช้ Flash cards แบบการเล่าเรื่อง 

รูปแบบนี้จะคล้ายกับการเล่านิทานภาพ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ จากรูปภาพ หรือบัตรคำที่กำหนดให้ หากเป็นในช่วงวัย 3 - 6 ขวบ จะใช้เป็น Flash card ที่เป็นรูปภาพที่ชัดเจน เห็นได้ในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะเป็นตัวเลขต่าง ๆ เพื่อเสริมในการสื่อสารกลับไปกลับมาระหว่างเด็กและผู้ปกครอง และหากเป็นช่วงวัย 7 - 12 ปี อาจจะเพิ่มความซับซ้อนของบัตรคำมากขึ้น เพื่อฝึกในเรื่องการเชื่อมโยงเรื่องราว ความคิดเป็นเหตุเป็นผลได้เช่นกันค่ะ 

 

เพิ่มเพื่อน

 

แล้ว Flash cards ดีจริงหรือ?!

 

สำหรับข้อสงสัยดังกล่าว ไม่ได้มีคำตอบที่แน่นอน เพราะ Flash cards มีหลากหลายรูปแบบขึ้นกับวิธีใช้ของแต่ละคน ในแต่ละรูปแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ซึ่งผลลัพธ์ของการฝึกฝนจะแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น หากเด็กที่ยังพื้นฐานการมองรูป การวิเคราะห์รูปภาพหรือจำนวนต่าง ๆ ยังไม่แข็งแรงมากพอ แล้วเราเริ่มใช้รูปแบบการสับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วทันที ก็อาจจะเป็นข้อมูลที่มากเกินไปสำหรับเด็ก ส่งผลให้เด็กไม่สามารถจำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวได้เช่นกัน หรือหากเด็กที่ช่วงวัยรุ่นที่อาจจะต้องการความสนุกสนาน ความท้าทายที่ต้องใช้การวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เยอะ ๆ ก็อาจจะเหมาะกับรูปแบบที่ต้องใช้การเล่าเรื่อง การวิเคราะห์เรื่องจากภาพ หรืออาจจะต้องการบัตรคำที่สับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วก็ได้เหมือนกัน

ดังนั้น การใช้ Flash cards อย่างถูกวิธีและเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน จึงเป็น keyword สำคัญที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของน้องแต่ละช่วงวัย และหากใช้อย่างเหมาะสมก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมสร้างความจำ การจดจ่อ และการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลสำหรับเด็ก ๆ ได้ดีมากขึ้นเลยค่ะ

 

เพราะอะไร Flash cards จึงเป็นที่นิยม

การคิดค้นเทคนิคนี้ขึ้นมา เป็นตัวช่วยเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้อีกรูปแบบหนึ่งและเป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ผ่านรูปภาพต่าง ๆ หรือตัวเลข ตัวอักษรต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น และเป็นการพัฒนาสมองได้อย่างถูกวิธีเช่นกันค่ะ

 

การฝึกสมองอย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือจาก Flash cards 

https://www.brainfit.co.th/th/พัฒนาสมาธิปัจจุบัน มีวิธีการฝึกสมองให้มีประสิทธิภาพอย่างมากมายนอกเหนือจากการฝึกแบบ flash cards การฝึกสมองแบบ Whole Brain Training ได้ถูกคิดค้นเพื่อให้การเรียนรู้ครอบคลุมสมองทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาการที่เชื่อมโยงกับพัฒนาการทางร่างกายด้วย เป็นวิธีการฝึกที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาซึ่งทักษะการพูด ภาษา ความจำ การประมวลผล และการคิดวิเคราะห์ หากผู้ปกครองรู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมให้ลูก ๆ ฝึกสมองให้ครบทุกด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และฝึกอย่างถูกวิธีกันนะคะ  เพิ่มเติม

 

 

ที่ BrainFit เรา  พัฒนาศักยภาพสมอง การเรียนรู้ และความจำ  ของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงขึ้น เพื่อให้เด็ก ๆ มีทักษะพื้นฐานที่แข็งแรงและพร้อมเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในวันข้างหน้า! 

 

 

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

LINE: @brainfit_th