Multitasking ดีต่อการเรียนรู้ของเด็กจริงหรือ?

 

 

Multitasking ดีต่อการเรียนรู้ของเด็กจริงหรือ?

 

 

Multitasking ดีต่อการเรียนรู้ของเด็กจริงหรือ? หลายท่านคงเคยได้ยินมาว่า การทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน จะส่งผลดีต่อการทำงาน เพราะสามารถทำหลายสิ่งหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน แต่ในทางมุมมองของการเรียนรู้แล้วนั้น คำว่า multitasking สามารถส่งผลเสียต่อพัฒนาการสมองและความสามารถทางการเรียนรู้ได้ 

 

เด็ก ๆ ที่เติบโตมาในโลกยุคดิจิตอลนี้ โตมากับการต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ในระหว่างการดูทีวี ก็เล่นเกมไปด้วย แถมบางคนยังทำการบ้านไปอีกในเวลาเดียวกัน เราอาจจะมองว่า มันก็เป็นเรื่องปกติทั่วไปที่จะเห็นเด็ก ๆ ทำแบบนี้บ่อย ๆ แต่ผู้ปกครองจะรู้ไหมว่า การทำแบบนี้บ่อย ๆ จะส่งผลเสียต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้ 

จากการงานวิจัยพบว่าการ Multitask ในสมองมนุษย์นั้น จริง ๆ แล้ว สมองจะต้องทำงานสลับข้อมูลไปมา กลับไปกลับมา อาจจะเร็วมากในระดับ 0.วินาที เช่น ในขณะที่เราเขียนอีเมล ก็คุยโทรศัพท์ไปด้วย ตามงานวิจัยชี้ว่า การทำงานที่สลับไปมาไม่กี่ครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่าผู้ใหญ่ที่ทำอะไรหลาย ๆ อย่าง มีผลทดสอบพบว่า ระดับ IQ เฉลี่ยลดลงด้วย เทียบเท่ากับค่าเฉลี่ยเด็กอายุ 8 ขวบเลยทีเดียว เนื่องจากสมองประมวลผล และดึงข้อมูลมาใช้จนสับสน ทำให้ประสิทธิภาพในการการประมวลผลช้าลง

 

แล้วการทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ส่งผลเสียต่อ การเรียนรู้ของเด็ก อย่างไรบ้าง 

 

  • มีโอกาสเป็นผู้เรียนรู้ช้า เพราะว่าสมองสั่งการให้ต้องทำงานหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน โอกาสในการรับรู้ข้อมูลทั้งหมดจึงอาจหลงลืม และทำได้ช้า 
  • ทักษะความจำสั้น เด็ก ๆ อาจจะไม่สามารถจดจำข้อมูลหรือเรียกนำข้อมูลกลับมาใช้ เพราะต้องแยกสมาธิในการจดจ่อ 
  • โอกาสในการทำงานให้เสร็จมีน้อยลง ในขณะที่คนอื่น ๆ คิดว่าการทำอะไรหลายอย่างพร้อม ๆ กัน จะทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ เสร็จเร็วขึ้น แต่นักวิทยาศาตร์กล่าวว่า กลับทำให้ประสิทธิภาพของงานที่ได้ลดลง และมีโอกาสทำให้คนคนนั้นมีสมาธิและการจดจ่อน้อยลง เนื่องจากจะต้องสลับการทำงานของสมองสลับไปมา 
  • เหนื่อยล้าง่าย เช่นเดียวกับการออกกำลังกายและทำหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน จะทำให้สมองเหนื่อยล้าง่ายเร็วกว่าคนทั่วไป และยังทำให้เกิดความรู้สึกเครียดอีกด้วย 
  • ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง เพราะสมองจะต้องถูกแบ่งการทำงานออกเป็นส่วน ๆ ทำให้การรับรู้ข้อมูลขาดความรอบคอบ และละเอียดถี่ถ้วน .

 

นักวิจัยกล่าวว่า การทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันจะส่งผลเสียต่อสมองอย่างมาก และยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กที่โรงเรียนด้วย (Poldrack 2006) จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่ทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน จะเรียนรู้ได้ช้ากว่าผู้ที่ตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เนื่องจากสมองได้ทำการจดจ่อเต็มที่ สามารถโฟกัสกับสิ่งที่ทำได้ดี เนื่องจากไม่มีสิ่งอื่นมารบกวนหรือทำให้ต้องวอกแวกหรือเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่ายกว่าการทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนั้นแล้ว การทำหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ยังส่งผลกระทบต่อทักษะทางด้านความจำในระยะยาวได้อีกด้วย ซึ่งนี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเรียน ไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ไม่เพียงพอที่โรงเรียน

ในบางครั้งเราอาจปฏิเสธได้ยากว่า การทำอะไรได้หลายอย่างในเวลาเดียวจะส่งผลดีต่อการทำงานของเรา แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อควรพึงระวังถึงผลเสียที่จะได้รับตามมาภายหลัง ซึ่งผู้ปกครองควรตระหนักและให้การดูแลเด็ก ๆ ให้เรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงการทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อฝึกให้เด็กได้จดจ่อและมีสมาธิกับสิ่ง ๆ หนึ่งอย่างเต็มที่ 

 

สำหรับเด็กที่มี อาการสมาธิสั้น ADHD ผู้ปกครองควรส่งเสริมด้วยการจัดหาโต๊ะทำการบ้านหรือพิ้นที่โล่ง ๆ ที่ไม่มีสิ่งของหรืออุปกรณ์ใดที่ไม่จำเป็นอยู่ในบริเวณนั้น ควรฝึกให้เด็กวางสิ่งของที่จำเป็นที่จะต้องใช้สำหรับการทำงานหรือการบ้านนั้น ๆ เพราะการจำกัดสิ่งของให้เด็กเห็น จะช่วยลดโอกาสให้เด็กวอกแวกน้อยลง 

นอกจากนั้นแล้ว ผู้ปกครองควรจัดสรรเวลาและตารางในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้กับเด็ก ๆ เพื่อให้งานนั้น ๆ เสร็จในช่วงเวลาที่กำหนด นอกจากจะเป็นการช่วยให้เด็ก ๆ ได้โฟกัสและจดจ่ออยู่กับสิ่ง ๆ นั้นแล้ว ยังช่วยฝึกให้เด็กรู้จักการบริหารเวลาอีกด้วย และยังสามารถช่วยให้งานนั้น ๆ เสร็จภายในเวลาที่กำหนด เป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็ก ๆ วอกแวกน้อยลงหรือสนใจสิ่งอื่น ๆ น้อยลง ทำให้งานเสร็จทันเวลาที่กำหนด

 

ยังมีวิธีอีกมากมายที่สามารถช่วยให้เด็ก ๆ หลีกเลี่ยงการทำงานหลายสิ่งหลายอย่างในเวลาเดียวกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ของพวกเขา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ และทำความเข้าใจถึงความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนให้มากที่สุด เพราะเด็ก ๆ แต่ละคนจะมีประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน หากผู้ปกครองลองสังเกตและให้คำแนะนำที่ดี ก็จะสามารถช่วยให้การเรียนรู้และการมีสมาธิจดจ่อของเด็ก ๆ ดีขึ้นตามไปด้วย 

 

ที่ BrainFit เรามีคอร์สพัฒนาสมาธิเด็กสำหรับเด็ก 3-18 ปี ฝึกเพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิและจดจ่อกับการทำกิจกรรมและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก...

 

 

 

🧠 พัฒนาทักษะ ช่วงปิดเทอม เดือน ตุลาคม 2566 นี้ 🌻

 

------------------

ติดต่อขอทดลองเรียน ฟรี!

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  02-656-9938

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

LINE: @brainfit_th