โรงเรียนเปิด 10 สิ่ง ที่นักเรียนควรมี

 

 

โรงเรียนเปิด

10 สิ่ง ที่นักเรียนควรมีเมื่อ กลับเข้าสู่โรงเรียน

 

เพิ่มเพื่อน

 

โรงเรียนเปิด แล้ว!

หลังจากที่เด็ก ๆ ต้องหยุดเก็บตัวอยู่บ้านนาน ๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่าโรงเรียนหลายแห่งก็คงทะยอยเริ่มเปิดเรียนกันแล้ว เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้นักเรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้และพร้อมในการกลับสู่ห้องเรียน เตรียมรับเนื้อหาอย่างเต็มที่

 

เรามาเช็คกันว่า เด็ก ๆ มี 10 สิ่งนี้พร้อมกลับเข้าสู่โรงเรียนหรือยัง

 

1. ทักษะสมองขั้นสูง EF และการจัดการตนเอง (Executive Function & Self Regulations)

ทำไมต้องมี เพราะตามงานวิจัยได้มีการศึกษาไว้ว่า การที่นักเรียนมีทักษะการบริหารจัดการตนเองขั้นสูง จะช่วยให้นักเรียนสามารถจัดการกับความคิด ความรู้สึกและการกระทำได้ดี ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่ทุกคนต้องใช้ และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต 

ซึ่งทักษะ EF สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากนักเรียนขาดการพัฒนาทักษะส่วนนี้ อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการยับยั้งชั่งใจ การปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่ การคิดแบบยืดหยุ่น การควบคุมอารมณ์ การวางแผนและการจัดการตนเอง เป็นต้น

 

2. ทักษะทางสังคม (Social Skills) 

การที่เราต้องมีทักษะทางสังคม ก็เพื่อใช้ในการสื่อสารกับเพื่อน และผู้คนรอบข้าง โดยสามารถเริ่มจากการให้เด็กรับรู้ความรู้สึกของตนเอง การพัฒนาความเชื่อใจ เช่น การสร้างสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นให้เด็ก ส่งเสริมความเป็นผู้นำในเด็ก ฝึกการเรียนรู้จากการแยกจากพ่อแม่เมื่อต้องกลับเข้าสู่โรงเรียน เรียนรู้การเล่นกับผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน แสดงความคิดเห็นและแสดงความต้องการของตนเองได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้ความผิดพลาด และเคารพบุคคลรอบข้าง เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน ๆ และคุณครูที่โรงเรียน 

 

3. ทักษะทางด้านภาษา (Language skills)

เพราะการเรียนรู้ภาษาเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดไปสู่การอ่านและเขียน คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตพัฒนาการด้านการฟัง การพูดของเด็ก ๆ ว่าเป็นอย่างไร ลูกมีพัฒนาการล่าช้า หรืออ่อนกว่าวัยหรือไม่ เช่น ลูกสามารถเล่าเรื่องได้ หรือพูดประโยคยาว ๆ หรือ  ออกเสียงได้ชัดตามวัยหรือไม่ ซึ่งหากพัฒนาการด้านการฟังหรือพูดช้า อาจส่งผลให้การสื่อสารและการเรียนรู้ด้านการอ่าน เขียนช้าตามไปด้วย (ฝึกภาษาอังกฤษ)

 

4. ทักษะการปฏิบัติตามคำสั่ง (Following Directions)

เพราะเมื่อเด็ก ๆ ไปโรงเรียน ทักษะนี้จำเป็นสำหรับใช้ในห้องเรียน ใช้ในการฟังคำสั่งของคุณครู เด็กสามารถทำตามคำสั่งได้ดีมากน้อยเพียงใด หรือคุณครูต้องคอยย้ำคำสั่งหลายครั้ง ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียน และนำไปสู่ความไม่เข้าใจได้

 

5. สมาธิและการจดจ่อ (Attention skills)

การมีสมาธิจดจ่อต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก คุณผู้ปกครองลองสังเกตให้ดี ๆ ว่าลูก ๆ มีความสามารถในการจดจ่อต่อการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมายได้นานเพียงใด โดยที่ไม่ลุกเดินออกไปที่อื่น หรือมีการแสดงอาการวอกแวกได้ง่ายหรือไม่ เพราะการมีสมาธิ และการจดจ่อที่ดีจะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถจดจำ และเรียนรู้บทเรียนได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง (พัฒนาสมาธิ)

 

6. ทักษะความจำ (Memory skills)

เพราะการมีความจำที่ดี จะช่วยให้เด็ก ๆ สามารถรับรู้ข้อมูล และเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการเรียนได้ แล้วสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ โดยสามารถฝึกให้เด็กรู้จักการจับประเด็น เข้าใจเนื้อหาได้อย่างตรงจุด เช่น วันนี้ลูกไปโรงเรียน เรียนวิชาอะไรเป็นวิชาแรก ครูสอนอะไร ให้ถามเป็นรายวิชา ในที่สุดเด็กก็จะเริ่มสรุปจับประเด็น และเป็นการฝึกฝนเรื่องความจำ เพิ่มพลังความจำได้  นอกจากนี้ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็มีผลในเรื่องการพัฒนาความจำ อาทิ ปลา ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย และสมองสูง โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ที่อยู่ในเนื้อปลา เพราะโอเมก้า 3 มีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

 

7. ทักษะการจัดเรียงลำดับข้อมูล (Sequencing skills)

คือความสามารถในการจัดเรียง ลำดับข้อมูล ความคิด เหตุการณ์ ไอเดีย สิ่งต่าง ๆ ได้ตามลำดับ ซึ่งหากทักษะนี้แข็งแรง จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียงลำดับความคิด และจัดการสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเป็นระบบตามลำดับก่อนหลัง ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการเรียบเรียงข้อมูลในขณะที่ฟังคำสั่งของคุณครูในห้องเรียนได้ดี หรือแม้แต่ในเรื่องของการอ่าน ก็ช่วยให้สามารถจัดการลำดับ และบันทึกข้อมูลขณะที่อ่านได้ดี นำไปสู่การอ่านอย่างเข้าใจ สามารถเขียน แถมยังสามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากการอ่านได้ เช่น เรื่องราวใดเกิดขึ้นก่อน เกิดถัดไป เกิดทีหลัง และสามารถสรุปใจความจากการอ่านหรือเขียนได้เป็นต้น

 

8. ทักษะความสามารถในการอ่าน (Pre-reading skills)

ความสามารถในการอ่าน ไม่ได้มีไว้สำหรับใช้เพียงแค่วิชาภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่มีความจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทุกวิชา แม้กระทั่งวิชาคณิตศาสตร์ ก็จำเป็นต้องใช้ทักษะพื้นฐานในการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ ซึ่งหากทักษะด้านการอ่านของนักเรียนแข็งแรง จะทำให้การศึกษาหรือเข้าใจเนื้อหาบทเรียนนั้น ๆ มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น (พัฒนาการอ่าน)

 

9. ทักษะการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (Physical skills)

ความสามารถในการเคลื่อนไหว และควบคุมร่างกายให้ดีได้นั้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ หากนักเรียนขาดการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายอย่างเหมาะสม อาจส่งผลทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าง่าย ไม่กระฉับกระเฉง ไม่คล่องตัว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้นานเมื่อต้องนั่งเรียน ทำกิจกรรม หรือทำการบ้านเป็นเวลาต่อเนื่อง และอาจส่งผลทำให้ดูเหมือนขาดสมาธิ ดังนั้น การออกกำลังกายที่เหมาะสมนั้น สามารถช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสมองให้ดีขึ้นได้นั่นเอง

 

10.  ทักษะความรู้สึกเชิงจำนวน (Number sense)

การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ให้เข้าใจ ต้องอาศัยทักษะพื้นฐาน เช่น ความหมาย ลักษณะ ความสำคัญ ประเภท และประโยชน์ของความรู้สึกเชิงจำนวน การที่นักเรียนมีความสามารถในการเข้าใจในโครงสร้างต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้สึกเชิงจำนวน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์จะสูงขึ้น ส่งผลให้เด็กมีความมั่นใจในการเรียนมากขึ้น!

 

จาก 10 ข้อนี้ คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตดูนะคะ ว่าเด็ก ๆ มีสิ่งไหนแล้วบ้าง และมีสิ่งไหนที่คุณควรเสริมเพิ่มเติมให้พวกเขา เพื่อจะได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของพวกเขาให้ดียิ่งขึ้นไปอีก หากยังไม่แน่ใจว่าควรเริ่มฝึกจากตรงไหน สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อขอรับคำปรึกษาได้ฟรีที่สถาบัน เพราะที่สถาบัน

 

BrainFit เรา มีโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานสมองครอบคลุมทั้ง 5 ด้านที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ผ่านการวิจัย และพัฒนามาอย่างดีเพื่อเด็ก ๆ โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับเด็กวัย 3-18 ปี

 

 

พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก 3-18 ปี คลิกเลย!

 

 

ติดต่อขอรับสิทธิ์ ทดลองเรียนฟรี ได้แล้ววันนี้

LINE Official: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

026569915 / 026569938 / 026569939 

 

ที่มา: learnfasthq

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4