เทคนิคและกิจกรรมฝึกเด็กให้เป็น ผู้ฟังที่ดี 

 

เทคนิคและกิจกรรมฝึกเด็กให้เป็น ผู้ฟังที่ดี 

 

การฟังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้... 

การมีความสามารถทางการฟังที่ดีของนักเรียนนั้น ส่งผลสำคัญต่อการสร้างทักษะการสื่อสารที่จำเป็นทั้งในและนอกห้องเรียน

 

เพิ่มเพื่อน

 

การมีทักษะการฟังอย่างตั้งใจนี้ เกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะ Soft Skills ด้วย ซึ่งเป็นทักษะที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับคน เป็นกลุ่มทักษะที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคม และอารมณ์เป็นหลัก เช่นเดียวกันกับทักษะการแก้ปัญหา ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม ซึ่งเกิดได้ก็ต่อเมื่อเราผ่านการฝึกฝนและลงมือทำ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก

 

แล้วการฟังอย่างตั้งใจคืออะไร 

การฟังอย่างตั้งใจ หมายถึง การให้ความสนใจอย่างเต็มที่กับผู้พูด และพยายามทำความเข้าใจกับข้อความที่ถูกส่งออกมาทั้งหมด การเป็นผู้ฟังที่ดีจะสามารถแสดงออกทางด้านภาษาพูดและภาษากายได้เป็นอย่างดี 

 

ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนเชิงบวก การจดจำ และการตั้งคำถาม ล้วนแล้วแต่แสดงออกให้เห็นถึงการสื่อสารทางการพูดที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการฟังอย่างตั้งใจนั่นเอง 

 

ส่วนการแสดงออกทางด้านภาษากายที่ดีขณะฟังนั้น เช่น การยิ้ม การพยักหน้า การแสดงออกด้วยท่าทาง และการไม่แสดงอาการวอกแวก

 

นอกจากนั้นแล้ว การเป็นผู้ฟังที่ดี ยังสามารถแสดงปฎิสัมพันธ์ การสนทนา ในเชิงบวกได้ด้วย เช่น สามารถตอบกลับคู่สนทนาในการแสดงความคิดเห็น ให้สอดคล้องกับแนวบทสนทนา โดยสื่อสารกลับผ่านการใช้คำพูดของตนเองได้ 



 

แล้วการฟังอย่างตั้งใจสำคัญอย่างไร 

การมีทักษะการฟังอย่างตั้งใจนั้นส่งผลดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความเข้าใจบทเรียนในห้องเรียน การเป็นผู้ฟังที่ดี ยังช่วยให้มีแนวโน้มที่จะเป็นนักสื่อสารที่ดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ อีกด้วย

 

การเป็นผู้ฟังที่ดียังส่งผลดีต่อบุคลิกภาพ ความมุ่งมั่น อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญของการแสดงความเป็นผู้นำด้วย 

 

 ข้อดีของการฟังอย่างตั้งใจ 

  • ลดปัญหาความเข้าใจผิดในการสื่อสาร
  • เพิ่มอัตราความเร็วในการทำงาน
  • พัฒนาความคิดและปัญญาที่ดีขึ้น
  • สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น
  • ประสิทธิภาพการทำงานและเรียนดีขึ้น

 

เปรียบเทียบระหว่าง การฟังอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจ 

แล้วจะเกิดอะไรขึ้น หากเราเป็นผู้ฟังที่ไม่ตั้งใจ การฟังแบบไม่ตั้งใจเป็นเพียงการได้ยินสิ่งที่ผู้พูดพูดเท่านั้น โดยไม่พยายามที่จะเข้าใจจริง ๆ และเมื่อนักเรียนกลายเป็นผู้ฟังที่ไม่ตั้งใจ พวกเขาจะไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เลย เพราะพวกเขาจะเสียสมาธิได้ง่ายขณะฟัง

 

ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้น ผู้ฟังจะเข้าใจจุดที่ผู้พูดพยายามสื่อสาร ไม่ใช่แค่ได้ยินคำที่เขาหรือเธอพูดเท่านั้น

 

เพราะฉะนั้น การเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นทักษะที่สำคัญที่นักเรียนต้องพัฒนาและฝึกฝนอย่างแข็งขัน!!!

 

 

แล้วคุณผู้ปกครอง สามารถช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นผู้ฟังที่ดีได้อย่างไร?

 

 

มาดู 5 วิธีในการฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีกันค่ะ!!!

 

ผู้ปกครองหรือคุณครูสามารถช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นผู้ฟังที่ดีได้ โดยอันดับแรก ต้องเริ่มฝึกจากตัวเรา ให้รู้จักเป็นผู้ฟังที่ดีก่อน ซึ่งการสร้างต้นแบบที่ดีให้เด็ก ๆ ทำตามนั้น เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้พวกเขาเห็นว่า สิ่งนี้สำคัญและมีคุณค่าควรปฎิบัติตาม และสามารถพัฒนาตนเองจนกลายไปเป็นนิสัยและความเคยชินในการเป็นผู้ฟังที่ดีได้  

 

ผู้ปกครองและนักเรียน สามารถพัฒนาทักษะ 5 วิธีในการฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีได้...

 

 1. สบตาคู่สนทนาอย่างต่อเนื่อง 

การสบตาคู่สนทนาอย่างต่อเนื่องระหว่างการสื่อสาร แสดงออกถึง ความน่าเชื่อถือ ความอบอุ่น การเข้าสังคม ความจริงใจ ความมั่นใจ และความสนใจต่อผู้พูด การสบตายังช่วยให้ผู้ฟังสามารถโฟกัสและพัฒนาสมาธิไม่วอกแวก และเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดพยายามสื่อสารอีกด้วย

 

 2. ไม่ขัดจังหวะผู้สนทนา 

         ควรให้ผู้พูด พูดให้จบเสียก่อนโดยไม่ขัดจังหวะ ไม่รีบช่วยพูดเพื่อให้จบประโยค หรือรีบแสดงความคิดเห็น หรือตอบกลับเร็วจนเกินไป พยายามหลีกเลี่ยงการเดาหรือคาดการคำพูดของคู่สนทนาเพื่อพูดแทรกให้รีบจบประโยค ซึ่งจะทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อนและนำไปสู่การฟังที่ไม่มีประสิทธิภาพได้ 

 

 3. ตั้งคำถาม 

การตั้งคำถาม เป็นการแสดงออกอีกหนึ่งวิธีที่แสดงถึงการฟังอย่างตั้งใจ เป็นการตรวจสอบ ให้แน่ใจด้วยว่าคุณได้ยินถูกต้อง โดยการตั้งคำถามเฉพาะเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้พูดกำลังพูด สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดความชัดเจน มั่นใจในความเข้าใจ และแสดงให้เห็นว่าคุณกำลังฟังอยู่

 

คำถาม 4 ประเภทที่ควรลองใช้ 

 

คำถามประเภทปลายเปิด เพื่อเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น

เช่น วันนี้ อยู่ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง 

 

คำถามประเภทปลายปิด ถามเพื่อต้องการคำตอบที่ชัดเจน 

เช่น วันนี้หนูทำการบ้านเสร็จหรือยัง 

 

คำถามประเภทเชิงนำทาง ถามเพื่อต้องการตอบสนองแบบเฉพาะสิ่ง 

เช่น วันนี้มีการบ้านให้ทำเยอะมากไหม

 

คำถามประเภทไตร่ตรอง ถามเพื่อให้ไตร่ตรองและขยายความคิดเห็น 

เช่น หนูบอกว่า หนูชอบเรียนวิชาศิลปะที่โรงเรียนมากที่สุด ช่วยบอกหน่อยสิ ว่าทำไมถึงชอบ

 

 4. ตั้งคำถามกลับ 

การตั้งคำถามกลับไปยังผู้พูด โดยการใช้คำพูดตามที่ตนเองเข้าใจ ควรถามโดยการสรุปประเด็นหรือสาระสำคัญของบทสนทนา วิธีนี้จะยิ่งช่วยเปิดโอกาสให้ผู้พูดสามารถช่วยแก้ไขหรือยืนยันตอบรับในสิ่งที่เราเข้าใจว่าถูกต้องหรือไม่

 

 5. ฟังและจับใจความทั้งหมด 

การสื่อสารข้อความใด ๆ มักมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 อย่างคือ 1. เนื้อหาของข้อความ หรือความหมาย และ 2. ความรู้สึกหรือทัศนคติพื้นฐานในการสื่อความหมาย ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการช่วยสื่อความหมายของการสื่อสาร การเป็นผู้ฟังที่ดีและตั้งใจนั้น จะต้องฟังทั้งสองสิ่งคือเนื้อความ รวมถึงฟังถึงความรู้สึกของผู้พูดด้วย ซึ่งในบางครั้งการรับรู้ข้อความที่แท้จริง อาจมาจากการพยายามสื่อผ่านทางอารมณ์มากกว่าข้อความที่พูดออกมา 

 

หากคุณผู้ปกครองและเด็ก ๆ ลองฝึกวิธีข้างต้น ก็จะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีขึ้นได้

 

 

กิจกรรมที่จะช่วยสำหรับการฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี 

การแสดงออกของผู้ปกครองที่ต้องสร้างต้นแบบที่ดีให้เด็ก ๆ เห็นก่อนนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำอันดับแรก นอกจากนั้น การฝึกฝนบ่อย ๆ ก็สำคัญเช่นกัน 

 

มาดูกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะการฟังของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงกัน!!!

 

 อ่านนิทานหรือหนังสือให้เด็กฟัง  ลองถามเด็ก ๆ ดูว่า จะเกิดอะไรต่อจากนี้ การฝึกให้เด็ก ๆ ได้ลองคิดคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น จะเป็นการฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักฝึกการเก็บรายละเอียดการฟังได้อย่างครอบคลุม 

 

 ทำอาหารกับเด็ก ๆ  ผู้ปกครองสามารถอ่านสูตรการทำเมนูอาหาร ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ฟัง และเปิดโอกาสให้พวกเขาฟังและปฎิบัติตามสูตรได้ตามทีละขั้นตอนอย่างถูกต้อง

 

 สนทนาในเรื่องที่เด็ก ๆ สนใจ  การที่ผู้ปกครองได้ลองหาเรื่องพูดคุยในสิ่งที่เด็ก ๆ รู้สึกสนใจ จะเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาได้รู้สึกว่า มีส่วนร่วมในบทสนทนาจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการฟังและการพูด 

 

 เล่นเกมโทรศัพท์หากัน  เกมนี้สามารถเล่นเป็นกลุ่มได้ โดยให้หนึ่งคนพูดกระซิบหนึ่งประโยคให้กับอีกคนฟัง จากนั้นแต่ละคนจะต้องจำให้ได้ และส่งต่อประโยคที่ได้ยินไปยังคนต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงคนสุดท้าย และให้คนสุดท้ายพูดประโยคให้ทุกคนได้ยิน และลองเปรียบเทียบดูว่า ประโยคที่ได้ยินนั้นแตกต่างจากประโยคครั้งแรกอย่างไร 

 

 สร้างรายการคำถาม  ลองตั้งคำถามกับเด็กแต่ละคน จากนั้นให้เด็กตอบ และคนอื่น ๆ จะต้องตั้งใจฟังคำตอบด้วย และลองถามกลับอีกว่า พวกเขาสามารถจดจำคำตอบเหล่านั้นได้หรือไม่ คำตอบคืออะไร และลองสลับบทบาทผู้ถามและผู้ตอบสลับกันบ้าง เพื่อเป็นการฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี

 

 เล่นเกมจับผิด  ผู้ปกครองลองหานิทานหรือเรื่องเล่าให้เด็ก ๆ ฟัง เล่าให้ฟังครั้งแรก จากนั้นเล่าเรื่องเดิมให้ฟังซ้ำอีกครั้ง แต่ครั้งที่สอง ลองเปลี่ยนแปลงบางอย่างในเนื้อเรื่องให้แตกต่าง ทุกครั้งที่เด็ก ๆ ได้ยิน ความแตกต่างจากเดิม ลองให้เด็ก ๆ ยกมือขึ้นหรือปรบมือขึ้นทุกครั้งทันทีที่ได้ยิน

 

 สร้างศิลปะจากการฟัง  ลองหากระดาษหรือรูปภาพเปล่าให้เด็ก ๆ  จากนั้นฝึกให้เด็กเล่นเกมวาดตามคำสั่ง ให้เด็ก ๆ ฝึกฟังและถ่ายทอดคำสั่งที่ได้ยินผ่านการวาดรูปหรือขีดเขียนตามคำสั่งหรือลากเส้นไปตามทิศทางที่ได้ยิน  

 

การฝึกทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้น ต้องใช้สมาธิและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เราหวังว่า การฝึกฝนเทคนิคการฟังดังกล่าว จะช่วยให้นักเรียน สามารถสร้างทักษะการฟังให้แข็งแรงและกลายเป็นผู้สื่อสารที่ดีขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกันได้นะคะ 

 

 

โปรแกรม Fast ForWord หรือโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการฟังและการอ่าน เป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนา สมาธิ ความจำ การเรียนลำดับก่อนหลัง การอ่าน และการฟังของเด็ก ๆ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคลิก!

 

ฝึกภาษาอังกฤษ พร้อมฝึกสมอง เห็นผลเร็ว

 

-----------------------------------------

BrainFit รับสมัครน้องๆ อายุตั้งแต่ 3-18  ปี

รับคำปรึกษาจากเรา ได้แล้ววันนี้ ฟรี!!

ที่ 02-656-9938 / 02-656-9915 / 091-774-3769

LINE@brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4