Time and Place เสริมสร้าง ทักษะการเข้าสังคม
ทักษะการเข้าสังคม
คือ ความสามารถในการปรับตัว การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การรับมืออารมณ์ของตัวเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
และรวมไปถึงการพูดคุยสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
เด็กเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมจากประสบการณ์ การลองทำ และ การตั้งคำถาม แต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการทางสังคมและสติปัญญาแตกต่างกัน
พัฒนาการทางสังคมของเด็กแต่ละช่วงวัยอ้างอิงจากทฤษฎีจิตสังคม ของ Eric Erickson แบ่งออกเป็น 8 ด้าน ดังนี้
1. Trust vs Mistrust
ความไว้วางใจ และ ไม่ไว้วางใจ ซึ่งเป็นระยะเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุประมาณ 18 เดือน เพราะเด็ก ๆ ทารกเพิ่งลืมตามองโลก อาจจะมีความกังวลเกิดขึ้น หากมีการดูแลจากผู้ปกครองที่มั่นคงและต่อเนื่อง จะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาความไว้วางใจและความรู้สึกปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ ได้มากขึ้น
2. Autonomy vs Shame & Doubt
ระยะ 18 เดือนถึงประมาณ 3 ปี เป็นระยะที่ทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กจะพัฒนามากขึ้น เด็กจะให้ความสนใจกับสิ่งรอบข้างมากขึ้น ต้องการอิสระในการตัดสินใจมากขึ้น เช่น การตัดสินใจเลือกเสื้อผ้า การเลือกทานอาหาร หรือการเดินหนีพ่อแม่ เมื่อไม่พอใจ เป็นต้น
3. Initiative vs Guilt
ระยะที่เด็กแสดงตัวตนมากขึ้น มีการพัฒนาชีวิตที่รวดเร็ว มีการสื่อสารมากขึ้น อาจจะเรียกได้ว่า เด็กวัยกำลังดื้อและซน ซึ่งหากมีการพัฒนาอย่างถูกต้อง จะช่วยเสริมสร้างทักษะทางด้านสังคมที่ดีให้กับเด็ก ๆ ได้ อย่างเช่น ความคิดริเริ่มความกล้าตัดสินใจ และการมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
4. Industry vs Inferiority
ระยะประมาณ 5 - 12 ปี ที่เด็กเริ่มเรียนรู้เรื่องการอ่าน เขียน การคำนวณคณิตศาสตร์พื้นฐาน การเจอสังคมโรงเรียนมากขึ้น ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองเพิ่มมากขึ้น และเป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมในด้านความภูมิใจสำหรับเด็ก ๆ เด็กต้องการการยอมรับจากสังคม และการสนับสนุนจากคนใกล้ชิดเพื่อเพิ่มความมั่นใจของตัวเองมากขึ้น
5. Identity vs Role Confusion
ช่วงอายุ 12 - 18 ปี เด็กในระยะนี้จะเริ่มหาอัตลักษณ์ของตัวเองผ่านเป้าหมายและประสบการณ์ที่ได้เจอมากขึ้น เช่น ด้านการเรียนต่อ โตไปจะเลือกเป็นแบบไหน มีอิสระในการค้นหาตัวเองมากขึ้น และต้องการค้นหาสังคมที่เหมาะกับตัวเองได้มากที่สุด
6. Intimacy vs Isolation
ช่วงอายุ 18 - 40 ปี ที่จะเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การค้นหาความรักที่ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ความรักจากพ่อแม่ การค้นหาความสัมพันธ์ที่มั่นคงและระยะยาว ซึ่งระยะนี้จะเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ความใส่ใจในความสัมพันธ์ ความรักที่มีต่อตัวเองส่งผลให้รักคนรอบข้างได้อย่างมั่นคง
7. Generativity vs Stagnation
ช่วงอายุ 40 - 65 ปี ที่มีทั้งความสำเร็จ และ การยึดติดแต่ตัวเอง เกิดขึ้นในช่วงวัยผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเห็นชัดจากคุณย่า หรือคุณตาคุณยายที่มักจะเล่าเรื่องราวในอดีตของตัวเอง หรือยุคอาบน้ำร้อนมากก่อน
8. Integrity vs Despair
ช่วง 65 ปี จนถึงบั้นปลายของชีวิต ที่มีทั้งความมั่นคงทางใจและการเตรียมพร้อมรับความสิ้นหวังที่สมดุลกัน หรือหลายคนอาจจะเรียกว่าระยะการปลงของชีวิต
ทฤษฎีจิตสังคมของ Eric Erickson ได้เสนอรูปแบบทักษะการเข้าสังคมตั้งแต่ช่วงเด็กทารกจนถึงบั้นปลายของชีวิต ซึ่งทักษะการเข้าสังคมพัฒนาได้ตั้งแต่เด็กทารกเลยค่ะ ซึ่งทาง BrainFit ขอนำเสนอเทคนิคอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างทักษะการเข้าสังคมของเด็ก ๆ
ทำความเข้าใจเรื่อง Time and Place เสริมสร้าง ทักษะการเข้าสังคม
Time : เวลาคุณภาพ
อ้างอิงจากทฤษฎีจิตสังคมข้างต้น เด็ก ๆ มีพัฒนาการทางสังคมเริ่มขึ้นตั้งแต่ทารก ตั้งแต่ยังไม่เข้าใจสังคม สังคมหลัก ๆ จึงเป็นผู้ดูแล ผู้ปกครองที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด เมื่อลูกเกิดมาพัฒนาการที่เด่นชัดมากที่สุดคือ การมอง เด็กจะคอยมองหาคนที่ใกล้ชิดในระยะที่ใกล้ที่สุดคือ
8 - 10 นิ้ว การใช้เวลาคุณภาพในช่วงนี้ คอยเล่นกับเด็ก เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ จะช่วยเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีในอนาคตต่อไป หากเวลาที่โตขึ้นมาหน่อยช่วงวัยอนุบาล เด็กที่มีภูมิคุ้มกันและมีเกราะป้องกันตัวเองที่แข็งแรงมากขึ้น เกิดความไว้วางใจและแยกแยะสังคมรอบข้างได้มากยิ่งขึ้น
ในแต่ละช่วงจะใช้เวลาคุณภาพ หรือ Time แตกต่างกันไปตามพัฒนาการทางด้านสังคมของเด็ก ๆ การใช้เวลาคุณภาพไม่ได้ไปใช้แค่กับครอบครัวเท่านั้น ยังใช้กับบุคคลรอบข้าง เพื่อน พี่น้องด้วยเช่นกัน อย่างเช่น เวลาที่เด็กเริ่มเข้าโรงเรียน เด็กบางคนกล้าที่จะเข้าไปทำความรู้จักกับเพื่อน เด็กบางคนคอยสังเกตการณ์ก่อนค่อยเข้าไปหา หรือเด็กบางคนไม่กล้าเข้าไปหาเพื่อนเลย ซึ่งแต่ละรูปแบบเป็นเรื่องตามพัฒนาการ และการส่งเสริมจากครอบครัวตั้งแต่แรกเลยค่ะ ไม่ได้เป็นความผิดปกติแต่อย่างใด เป็นเพียงการใช้ระยะเวลาของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกันเท่านั้น
หากสังเกตว่าลูกไม่เล่นกับเพื่อนเลย เล่นกับเพื่อนแรง ๆ อาจจะต้องคอยสังเกตปัจจัยหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน เช่น ความไว้วางใจ ความรู้สึกผิด รวมไปถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็ก ๆ ควบคู่กันไป หลังจากนั้นใช้เทคนิค Place ต่อไปเพื่อสร้างเสริมทักษะทางด้านสังคมของเด็ก ๆ มากขึ้น
Place : พื้นที่สำรวจ
เทคนิคนี้คือ เทคนิคหาพื้นที่สำรวจของตัวเองก่อนเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมจริง ๆ ของเด็ก ๆ ซึ่งจะอยู่ในช่วงการ explore ของแต่ละช่วงวัย ช่วงวัยทารก พื้นที่จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครอง สร้างความไว้ใจมากขึ้น ช่วงวัยอนุบาล พื้นที่จะอยู่ทั้งจากครอบครัวและจากตัวเด็กเอง เช่น อิสระการตัดสินใจ การเลือกสิ่งที่สนใจ ระยะนี้ เด็กจะเริ่มสร้างพื้นที่สำหรับตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับผู้ปกครองในการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่เด็กได้สร้างไว้ แต่ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะหากสร้างความสัมพันธ์ที่ดีตั้งแต่วัยทารก แน่นอนว่าเด็ก ๆ จะเปิดพื้นที่ต้อนรับผู้ปกครองได้อย่างแน่นอนค่ะ และช่วงวัยประถมจนถึงวัยรุ่น จะเป็นช่วงที่พื้นที่ของเด็ก ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเองหรือครอบครัว มีความสัมพันธ์ต่าง ๆ เข้ามามากมาย มีสังคมที่กว้างมากขึ้น การจัดพื้นที่ หรื Place ของเด็ก ๆ จะเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น Time and Place จึงเป็นเทคนิคสำคัญอีกหนึ่งเทคนิคที่เสริมสร้างในเรื่องทักษะการเข้าสังคมของเด็กในแต่ละช่วงวัย ซึ่งมีผลตั้งแต่ช่วงวัยทารก หรือ เราอาจจะเรียกง่าย ๆ ได้ว่า หากสร้างพื้นฐานของความไว้วางใจที่แข็งแรง รวมไปถึงการใช้เวลาคุณภาพ (Time) และ การสร้างพื้นที่สำรวจ (Place) ให้ตัวเองได้อย่างมั่นคง จะช่วยเสริมสร้างในเรื่องทักษะการเข้าสังคม ของเด็ก ๆ ได้อย่างแน่นอนค่ะ
นอกจากเทคนิค Time and Place ที่ช่วยเสริมสร้าง ทักษะการเข้าสังคม ทางสถาบันของเรายังมีโปรแกรมฝึกพัฒนาทักษะทางสมองทั้ง 5 ด้านที่เป็นส่วนช่วยในเรื่องทักษะการเข้าสังคมได้อีกด้วยค่ะ
สนใจปรึกษาและพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของน้องสามารถติดต่อได้ช่องทางนี้ได้เลยค่ะ
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์
02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769