รู้หรือไม่ ? EQ พัฒนาได้ ผ่าน “กระจกสะท้อนอารมณ์”

 

รู้หรือไม่ ? EQ พัฒนาได้  ผ่าน “กระจกสะท้อนอารมณ์”

 

 

 

จากหนังสือเรื่อง Between Parent and Child ดร. เฮม จีนอตต์ ได้กล่าวไว้ว่า 


“เด็กเรียนรู้ลักษณะภายนอกของตัวเอง โดยการส่องกระจก ขณะเดียวกันนั้นก็เรียนรู้ลักษณะทางอารมณ์หรือเข้าใจ EQ

โดยการได้ยินเสียงสะท้อนเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวเอง”

 

 

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า กระจกสะท้อนอารมณ์พัฒนา EQ กันค่ะ

 

คุณพ่อคุณแม่ลองจินตนาการไปพร้อมกันนะคะ

 
ลองจินตนาการว่าตอนนี้เรากำลังเป็นกระจกบานใหญ่บานหนึ่งอยู่ และเป็นกระจกที่สามารถพูดได้

หากเรามองเห็นลูกน้อยกำลังโกรธ โมโห หงุดหงิด หวาดกลัว หรือแสดงอารมณ์อื่น ๆ อยู่ในขณะนั้น

คุณพ่อคุณแม่คงเกิดคำถามขึ้นมาว่า เราจะทำยังไงดีนะ เราจะมีวิธีรับมือให้ลูกหยุดอารมณ์เหล่านั้นด้วยวิธีไหน

 

 

แต่อย่าลืมนะคะ ว่า ตอนนี้เรากำลังทำหน้าที่เป็นกระจกอยู่

 

แล้วเราจะเลือกเป็นกระจกแบบไหนกันนะ

 

กระจกบานแรก: กระจกที่ตะโกนออกไปอย่างเสียงดังเพื่อให้ลูกหยุดแสดงอารมณ์


กระจกบานที่สอง: กระจกที่แสดงอาการเมินเฉย ไม่สนใจ และปล่อยให้ลูกแสดงอารมณ์ต่อไป


กระจกบานสุดท้าย: กระจกที่คอยรับฟัง รอจังหวะ และพูดคุยสะท้อนอารมณ์ให้ลูกเข้าใจ

 

 

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงกำลังหาคำตอบและเลือกคำตอบที่ดีที่สุดอยู่ใช่ไหมคะ

และเราเข้าใจว่าในสถานการณ์ที่ลูกน้อยกำลังหวาดกลัว โกรธ เสียใจ สับสน หรือคับแค้นใจ พ่อแม่หลายคนคงกังวล และพยายามหาทุกวิธีเพื่อช่วยให้ลูกผ่านพ้นไปได้

 

"EQ กระจก"

 

 

มาลองดูกันว่า กระจกแต่ละบาน สื่อถึงอะไรบ้าง 

 

  • กระจกบานแรก

                     สื่อถึงการพูดคุยแบบใช้อารมณ์ต่อกัน เมื่อลูกโกรธ ร้องไห้เสียงดัง แล้วเราตะโกนบอกให้หยุด หรือใช้น้ำเสียงแสดงอารมณ์ เช่น

“หยุดร้อง ร้องไห้ทำไม!”

“หยุดร้องเดี๋ยวนี้นะ!”

“ร้องไปก็ไม่มีประโยชน์!”

                     เพราะอาจจะทำให้ลูกน้อยไม่เชื่อใจคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากตอนนั้นลูกยังไม่สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ของตัวเองได้

                     อย่างแน่ชัดเมื่อเราพูดแบบใช้อารมณ์กลับไปทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ทุกอย่างพังลงเหมือนกระจกที่แตกสลาย 

                                                               

                                                                                                                  

  • กระจกบานที่สอง 

                     สื่อถึงการเมินเฉย ไม่สนใจ ถ้านานไปจะเป็นการแสดงให้ลูกน้อยรู้สึกว่าตัวเองไม่สำคัญและเขาจะแสดงอารมณ์เพิ่มขึ้นเพื่อให้ตัวเองได้รับความสนใจ 

                     *การเมินเฉยสามารถทำได้นะคะ แต่ต้องไม่ทำอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น เล่นมือถือ

                      เพราะการเมินเฉยเราทำเพื่อให้ลูกรู้ว่าตอนนี้เขากำลังทำพฤติกรรมที่ไม่ดีอยู่ เมื่อลูกอารมณ์เย็นลงก็ค่อยเข้าไปพูดคุยกับลูกได้ค่ะ*

 

 

  • กระจกบานสุดท้าย  

                     สื่อถึงการรับฟังอย่างเข้าใจ รอการพูดคุยอย่างใจเย็น และพูดคุยสะท้อนอารมณ์ให้ลูกเข้าใจว่าตัวเองรู้สึกยังไง เช่น พยักหน้า มองตา โอบกอด

                     เพื่อให้ลูกรู้ว่าเราฟังอยู่นะ รวมไปถึงการใช้น้ำเสียงของพ่อแม่ด้วยเช่นกันค่ะ  

 


เพิ่มเพื่อน

 

 

BrainFit ขอเสนอในมุมของเทคนิค รับฟัง พูดคุย ผ่านกระจกสะท้อนอารมณ์ เพื่อเป็นอีกแนวทางในการเข้าใจอารมณ์ของลูกน้อย และช่วยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ หรือทักษะ EQ ได้ด้วยเช่นกันค่ะ

 

 

 

 

เทคนิค รับฟัง พูดคุย พัฒนา EQ ผ่านกระจกสะท้อนอารมณ์

 

  1. รับฟัง  

    การรับฟังคือการหยุดสิ่งที่เราคิดหรือสิ่งที่อยากพูดไว้ก่อน รับฟังเสียงของลูกน้อยอย่างตั้งใจ รับฟังว่าลูกรู้สึกอย่างไร ซึ่งสิ่งแรกของการเป็นกระจกสะท้อนอารมณ์ให้ลูกน้อยจึงเป็นการ รับฟัง

     

  2. ให้เวลาและรอจังหวะในการพูดคุย 

    การให้เวลา ไม่ได้เป็นการกำหนดระยะเวลา แต่เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ลูกน้อยได้แสดงอารมณ์ออกมาก่อน ซึ่งในขณะนั้นผู้ปกครองต้องอยู่กับลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าเราอยู่ด้วยกันและไม่ทิ้งไปไหน หลังจากนั้นจังหวะในการพูดคุยสำคัญมาก เมื่อเห็นว่าลูกเริ่มสงบลง หันมามอง นั่นอาจจะเป็นสัญญาณเล็ก ๆ ที่เราสามารถเข้าไปพูดคุยกับลูกได้ 

                                                                                            

  3. พูดคุยเพื่อสะท้อนอารมณ์ 

    การพูดคุยเพื่อสะท้อนอารมณ์ ช่วยให้ลูกเข้าใจอารมณ์ตัวเองก่อน เมื่อลูกเข้าใจอารมณ์ตัวเองแล้วก็สามารถกลับไปคิดทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ลูกกำลังเล่นของเล่นกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แต่เพื่อนทำของเล่นชิ้นโปรดของลูกพัง ลูกน้อยจึงโกรธมาก ตะโกนเสียงดังและเผลอไปผลักเพื่อน 
    เมื่อลูกแสดงอารมณ์ออกมา เราทำหน้าที่เป็นเหมือนกับกระจกที่สะท้อนอารมณ์ของเขาเพื่อให้เขาได้รับรู้และเข้าใจอารมณ์ของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น ด้วยการพูดคุยได้ดังนี้ 

    “แม่เห็นว่าเมื่อกี้ลูกกำลังโกรธมากเลยนะ” 
    “ลูกตะโกนเสียงดังแบบนี้แสดงว่าลูกกำลังโกรธอยู่นะคะ” 
    “แม่ฟังแล้ว ตอนนี้ลูกกำลังหงุดหงิดมากเลย”
    ใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง เพื่อให้ลูกรับรู้ถึงความห่วงใยของเรา

     

  4. เข้าใจอย่างแท้จริง 

    การแสดงความเข้าใจสามารถทำได้ผ่านภาษากายและคำพูด เช่น การกอด การลูบหัว การพยักหน้า การบอกลูกว่า “แม่เข้าใจตอนนี้ลูกกำลังโกรธอยู่” “ลูกโกรธได้ ลูกเสียใจได้ แม่อยู่ตรงนี้กับลูกนะ” เพื่อสื่อให้ลูกรับรู้ว่า ลูกคือคนสำคัญและเราเข้าใจความรู้สึกของลูกอย่างแท้จริง

 

เมื่อเราใช้ เทคนิครับฟัง พูดคุย ผ่านกระจกสะท้อนอารมณ์ เพื่อช่วยให้ลูกน้อย

ค้นพบวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดของตัวเอง ช่วยในการเรียนรู้เรื่องอารมณ์

และฝึกทักษะความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ ได้ด้วยเช่นกัน 

 

 

 

 

        นอกจากนี้ สถาบัน BrainFit ของเรามีคอร์ส Whole Brain Training ฝึกทักษะสมาธิ การจดจ่อ

        และรวมไปถึงทักษะ ทางด้านอารมณ์ หากน้อง ๆ ได้ฝึกควบคู่กันไปก็จะเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ

 

 

สมัครด่วน! ที่นั่งมีจำนวนจำกัด

 

 



จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769


เพิ่มเพื่อน

LINE: @brainfit_th 

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4