การรับรู้ทางสายตา กับ มิติสัมพันธ์
หากเราพูดถึงการรับรู้ทางสายตากับมิติสัมพันธ์ หลาย ๆ คนอาจนึกถึงการมองและรูปทรงเรขาคณิต จริง ๆ แล้ว มิติสัมพันธ์ (Spatial Relations) เป็นส่วนหนึ่งของ การรับรู้ทางสายตา (Visual perception) ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะที่ไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ ... เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทั้งสองอย่างนี้คืออะไร ?
? การรับรู้ทางสายตา คือ ความสามารถในการรับรู้และแปลผลสิ่งที่เห็น โดยต้องสามารถจดจำ แยกแยะและวิเคราะห์สิ่งที่มองเห็นได้ เช่น การแยกความแตกต่างตัวอักษรที่คล้ายกัน การจดจำตัวอักษร ตัวเลข พยัญชนะได้ สามารถสะกดคำศัพท์
? มิติสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการ “คิดเป็นภาพในใจ” มองเห็นความสัมพันธ์ของมิติต่างๆ เกิดจินตนาการ และมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ทิศทาง รูปร่าง ลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่ต่างไปจากเดิม
เมื่อทั้งสองทักษะนี้มารวมกันเราจะเรียกว่า การรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ทางสายตา (Visual Spatial Relations) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความบกพร่องด้านการอ่านการเขียนของเด็ก ๆ
วิธีสังเกตก็คือ เวลาที่เขียนเด็ก ๆ มักเรียงลำดับตัวอักษรผิด เขียนตัวอักษรหรือตัวเลขกลับหน้ากลับหลัง เขียนตัวหนังสือติดกันเป็นพรืด หรือเว้นวรรคไม่ถูก
หากลูกรักของคุณพ่อคุณแม่เป็นแบบที่กล่าวไว้ อาจเป็นได้ว่าทักษะนี้ยังไม่แข็งแรงค่ะ เพราะเด็กที่มีความบกพร่องการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ทางสายตานั้น ส่งผลให้เด็ก ๆ สับสนเรื่องทิศทาง ตำแหน่ง ความสัมพันธ์เรื่องด้านของวัตถุ ทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้ช้า
คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึก Visual Spatial Relations ให้ลูกรักได้ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ซึ่งวัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเข้าใจในเรื่องมิติสัมพันธ์ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ อาจฝึกได้โดยให้เด็กระบุตำแหน่งต่าง ๆให้แม่นยำ เช่น ยกมือซ้าย - ขวา, เดินหน้า - ถอยหลัง, จัดของตามตำแหน่งที่บอก หรือ ผ่านกิจกรรมสนุกที่ลูกทำได้ง่าย เช่น เล่นต่อจิ๊กซอว์ ต่อแทนแกรม พับกระดาษ หรือ หาสิ่งของที่ซ่อนอยู่ในภาพ
เมื่อการรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์ทางสายตาดี ก็จะทำให้เด็ก ๆ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ อย่างเชื่อมโยงกัน เรียนรู้ได้เร็ว รู้จักคิดวางแผนและสามารถจัดกลุ่มรูปแบบต่าง ๆ ในสมองได้ดี แถมยังช่วยให้เด็ก ๆ เรียนวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เก่งขึ้นด้วยค่ะ ??
ทักษะนี้สามารถมาฝึกกับเราได้ที่ BrainFit เรามีคอร์สที่พัฒนาสมองทุกด้าน ที่จะช่วยพัฒนาทักษะสมองทั้ง 5 ด้านให้แข็งแรง ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน โดยหลักสูตรที่ใช้ได้รับการออกแบบจากนักจิตวิทยา และนักประสาทวิทยาชั้นนำ
--------------------------------------------------------------------------------
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์ 02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
อ้างอิง โรงพยาบาลมนารมย์ www.cdlcbcare.com และ www.passeducation.com