กายภาพบำบัดในเด็ก
ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น !?
กายภาพบำบัด (Physical therapy) เป็นการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักเพื่อฟื้นฟูร่างกาย และเสริมสร้างความสามาถในการใช้ร่างกาย เพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
หากร่างกายของเด็ก ๆ นั้นแข็งแรงจะช่วยให้เด็ก ๆ มีโอกาสในการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสมากขึ้น และจะช่วยให้เรียนรู้ได้อย่างเติมที่ และมีพัฒนาการที่แข็งแรงตามวัย
คุณพ่อคุณแม่อาจลองสังเกตพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ได้ดังนี้ค่ะ
⭐️ อายุ 1 เดือนแรก เด็กนอนหงายหันศีรษะได้ทั้งสองข้าง
⭐️ อายุ 2 เดือน นอนหงายชูมือไปข้างหน้าทั้งสองข้าง จับนอนคว่ำยันแขนท่อนล่างยกศีรษะคางพ้นพื้น หันหน้าไปทั้งซ้าย-ขวา
⭐️ อายุ 3 เดือน นอนหงายชูมือไปข้างหน้าทั้งสองข้าง ขาเตะสลับทั้งสองข้าง จับนอนคว่ำยันแขนท่อนล่าง ยกศีรษะตรงพ้นพื้น
⭐️ อายุ 4 เดือน นอนหงายชูมือมาจับกันตรงกลาง จับขวดนม เตะขาสองข้างเท้าลอยพ้นพื้น มือแตะเข่า จับเท้า ช่วยให้นอนคว่ำ ยันแขนท่อนล่าง เอื้อมมือไปแตะของเล่น เริ่มใช้มือยัน มีการเอี้ยวลำตัวส่วนบน
⭐️ อายุ 5 เดือน นอนหงายยกศีรษะพ้นพื้น จับนอนคว่ำยันมือ เตะขา เอี้ยวตัวมานอนหงาย ชูมือซ้ายจับเท้าขวา มือขวาจับเท้าซ้าย
⭐️ อายุ 6 เดือน นอนหงายตะแคงมาคว่ำ กลิ้ง จับนั่งกางขามือยันพื้น หลังโก่ง
⭐️ อายุ 7 เดือน นั่งเล่น มือไม่ยันพื้น หลังตรง นอนคว่ำ ยันแขน ถีบเท้า คืบไปข้างหน้า
⭐️ อายุ 8 เดือน คลานสลับ มือซ้าย เข่าขวา มือขวา เข่าซ้าย ยันมือมานั่ง และปรับท่าไปคลาน
⭐️ อายุ 9 เดือน นั่ง เปลี่ยนท่าเป็นพับเพียบ เกาะ ชันเข่าลุกขึ้น เกาะยืน
⭐️ อายุ 10 เดือน นั่งเล่น หยิบของชิ้นเล็ก (ระวังเอาเข้าปาก จมูก) เกาะเดินไปด้านข้าง
⭐️ อายุ 11 – 12 เดือน ยืนได้เอง เริ่มเดินก้าวสั้น ๆ
คุณหมอจันฑ์ทิตา พฤกษานานนท์ ได้ยกตัวอย่างว่าหากเด็กคนหนึ่งร่างกายไม่แข็งแรง ไม่ได้เคลื่อนไหวตามช่วงวัย กล้ามเนื้อมัดเล็ก-ใหญ่ของเด็ก ๆ จะไม่ได้รับการฝึกฝนและพัฒนา อีกทั้งยังส่งผลถึงปัญหาด้านการทรงตัว การนั่ง ยืน เดิน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบการดำเนินชีวิตประจำวัน และนำไปสู่การชะงักของพัฒนาการด้านอื่น ๆ ด้วยค่ะ
จริง ๆ แล้วหากเราพูดถึง กายภาพบำบัดในเด็ก หลายคนอาจจะนึกถึงการกดจุด นวด หรือออกกำลังเฉพาะส่วน ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องมือพิเศษในการรักษา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำกายภาพบำบัด แต่สำหรับเด็ก ๆ ที่มีปัญหาในเรื่องของการเคลื่อนไหว กายภาพบำบัดผ่านการเล่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ค่ะ เช่น การนั่งเล่นของเล่น มือไม่ยันพื้น หลังตรง
นักกายภาพบําบัดเห็นว่า การเล่นเป็นการส่งเสริมการเคลื่อนไหว สามารถนําการเล่นไปประยุกต์เพื่อฝึกการเคลื่อนไหวสําหรับเด็กที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวได้ โดยการส่งเสริมการเคลื่อนไหวของเด็กตามแบบแผนการเคลื่อนไหวถูกต้อง เพื่อพัฒนาให้เด็กมีทักษะและความชํานาญในการเคลื่อนไหวที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่เป็นกังวลในเรื่องพัฒนาการของลูก หรือสงสัยว่าลูกควรได้ทำกายภาพบำบัดไหม? ... ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะนะคะ?
ที่ BrainFit เรามีคอร์สที่พัฒนาสมองทุกด้าน ที่จะช่วยพัฒนาทักษะสมองที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงสมวัย ผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน โดยหลักสูตรที่ใช้ได้รับการออกแบบจากนักจิตวิทยา และนักประสาทวิทยาชั้นนำ เพื่อพัฒนาสมองทุกด้านของเด็ก ๆ อย่างตรงจุด เพื่อให้สมองของเด็ก ๆ เกิดการสร้างเส้นใยสมองใหม่ ๆ เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ทั้งใน และนอกห้องเรียน
จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์ 02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915
วันพฤหัสบดี-วันศุกร์ 091-774-3769
อ้างอิง: นางปวีณา เล็กพันธ์ ครูชํานาญการพิเศษ (นักกายภาพบําบัด), รองศาสตราจารย์กรกฎ เห็นแสงวิไล, www.bangpakokhospital.com