3 วิธี พูดคุยกับลูกวัยรุ่นอย่างชาญฉลาด

 

 3 วิธี   พูดคุยกับลูกวัยรุ่นอย่างชาญฉลาด 

 

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านอาจจะกำลังมีความรู้สึกว่า การพูดคุยกับลูกวัยรุ่นเพื่อสื่อสาร และบอกความต้องการให้ลูกรู้นั้นเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะพยายามบอก หรือแนะนำสิ่งใดไปมักจะไม่ได้รับการตอบรับอย่างที่ใจหวังไว้ใช่มั้ยล่ะคะ 

 

แล้วคุณพ่อคุณแม่เคยต้องข้อสงสัยไหมว่าสิ่งนี้เกิดจากอะไร? 


ทำไมตอนที่ลูกยังเด็กอยู่ เราสามารถพูดคุย และบอกความต้องการกับลูก ๆ ได้ง่ายกว่านี้?

 

ถ้าเกิดคุณพ่อคุณแม่มีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นในใจ วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบ พร้อมทั้งไปเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับเด็กวัยรุ่นให้มากขึ้น เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุย และสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น...

 

วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการการแสดงออกทางความรักจากคุณพ่อคุณแม่แตกต่างไปจากวัยเด็ก เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น พวกเขาจะไม่ได้ต้องการการแสดงออกทางความรักโดยการโอบกอด สัมผัส หรือการใช้คำพูดมากมายเพื่อบอกสอนพวกเขาเหมือนเดิมแล้ว แต่สิ่งที่พวกเขาต้องการคือการรับฟังอย่างจริงใจ และการพยายามที่จะเข้าใจพวกเขาในแบบที่พวกเขาเป็นจากพ่อแม่

 

หากคุณทำได้ตามนี้ ลูก ๆ จะกล้าเปิดใจพูดคุย และปรึกษาคุณพ่อคุณแม่มากขึ้นเวลาที่พวกเขาเจอปัญหาต่าง ๆ แถมพวกเขายังจะรับฟังสิ่งที่คุณต้องการบอก หรือสอนพวกเขามากขึ้นด้วย ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะช่วยให้คุณสามารถพูดคุยกับลูกวัยรุ่นได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านก็อาจจะเกิดคำถามขึ้นมาในใจอีกว่า เอ้... แล้วเราจะทำอย่างไรถึงจะกลายเป็นผู้ฟังที่ดี และสามารถเข้าใจลูกวัยรุ่นได้อย่างแท้จริง? 

 

ถ้าเป็นเรื่องนี้ไม่ต้องกังวลไปเลยค่ะ เพราะทางสถาบันได้ทำการรวบรวม 3 วิธีดี ๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่แล้ว...

 

ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันต่อเลยค่ะ!!!

 

 3 วิธี  พูดคุยกับลูกวัยรุ่นอย่างชาญฉลาด 

 

 

 1. เป็นที่ปรึกษาที่ดี และพร้อมจะรับฟังลูก ๆ เสมอ 


เมื่อลูกก้าวเข้าสู่วัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่สามารถบอกลูก ๆ ของคุณได้เลยว่าหากมีเรื่องอะไรที่ไม่สบายใจ หรือต้องการคำปรึกษา สามารถมาพูดคุย และปรึกษาคุณได้ทุกเมื่อนะ และคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถที่จะถามไถ่ลูกวัยรุ่นของคุณ หากสังเกตเห็นว่าพวกเขากำลังมีความไม่สบายใจ หรือทุกข์ใจอยู่ได้เช่นกัน โดยการเลือกใช้คำพูดในเชิงสร้างสรรค์ และไม่กดดันลูก  ๆ จนเกินไป เช่น “ ทำไมหมู่นี้ลูกดูเศร้า ๆ มีอะไรอยากจะเล่าให้พ่อแม่ฟังไหม? ” หรือ “ พักนี้ดูเงียบ ๆ ไปนะ ไม่ค่อยสดใสเลย มีอะไรไม่สบายใจอยู่รึเปล่าลูก? ” เป็นต้น

 

หากพวกเขายังไม่พร้อมที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจก็อย่าพยายามคาดคั้นจะเอาคำตอบให้ได้ ณ ตอนนั้นเลย แต่ควรปล่อยให้ลูกพร้อมด้วยตัวเองจริง ๆ ก่อนจึงค่อยเล่าจะดีกว่า และเมื่อพวกเขาพร้อมที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจให้คุณฟัง สิ่งที่คุณจะต้องทำต่อมาก็คือการเป็นผู้ฟังที่ดี การเป็นผู้ฟังที่ดีคือการฟังสิ่งที่ลูก ๆ ของคุณเล่าอย่างตั้งใจ ไม่เอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ และไม่ด่วนตัดสินสิ่งที่เด็ก ๆ กำลังเล่าอยู่ เพราะหากคุณทำแบบนั้น เด็ก ๆ คงไม่อยากจะเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้คุณฟังต่ออย่างแน่นอนใช่มั้ยล่ะคะ คุณมีหน้าที่ฟังอย่างตั้งใจตั้งแต่ต้นจนจบ และในระหว่างที่ฟังก็มีการถามคำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้พวกเขาได้พูด หรือระบายเหตุการณ์ รวมทั้งอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองออกมา เช่น “ เกิดอะไรขึ้น? ” หรือ “ อะไรทำให้ลูกรู้สึกเสียใจ? ” เป็นต้น

 

 2. ให้คำแนะนำแก่ลูก 


ให้คำแนะนำในมุมมองของคุณ โดยการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในแบบของพวกเขาดูก่อน จากนั้นคุณพ่อคุณแม่ค่อย ๆ ช่วยเด็ก ๆ คิดวิเคราะห์ และหาข้อดีข้อเสียของแนวทางที่เลือกใช้ จากนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเสนอแนะแนวทางเพิ่มเติม เพื่อให้ลูกวัยรุ่นได้ลองคิดทบทวน และนำไปปรับใช้กับตัวเองอีกครั้ง การทำแบบนี้จะช่วยให้เด็กรับฟังความคิดเห็นของคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น

 

 3. พูดคุย และสอนเท่าที่จำเป็น 


เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และฮอร์โมนหลาย ๆ อย่าง รวมถึงสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอารมณ์พัฒนาขึ้นมาอย่างเต็มที่แล้วเช่นกัน และเนื่องจากพวกเขากำลังอยู่ในภาวะเปลี่ยนแปลงนี้เอง จึงทำให้วัยรุ่นมีการแสดงออกทางอารมณ์ และพฤติกรรมที่ไม่แน่นอน และรุนแรงเพื่อตอบโต้สถานการณ์ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่บ่อยครั้ง 

 

ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่บอก หรือสอนอะไรที่มากเกินความจำเป็น ก็อาจจะทำให้เด็ก ๆ เกิดความไม่ชอบใจ และปิดกั้นคำแนะนำของคุณได้ หรือหากคุณมีการเลือกใช้คำพูดที่ผิดไป จนไปกระทบกับจิตใจของพวกเขาเข้า ผลลัพธ์ที่ได้อาจจบลงด้วยการทะเลาะเบาะแว้ง และความไม่ลงรอยกันระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูก ๆ วัยรุ่นแทน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นคงไม่ใช่เรื่องดีแน่เลยใช่มั้ยล่ะคะ

 

เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญสำหรับการพูดคุยกับลูกวัยรุ่นก็คือการเลือกใช้คำพูดที่เป็นไปในเชิงบวกกับพวกเขา รวมทั้งการแนะนำ หรือการสอนสิ่งที่ถูกที่ควรเท่าที่จำเป็น โดยไม่ดึงเอาเรื่องราวอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาพูดยำรวมกันไปด้วย หากคุณทำได้แบบนี้ การพูดคุยกับลูก ๆ วัยรุ่นของคุณก็จะง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วล่ะค่ะ

 

 

และนี่คือเนื้อหา และวิธีการดี ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณสามารถพูดคุยกับลูก ๆ วัยรุ่นของคุณได้อย่างชาญฉลาด ทางสถาบันก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อยนะคะ

 

ที่ BrainFit เรามีคอร์สพัฒนาสมาธิ ที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของทักษะพื้นฐานสมองที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านของเด็ก ๆ ให้แข็งแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเคลื่อนไหว การมอง การฟัง สมาธิ รวมถึงเรื่องอารมณ์ เพื่อให้พวกเขาเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถรับมือ และจัดการกับปัญหา และอุปสรรคที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น!!

 

เพิ่มเพื่อน

 

พัฒนาสมาธิ และทักษะการเรียนรู้ให้เด็ก 3-18 ปี ☀️

 


ติดต่อขอทดลองเรียน ฟรี!

LINE: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน


จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  

02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์  091-774-3769

 

 

อ้างอิง: www.thaichildrights.org, https://new.camri.go.th/Knowledge