ลูกเครียด 5 วิธี พ่อแม่ช่วยได้

 

 

"ลูกเครียด 5 วิธีพ่อแม่ช่วยได้"

 

 

มาดู 5 วิธี ง่ายๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ จะช่วยเด็ก ๆ รับมือและจัดการกับ ความเครียด ได้นั้น มีอะไรบ้าง 

 

1. จัดสรรตารางกิจกรรม

หนึ่งในปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดความเครียดกับเด็กได้คือ การจัดสรรตารางกิจกรรมที่มากมายและอัดแน่นจนเกินไปให้กับเด็ก การที่เด็ก ๆ ต้องใช้เวลาเรียนที่โรงเรียนเกือบทั้งวันแล้ว แถมยังต้องทำกิจกรรมนอกเวลาเรียน ทำการบ้านให้เสร็จ แล้วก็เข้านอนแบบนี้เป็นกิจวัตรประจำวัน พวกเขาแทบจะไม่มีเวลาในการได้พักผ่อน หรือผ่อนคลายตนเอง 

เด็ก ๆ เองก็ต้องการช่วงเวลาในการพักผ่อนและรื้อฟื้นสภาพร่างกาย สมองและร่างกายของพวกเขาต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอ การจัดตารางเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละวันให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะป้องกันความเครียดให้เด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถ 

​​กำหนดตารางเวลาให้ชัดเจน และคำนวณระยะเวลาเรียนแต่ละวิชาให้เหมาะสม แบ่งวิชาเรียนไม่ให้หนักเกินไป และพยายามอย่าสร้างความคาดหวังให้เด็กมากจนเกินไป  เพราะการเรียนที่บ้านกับที่โรงเรียนนั้นแตกต่างกัน คุณพ่อคุณแม่เริ่มต้นการสอนแบบค่อยเป็นค่อยๆ ไป อาจจะเริ่มวันละ 2-3 ชั่วโมงก่อนก็ได้ค่ะ

 

  • ตื่นนอน อาหารเช้า เล่นแบบอิสระ
  • ช่วงเวลาฝึก ขีด เขียน อ่าน และของว่าง
  • พักทานอาหาร และนอนตอนกลางวัน
  • ชั่วโมงหรรษากับสื่อการสอน
  • ชั่วโมงออกกำลังกาย เล่นอิสระ และทานอาหารเย็น
  • เวลาแห่งครอบครัว

 

 

"ลูกเครียด"

 

 

2. ให้เวลากับการเล่นบ้าง

การเล่นก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดอัตรา ความเครียด ของเด็กให้ลดลงได้ ซึ่งจะต้องไม่ใช่การเล่นที่ทำให้เด็กรู้สึกถูกกดดัน ปล่อยให้เด็กได้ใช้จิตนาการสร้างสรรในการออกแบบการเล่นของพวกเขา การเล่นของเด็กวัยเล็กเป็นเรื่องธรรมชาติที่อาจจะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพวกเขา แต่บางครั้งในวัยเด็กโต พวกเขาอาจจะลืมและให้เวลากับการเล่นน้อยลง 

คุณพ่อคุณแม่อาจจะช่วยเพิ่มกิจกรรมการเล่นให้กับเด็ก เช่น กิจกรรมที่รวมการเคลื่อนไหวทางร่างกาย การเล่นจะช่วยพัฒนาร่างกายและจิตใจให้แก่เด็กทุกคน การที่เด็กได้ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน ได้กระโดดโลดเต้น การทำกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม และด้านร่างกายช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยเรื่องการทรงตัว การทำงานประสานกัน ระหว่างกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ด้วย เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา มือ และการประสานการทำงานระหว่างมือและตา เช่น ปั้น พับกระดาษ วาดรูประบายสี เป็นต้น การปล่อยให้เด็กได้เล่น เช่น วาดรูป หรือเล่นของเล่นทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการใช้จินตนาการ เช่น หุ่นมือ บ้านตุ๊กตา บทบาทสมมติ ฯลฯ จะช่วยบอกความในใจได้ว่าตอนนี้เด็กรู้สึกอะไรอยู่และระบายความเครียดของเด็กได้อีกด้วย

 

3. ฝึกนิสัยการนอนให้เพียงพอ

“การนอน” มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของเด็ก พบว่าฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน หลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ถ้าเด็กนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความสูง นอกจากนี้การนอนหลับยังช่วยร่างกายในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ 

การสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดีจะช่วยให้การนอนของเด็กเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพและป้องกัน ความเครียด จากการขาดการพักผ่อน เช่น การเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิม ๆ ทุกวัน ควรงดกิจกรรมที่จะทำให้เด็กนอนหลับยากในช่วงหัวค่ำ เช่น การดูทีวีหรือเล่นคอมพิวเตอร์ เนื่องจากแสงสว่างจากจอจะขัดขวางการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยให้หลับ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและกาเฟอีน เช่น ชาเขียว ช็อกโกแลต กาแฟ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เด็กหลับยาก  เด็กที่นอนไม่พอในแต่ละคืน เมื่อเกิดขึ้นต่อเนื่องเข้าสู่ภาวะอดนอนเรื้อรัง เด็กจะไม่แสดงอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึมเหมือนในผู้ใหญ่ แต่จะออกมาในลักษณะปัญหาพฤติกรรม เช่น ซน อยู่ไม่นิ่ง ก้าวร้าว ขี้หงุดหงิด เครียด ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกเด็กให้นอนตั้งแต่หัวค่ำและสร้างสุขนิสัยการนอนที่ดี...

 

"ลูกเครียด"

 

 

4. จัดการความเครียดของพ่อแม่ 

ความเครียดของคุณพ่อคุณแม่อาจส่งต่อไปยังลูกโดยที่เราไม่รู้ตัว การคาดหวังกับลูกมากจนเกินไป อาจจะทำให้ลูกเครียดได้ เมื่อพ่อแม่เครียด ลูกก็จะเครียดตามไปด้วยตามสภาพแวดล้อม คุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาให้กับลูกบ่อย ๆ เพื่อรับรู้อารมณ์และพฤติกรรมของลูก เช่น การพาไปทำกิจกรรมร่วมกันเป็นครอบครัว เล่นกับลูกบ่อย ๆ จะทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายแนบแน่น ถ้าหากลูกอยู่ในวัยประถม คุณพ่อคุณแม่อาจจะเล่นสนุกกับเขา ชมเชยเขาได้ ส่วนถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยกำลังเป็นวัยรุ่นละก็ อาจจะเป็นที่ปรึกษาพูดคุยกับเขา เป็นการช่วยให้เขาเปิดใจระบายความในใจออกมาให้เราฟัง ทำให้ลูกไม่เครียดนั่นเอง

 

5. สอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง

เมื่อเด็กต้องเผชิญกับปัญหาหรือความผิดหวัง อาจส่งผลต่อความเครียดและพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ ตามมา การลดความคาดหวังหรือเป้าหมายของเด็ก ผู้ปกครองย่อมทราบดีว่าเด็กไม่สามารถทำได้ แต่ให้ผู้ปกครองพูดคุยให้เด็กใช้ความสามารถ ศักยภาพด้านอื่นที่ถนัดทดแทน เพื่อแก้ปัญหา และชวนเด็กตั้งเป้าหมายใหม่ที่ท้าทายและให้เด็กสามารถมีโอกาสทำสำเร็จได้ ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยผู้ปกครองตั้งคำถามให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้ลูกรู้ทิศทางตนเอง และเสริมพัฒนาการเด็กในด้านการใช้ความคิดได้ลึกซึ้งมากขึ้น มีความคิด และตัดสินใจในแบบผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจและลดความเครียดหรือกลัวในการตัดสินทำสิ่งใหม่ ๆ 

 

แต่หากรู้สึกว่าเครียดและวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ และควบคุมความรู้สึกไม่ได้ เป็นระยะเวลาที่นาน จนทำให้เด็กๆ ไม่มีความสุข และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาเด็กๆ ไปพบคุณหมอเพื่อปรึกษา และช่วยปรับความคิดและพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นนั้นเองค่ะ

 

ที่ BrainFit เราพัฒนาศักยภาพสมองของเด็ก ๆ แต่ละด้านให้แข็งแรง เพื่อให้เด็ก ๆ มีความสุข สนุก และพร้อมเรียนรู้กับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้น  

 

 


02-656-9938 / 02-656-9939 02-656-9915 / 091-774-3769

Line: @brainfit_th

 

 

 

ที่มา: parentsone.com