ประเภทการเล่นสำคัญต่อ พัฒนาการเด็ก

 

 

 

ประเภทของการเล่นที่สำคัญต่อ พัฒนาการเด็ก 

 

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

เด็กส่วนใหญ่จะชื่นชอบการได้เล่น ได้สนุก กับกิจกรรมต่าง ๆ แต่การเล่นก็เป็นตัวบ่งบอกถึงพัฒนาการของเด็กได้เช่นกัน เพราะการเล่นเป็นช่วงที่เด็กกำลังเรียนรู้ ฝึกฝนการใช้ทักษะสมองด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการเข้าสังคม ทักษะพื้นฐานทางปัญญา พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางอารมณ์ รวมไปถึงการจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ พัฒนาการที่ได้จากการเล่น จะเติบโตขึ้นอย่างธรรมชาติเมื่อเด็กได้เล่นและได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธี

 

ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ กิจกรรมที่เด็กต้องกลิ้งบอลกลับไปมา เล่นกันอย่างสุกสนานกับพี่น้องที่บ้าน พวกเขากำลังเรียนรู้ทักษะการแลกเปลี่ยน ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การรับรู้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย และฝึกทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

 

วันนี้เราจะมาดูความสำคัญของประเภท ของการเล่น ที่สามารถส่งผลต่อ การเรียนรู้และพัฒนาการที่ดีของเด็กมาฝากกัน

 

"เด็กเล่น"

 

>> พฤติกรรมการไม่เล่น Unoccupied Play

 

เป็นการเล่นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยทารกแรกเกิดไปจนถึงอายุ 3 เดือน เป็นช่วงเริ่มต้นการเล่นของเด็กทารก ที่ยังไม่ถูกฝึกพัฒนาการทางการมองมากนัก ซึ่งอาจดูเหมือนว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่ต้องการการเล่น อย่างไรก็ตาม กิจกรรมที่จะช่วยเด็กวัยนี้ได้คือ การให้เด็กเห็นสิ่งรอบตัวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ รูปร่างหน้าตาสิ่งของต่าง ๆ ก็เปรียบได้เหมือนเด็กกำลังเล่นและเตรียมพร้อมเข้าสู่พัฒนาการขั้นต่อไป ในช่วงนี้พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเป็นพิเศษเพื่อส่งเสริมการเล่นมากนัก เด็กจะเริ่มเรียนรู้ตามสัญชาตญาณ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือ พ่อแม่ต้องอนุญาตให้เด็กทารกได้มีเวลาในการสำรวจสิ่งรอบตัว โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง แม้ว่าเด็กทารกจะทำได้เพียงกระดิกมือหรือเท้าในอากาศก็ตาม

 

>> การเล่นลำพัง Solitary (Independent) Play 

 

ฟังดูเหมือนว่าเป็นการปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียว การเล่นประเภทนี้สำคัญมากเช่นกันเพราะจะเป็นการสอนให้เด็กรู้จักการสร้างจินตนาการให้ตนเองรู้สึกสนุก และพึ่งพาตนเองได้ พ่อแม่สามารถหาสิ่งของให้เด็กเล่นด้วยตนเองได้ เช่น ของเล่นสัตว์ต่าง ๆ ตัวต่อบล็อก ตุ๊กตาที่ใส่เสื้อผ้าต่าง ๆ ของเล่นที่มีเสียง หรือหนังสือ เป็นต้น เด็กจะเริ่มมีพัฒนาการ การเล่นกับตัวเองได้เมื่ออายุ 2-3 ขวบ ในช่วงวัยนี้เด็กมักจะโฟกัสกับตัวเองและยังไม่มีการสื่อสารหรือการแบ่งปันที่ดีนัก หากเด็กที่มีอาการเขินอาย หรือยังไม่รู้จักวิธีเล่นกับเพื่อนหรือคนรอบข้างมากนักด้วยแล้ว พวกเขาอาจชอบเล่นคนเดียวเมื่อโตขึ้นได้

 

>> พฤติกรรมการเฝ้าดู  Onlooker Play 

 

การเล่นประเภทนี้ เป็นการเล่นที่เด็กคอยมองหรือสังเกตการเล่นของเด็กคนอื่น หรือดูว่าพ่อแม่ของตนเองเล่นอะไร โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้กับเด็กวัย 2-3 ขวบ และมักเกิดขึ้นกับเด็กวัยเล็กที่กำลังพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านคำศัพท์ พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการเล่นในวัยนี้ เพราะเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ดีผ่านการเล่นและเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการเล่นของเด็ก ในช่วงของการเล่นประเภทนี้ อาจเกิดจากการที่เด็กรู้สึกไม่แน่นอน ต้องเรียนรู้กฎเกณฑ์ หรือ เด็กอาจเป็นน้องคนสุดท้องและต้องการแค่ถอยออกมาดูสักพักก่อน ว่าจะเล่นร่วมกับคนอื่น ๆ อย่างไร พ่อแม่สามารถช่วยดูและฝึกให้พวกเขาได้รับความมั่นใจและเรียนรู้กรอบการเล่นเพื่อพัฒนาสู่ขั้นตอนการเล่นในอนาคต การที่เด็กคอยมองหรือสังเกตการเล่นของผู้อื่น เด็กกำลังเรียนรู้และสร้างพัฒนาการด้วยตนเอง

 

"พัฒนาการเด็ก"

 

>> การเล่นคู่ขนาน Parallel Play

 

หากเราให้เด็กอายุ 3 ขวบนั่งเล่นด้วยกันในห้อง เราจะเห็นภาพที่เด็ก 2 คนกำลังเล่นกันอย่างสนุกสนาน และสร้างโลกจินตนาการของพวกเขาไปด้วยกัน มันไม่จำเป็นที่พวกเขาจะชอบกันหรือไม่ พวกเขาเพียงแค่เล่นด้วยกันเท่านั้น การเล่นประเภทนี้เริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบและแตกต่างจากการเล่นด้วยกันตรงที่เด็กทั้งสองไม่พยายามโน้มน้าวการเล่นของอีกฝ่าย

 

แม้การเล่นด้วยกันประเภทนี้ จะมีการติดต่อทางด้านสังคมที่ชัดเจนระหว่างเพื่อนร่วมเล่นเพียงเล็กน้อย แต่การเล่นของเด็กแบบคู่ขนานจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากกันและกันได้ไม่น้อย เช่น การตระหนักรู้ถึงการเล่นประเภทต่าง ๆ และแม้ว่าจะดูเหมือนเด็ก ๆ ไม่ได้ใส่ใจกัน แต่ก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมของอีกฝ่าย เช่นเดียวกับขั้นตอนอื่น ๆ การเล่นประเภทนี้ถือเป็นระดับขั้นที่มีความสำคัญและจะพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นต่อไปของการเล่น มีกิจกรรมหลายประเภทที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ตั้งแต่การวาดภาพไปจนถึงการเล่นรถของเล่น สามารถเกิดขึ้นได้ระหว่างการเล่นแบบคู่ขนาน

 

>> การเล่นแบบไม่กำหนดบทบาท Associative Play

 

การเล่นประเภทนี้ จะแตกต่างจากการเล่นแบบคู่ขนาน การเล่นประเภทนี้เริ่มพบได้ในเด็กอายุ 3-4 ขวบ แต่ในโหมดการเล่นนี้ พวกเขาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อีกฝ่ายกำลังทำ เช่น เด็ก ๆ เล่นสร้างเมืองด้วยการต่อบล็อก ในขณะที่พวกเขากำลังต่อบล็อกแต่ละตัว พวกเขาจะพูดคุยกันและมีส่วนร่วมซึ่งกันและกัน แต่ส่วนใหญ่จะเล่นของตนเอง โดยปกติรูปแบบการเล่นนี้จะค่อย ๆ หมดลงเมื่ออายุ 5 ขวบ

นี่เป็นขั้นตอนสำคัญของการเล่น เพราะช่วยให้เด็ก ๆ ได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ มากมาย เช่น การขัดเกลาทางสังคม (เราควรสร้างอะไรตอนนี้) ผลัดกันเล่น (นายเอาพลั่วไปไหม) ทักษะการแก้ปัญหา (เราจะสร้างได้อย่างไร) สร้างเมืองให้ใหญ่กว่านี้?) (ถ้าเราร่วมมือกัน เราจะทำให้เมืองของเราดียิ่งขึ้น) และทักษะการพัฒนาภาษา (เรียนรู้ว่าจะพูดอะไรเพื่อสื่อสารข้อความถึงกัน) เด็กจะเริ่มสร้างทักษะด้านสังคมและมิตรภาพที่แท้จริง 

 

>> การเล่นร่วมกัน Cooperative Play

 

การเล่นแบบร่วมมือกัน เป็นการเล่นที่ทุกคนมารวมกันและเด็ก ๆ เริ่มเล่นด้วยกันอย่างแท้จริง โดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นระหว่างอายุ 4-5 ขวบ นี่คือรูปแบบการเล่นที่โดดเด่นในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน กับเด็กที่มีอายุมากกว่า หรือในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุน้อยกว่า มีพี่น้องที่มีอายุมากกว่า หรือมีเด็กจำนวนมากเล่นด้วยกัน การเล่นแบบร่วมมือกัน เด็กจะได้ใช้ทักษะทางสังคมทั้งหมดที่มีและเป็นโอกาสที่จะนำไปปฏิบัติได้จริง ระยะการเล่นนี้สามารถครอบคลุมการเล่นประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสร้างปริศนาร่วมกัน เล่นเกมกระดาน หรือเพลิดเพลินกับกิจกรรมกลุ่มกลางแจ้ง การเล่นแบบร่วมมือจะเป็นโอกาสสำหรับการสร้างปฏิสัมพันธ์ในอนาคตเมื่อลูกของคุณเติบโตเป็นผู้ใหญ่

 

นอกจากนี้แล้ว การเล่นยังมีอีกหลายรูปแบบ คุณพ่อแม่อย่าลืมสังเกตพัฒนาการเล่นของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกมีพัฒนาการอยู่ในขั้นไหน เพราะการที่เด็กได้รับการส่งเสริม กิจกรรม การเรียนรู้ การเล่น ที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการ ส่งผลให้เด็กสามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพที่เค้ามี

 

การเล่นคืองานของเด็ก ๆ” ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการดูแลลูกของคุณพ่อคุณแม่ ที่มีส่วนช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีเต็มศักยภาพก็คือ อย่าลืมใช้เวลาเล่นกับลูกด้วยนะคะ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

Summer Course สำหรับเด็กที่ปิดเทอมช่วงเดือน June - August 2023

 

BrainFit เปิดรับสมัครแล้ว!

 

 

สำหรับผู้ปกครองท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อเพื่อให้ลูกทดลองเรียนฟรี

และรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอร์สและการฝึกของทางสถาบันได้ฟรี 

โทร 02-656-9938 / 02-656-9939 / 02-656-9915

LINE: @brainfit_th

 

 

ที่มา Verywellfamily.com