Read from Home 6 วิธีพัฒนาทักษะการอ่านช่วงโควิด-19

 

Read from Home

6 วิธีพัฒนาทักษะการอ่าน ช่วงโควิด-19

 

 

COVID-19 อยู่กับเรามาเป็นเวลากว่า 1 ปีแล้ว และได้ส่งผลกระทบด้านลบทำให้การเรียนเริ่มหยุดชะงักชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เรียนที่มีอายุน้อยที่สุด 

 

- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) กล่าวว่า ช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ เป็นช่วงเวลาที่เด็ก ๆ ทั้งหลายต้องการหนังสือมากที่สุด -

เหตุผลเพราะหนังสือมีบทบาทอย่างมากต่อการช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบตัวของตนเองได้ง่ายมากขึ้น 

ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ของ OECD พบว่า เด็กวัย 5 ขวบที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง หรือสามารถเข้าถึงหนังสือได้มากกว่า มีระดับความเชื่อมั่นไว้ใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะทางสังคม และความใจเย็นมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้หยิบจับหนังสือขึ้นมาอ่าน โดยข้อดีที่ค้นพบจากการอ่านหนังสือนี้ ถือเป็นประโยชน์เพิ่มเติมจากบทบาทของหนังสือที่มีผลต่อความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ และทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ ของเด็กทุกกลุ่มชนชั้นเศรษฐกิจสังคม 

นักวิจัยที่ศึกษาเด็กในอัลเบอร์ตา รายงานว่า นักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 เด็กมักจะอ่านหนังสือช้ากว่าเกณฑ์ถึง 6-8 เดือน 

และนักวิจัยนานาชาติยังได้คาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ ที่จะเกิดผลกระทบในระยะยาวที่ร้ายแรง หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาการสูญเสียการเรียนรู้นี้

 

"อ่านภาษาอังกฤษ"

 

เนื่องจากการอ่านเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ทางด้านวิชาการ รวมถึงความสำเร็จทางการศึกษาในระยะยาว การสร้างทักษะการอ่านในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเกรด 1 และ 4 แล้วนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

พ่อแม่หลายท่านอาจทราบดีว่าการอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กปลูกฝังการรักการอ่านแบบเจริญงอกงาม ถึงแม้ว่าบางครั้ง เราอาจจะไม่รู้ว่า เด็ก ๆ ควรมีส่วนร่วมในการช่วยเลือกหนังสือเล่มโปรดเพื่อให้พ่อแม่ช่วยอ่านให้ฟัง แต่พ่อแม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำในการเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาซับซ้อนมากขึ้นให้เด็กได้

การอ่านหนังสือแบบอ่านออกเสียง โดยพ่อแม่อ่านให้ลูกฟัง เป็นกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูก เพราะจะช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะการสร้างคำศัพท์ผ่านการสนทนา และฝึกวิธีจินตนาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้

 

ฝึกฝนเพิ่มคลังคำศัพท์วิชาการ Academic vocabulary

 

เมื่อเด็กโตขึ้นและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นต้นไป การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยสามารถที่จะนำคำศัพท์เหล่านี้ไปใช้ได้นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงให้เด็กนำไปสู่การอ่าน การวิเคราะห์ และต่อยอดสู่การใช้ทักษะการอ่าน-เขียนขั้นสูงในอนาคต

การที่เด็กจะสามารถเรียนรู้คำศัพท์ขั้นสูงได้นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์จากการอ่านออกเสียง ก่อนที่พวกเขาจะสามารถสะกดหรืออ่านได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้และฝึกฝนให้เด็ก ๆ สามารถอ่านคำศัพท์ใหม่ ๆ ได้ ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างคำศัพท์ให้ออกมาชัดเจนเท่านั้น แต่ยังเป็นการเรียนรู้ความหมายอีกด้วย 

รวมไปถึงการสนทนาที่มีคุณภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก เกี่ยวกับความคิดที่ซับซ้อน ยังเป็นอีกวิธีที่พ่อแม่สามารถช่วยสร้างคำพูดและฝึกคำศัพท์ใหม่ ๆ ให้เด็กและยังช่วยสร้างความมั่นใจในการเพิ่มพูนความรู้ของพวกเขาอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว ความรู้ด้านคำศัพท์ต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ยังได้มาจากที่โรงเรียน นั่นก็คือ คำศัพท์เชิงวิชาการ จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จทางด้านทักษะการอ่านในอนาคต และผลการเรียนในระยะยาว

เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาคำศัพท์เชิงวิชาการที่สมบูรณ์ ผู้ปกครองสามารถมองหาวิธีการอ่านออกเสียงให้กับเด็ก ๆ ผู้ปกครองสามารถเลือกสื่อและมีส่วนร่วมในการโต้ตอบเชิงบวก เพื่อเป็นการช่วยให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะในการสร้างและทำความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างภาษาพูดและตัวอักษร 

 

 

เรามาดูเคล็ดลับในการสร้างความสำเร็จในการอ่านหนังสือกับเด็ก ๆ กัน!

 

"ฝึกอ่านภาษาอังกฤษ"

 

>> อ่านอะไรดี ?

 

1.ผู้ปกครองควรเลือกหนังสือที่มีคำศัพท์สูงกว่าระดับชั้นเรียนของบุตรหลานของคุณเล็กน้อย หรือข่าวจากหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือสาระออนไลน์

โดยนักวิชาการด้านการศึกษา Maryanne Wolfe อธิบายว่า การอ่านผ่านกระดาษหรือหนังสือที่จับต้องได้ จะช่วยให้ผู้อ่านวัยเด็กสามารถจดจ่อและโต้ตอบกับสิ่งพิมพ์และรูปภาพได้ดี

การเรียนรู้และฝึกอ่านคำศัพท์ผ่านแหล่งข่าวสารต่าง ๆ จะช่วยเพิ่มพูนคลังคำศัพท์ได้มากมาย เช่น รายงานข่าว บทความ หรือเรื่องราวที่ชวนดึงดูดทุกเพศทุกวัย ผู้ปกครองสามารถช่วยเลือกเนื้อหา เช่น ชีวิตสัตว์ป่า กีฬา หรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจ สุขภาพและการดูแลร่างกาย รวมไปถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อีกด้วย เด็ก ๆ สามารถขีดเขียนไฮไลต์หรือตัดกระดาษและปรับแต่งคำต่าง ๆ หรือโพสต์บนผนังเพื่อเป็นการทบทวนซ้ำ สิ่งนี้จะช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ เช่นเดียวกับการช่วยให้เด็กเชื่อมโยงระหว่างคำศัพท์ใหม่กับคำศัพท์และเรื่องราวที่คุ้นเคยอยู่แล้ว ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรคำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาะสม และพึงระวังเรื่องระดับวุฒิภาวะทางอารมณ์ของเด็กที่มีต่อเนื้อหาด้วย

 

2. สร้างสะพานเชื่อมระหว่างเรื่องราว

ผู้ปกครองควรเปิดใจรับข่าวสารใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เด็ก ๆ สร้างสะพานเชื่อมระหว่างคำศัพท์และเรื่องราวที่ท้าทายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นเรื่องราวที่เด็ก ๆ รู้จักและชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ในปี 2560 มีข่าวเกี่ยวกับการช่วยเหลือการฟื้นฟูและการปล่อยลูกหมีดำตัวเล็ก ๆ สามตัวที่ถูกทอดทิ้งจากห้องน้ำในเมืองแบมฟ์รัฐอัลตา โดยเนื้อเรื่องมีคำแนะนำและคำศัพท์ทางวิชาการที่มีประโยชน์มากมาย ผู้ปกครองอาจมองหาเรื่องราวเสริมเกี่ยวกับหมีในประเภทอื่น ๆ เช่น นิทานเด็กคลาสสิกเรื่อง The Three Bears ซึ่งจะมีคำศัพท์ที่ใช้บ่อยในการสื่อสารระหว่างบุคคลขั้นพื้นฐานให้เด็กได้เรียนรู้ เช่น คำศัพท์ประจำวันที่เกี่ยวข้อง เช่น หิว อาหารเช้า จานชาม ขนาด ความรู้สึกเหนื่อย การหลับ การตื่น เป็นต้น

 

3. คุณภาพของความสนใจของผู้ใหญ่ก็มีความสำคัญ

เมื่อผู้ปกครองและเด็กอ่านหนังสือด้วยกัน สิ่งสำคัญคือ ผู้ปกครองจะต้องอ่านและมองหน้าหนังสือหรือสื่อตรงหน้าร่วมกันกับเด็ก เพื่อเป็นการแสดงออกให้เด็กเห็นว่าผู้ปกครองกำลังติดตามสิ่งที่เด็กสนใจและดูอยู่ เด็ก ๆ จะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกของผู้ใหญ่ มีประสบการณ์ที่ดีร่วมกัน และสนุกกับการชี้ตัวอักษรรูปภาพหรือภาพประกอบไปพร้อม ๆ กัน

 

4. คุณภาพของการพูดคุยของผู้ใหญ่เป็นเรื่องสำคัญ

ผู้ปกครองสามารถมีส่วนช่วยในการอธิบายความหมายให้เด็กรับรู้ได้อย่างละเอียด โดยการช่วยอธิบายคำจำกัดความ การถอดความ หรือคำพ้องความหมาย จากสิ่งที่อ่าน นอกจากนี้ยังสามารถสร้างแบบคำถาม “Think-alouds” เพื่อจำลองวิธีที่ผู้คนคิดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การคาดเดา หรือการอนุมาน ผ่านคำถามประเภท “ฉันสงสัยว่า..” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้มีส่วนร่วมในการสนทนา ทดสอบความเข้าใจและยังสามารถช่วยให้ผู้เรียนที่อายุน้อยเข้าใจข้อมูลใหม่ ๆ ได้ดีขึ้นอีกด้วย

 

5. บูรณาการเทคโนโลยี

การเรียนรู้คำศัพท์ผ่านระบบดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญในการเติบโตของเด็กเช่นกัน ด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล พวกเขาสามารถสำรวจและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวที่พวกเขาสนใจได้ ไม่ว่าจะเป็น คลิปวิดีโอการประกาศข่าว สร้างโอกาสในการฟัง ดูและพูดคำศัพท์ใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยให้เด็กเข้าใจคำศัพท์ทางวิชาการได้ลึกซึ้งขึ้นและนำไปใช้ในบริบทต่าง ๆ ได้ Reading Assistant Plus

 

6. เด็กโตก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน

เด็ก ๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไปได้รับประโยชน์จากการอ่านหนังสือด้วยเช่นกัน! ในการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ศาสตราจารย์ด้านการศึกษา Sebastian P. Suggate และเพื่อนร่วมงานพบว่า เด็ก ๆ ได้เรียนรู้คำศัพท์จากการแบ่งปันเรื่องราวด้วยการออกเสียงมากกว่าการอ่านหนังสือด้วยตนเอง

การอ่านหนังสือร่วมกันส่งเสริมให้ผู้ปกครองและเด็ก ๆ จัดสรรเวลาและให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาและการอ่านออกเขียนได้ หากลองปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะกับเด็กแต่ละคนได้

 

มาเริ่มต้นให้เด็ก ๆ รักการอ่านได้แล้ววันนี้ กับโปรแกรม Reading Assistant Plus ฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษออนไลน์ พร้อมเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ มากมาย เรียนรู้ด้วยตนเอง สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก!

 

 

ติดต่อขอรับสิทธิ์ทดลองเรียนฟรี ได้ที่นี่

 

 

โทร 02-656-9939 / 02-656-9939 / 02-656-9915

LINE: @brainfit_th

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4