พัฒนาการ ดี ได้ด้วยการเล่นบทบาทสมมติ

 

พัฒนาการ ดี ได้ด้วยการเล่นบทบาทสมมติ

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

พัฒนาการ ดี เริ่มต้นจากการเล่น! บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจเคยเห็นลูกตัวเองนั่งเล่นคนเดียว พูดกับตุ๊กตา แกล้งรับโทรศัพท์แล้วทำเหมือนว่ากำลังคุยกับใครบางคน หรือแม้กระทั่งหยิบตะเกียบขึ้นมาแล้วโบกไปรอบ ๆ ราวกับว่าตะเกียบเป็นคฑาเวทมนต์ ... สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยค่ะ


กิจกรรมการเล่นที่เด็ก ๆ สมมติขึ้นมาเล่นกับจินตนาการของเขา อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น เราเรียกว่า การเล่นบทบาทสมมติค่ะ
 


การเล่นบทบาทสมมติมี 2 ลักษณะ คือ


1. เด็กสร้างจินตนาการ และสมมติบทบาทขึ้นมาเอง รวมถึงการสร้างเพื่อนในจินตนาการก็ถือเป็นการเล่นบทบาทสมมติอย่างหนึ่ง โดยเด็ก ๆ อาจเคยเห็นหรือได้รับประสบการณ์นั้นมาแล้ว และนำมาจินตนาการ สร้างบทบาทสมมติเอง


2. การเล่นบทบาทสมมติในสถานการณ์จำลองให้เสมือนจริง เช่น มีการจัดสิ่งแวดล้อม สภาพการณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการต่อยอดความคิด และจินตนาการให้เด็ก ๆ ซึ่งอาจทำให้เด็กเรียนรู้ได้เร็วมากกว่าการสร้างบทบาทสมมติเอง

 

นักวิจัยทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ พบว่า การเล่นบทบาทสมมติเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้เด็กเกิดความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และยังเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เด็ก ๆ ค้นพบตนเองว่าชอบอะไร อีกทั้งเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพทางสมองของเด็ก ๆ อย่างรอบด้านอีกด้วย
 


แล้วการเล่นบทบาทสมมติส่งผลอย่างไรต่อพัฒนาการเด็ก ?

ช่วยให้ พัฒนาการดี จริงไหม ?

วันนี้เราได้นำเอาประโยชน์ 5 ข้อของการเล่นบทบาทสมมติมาฝากค่ะ

 


1. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เป็นการกระตุ้นความคิดของเด็ก และส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยตรง เช่น เด็ก ๆ เล่นบทบาทสมมติเป็นคนทำอาหาร เขาก็จะเชื่อมโยงเหตุการณ์ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่พาไปร้านอาหาร หรือตอนที่ดูคุณพ่อคุณแม่ทำอาหาร เด็ก ๆ จะจดจำรายละเอียด และจินตนาการ แล้วแสดงออกให้เหมือนบทบาทนั้น



“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ เนื่องจากความรู้นั้นจำกัดอยู่แค่ที่เรารู้และเข้าใจ ในขณะที่จินตนาการ รวมเอาโลกกับความรู้และความเข้าใจที่จะต้องรู้ทั้งหมดไว้ด้วยกัน" 
- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

 


2. ส่งเสริมด้านความจำ ในการเล่นบทบาทสมมติ เด็ก ๆ ต้องจดจำบทบาทของตัวละครนั้นหรือนึกถึงสิ่งที่ตัวละครนั้นจะพูด ซึ่งเป็นการกระตุ้นความจำจากสิ่งที่เด็ก ๆ เคยเห็นหรือจดจำมาก่อน


3. พัฒนาทักษะด้านภาษา ไม่ว่าเด็ก ๆ จะเล่นคนเดียว หรือเล่นกับคนอื่น การเล่นบทบาทสมมติต้องใช้การสื่อสาร และทักษะภาษาเป็นหลัก หากคุณพ่อคุณแม่ได้มีโอกาสเล่นบทบาทสมมติกับเด็ก ๆ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะเด็ก ๆ จะได้เรียนรู้คำศัพท์ วิธีการพูดใหม่ ๆ จากคุณพ่อคุณแม่ อีกทั้งหากสอดแทรกคำศัพท์ภาษาอังกฤษในการเล่น จะสามารถช่วยพัฒนาทักษะภาษาของเด็ก ๆ ได้อีกด้วย!


4. พัฒนาทักษะด้านสังคม และด้านอารมณ์ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ถึงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจอารมณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้เด็ก ๆ แสดงหรือรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ผ่านการแสดงบทบาท เช่น ตัวละครรู้สึกเสียใจ มีความสุข โกรธ ฯลฯ โดยสอนให้เด็ก ๆ รู้ว่าเมื่อเกิดความรู้สึกเหล่านั้นจะมีพฤติกรรมอะไรตามมา และเป็นการให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อารมณ์ของตนเอง


5. เสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกาย ในขณะที่เล่นบทบาทสมมติ เด็ก ๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายตามบทบาทต่าง ๆ เช่น ทำท่ากระโดดเหมือนจิงโจ้ ซึ่งการเคลื่อนไหวร่างกาย มีส่วนช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กให้แข็งแรง
 

 


เป็นอย่างไรกันบ้างคะ จะเห็นได้ว่าการเล่นบทบาทสมมติมีประโยชน์ต่อ พัฒนาการ เด็กในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งคุณหมอพัฒนาการเด็กจะใช้เรื่องการเล่นบทบาทสมมติ เป็นหนึ่งในวิธีประเมินพัฒนาการเด็กว่ามีอาการของออทิสติกด้วยหรือไม่ เพราะการเล่นบทบาทสมมติต้องมีพัฒนาการหลายด้านประกอบกัน

 

 

สถาบัน BrainFit ของเราให้ความสำคัญกับพื้นฐานสมองที่ดีและแข็งแรง เรามี คอร์สพัฒนาทักษะสมองทั้ง 5 ด้าน เพื่อส่งเสริม พัฒนาการ ศักยภาพทางสมองของผู้เรียน ซึ่งกิจกรรมทุกรูปแบบถูกออกแบบตามหลักประสาทวิทยา และมีงานวิจัยรองรับ ทุกทักษะที่ได้ฝึกจะอยู่ติดตัวผู้เรียนไปตลอดชีวิต!

 

 

พัฒนาทักษะสมาธิแบบ Whole Brain Training 

รับสมัคร อายุตั้งแต่ 3-18 ปี

 

"เสริมสมาธิเด็ก"

 

สอบถามเพิ่มเติม หรือ ทดลองเรียน ฟรี!

จันทร์ อังคาร พุธ เสาร์ และ อาทิตย์  โทร 02-656-9938

วันพฤหัสบดี-วันศุกร์   091-774-3769

LINE Official Account: @brainfit_th

เพิ่มเพื่อน

 
ที่มา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนัสนันท์ หัตถศักดิ์

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4