เข้าใจพัฒนาการด้านภาษาและการพูดช้า

 

เข้าใจพัฒนาการด้านภาษาและการพูดช้า

 

เพิ่มเพื่อน

 

 

เข้าใจพัฒนาการด้านภาษาและการพูดช้า ทักษะด้านภาษาและการพูดนั้น เป็นทักษะที่สำคัญมาก ซึ่งจะต้องติดตามพัฒนาการด้านนี้ให้สมวัยตาม milestones ผู้ปกครองควรติดตามและดูว่าลูก ๆ เริ่มเรียนรู้ในการใช้ภาษาตั้งแต่วัยใดและเริ่มพูดเมื่อใด การเรียนรู้เรื่องพัฒนาการด้านการพูดและการใช้ภาษาที่ดี ก็จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถติดตามความก้าวหน้าหรือควรพึงระวังหากลูก ๆ เริ่มแสดงอาการสื่อสารล่าช้า 

 

แล้วการพูดกับการใช้ภาษาแตกต่างกันอย่างไร 

การพูด คือ การแสดงออกทางการสื่อสารผ่านการผสมเสียงออกมา การสร้างคำเป็นเสียงผ่านรูปปาก

ภาษา คือ การรับและการให้ข้อมูล เพื่อแสดงออกให้เข้าใจ ผ่านการสื่อสารต่าง ๆ เช่น การพูด การแสดงท่าทาง การเขียน เป็นต้น 

 

การพูดและการใช้ภาษาล่าช้า คืออะไร

การพูดและการสื่อสารที่ล่าช้ามักจะสัมพันธ์กัน เช่น เด็กคนนี้ มีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาที่ล่าช้า เขาอาจจะสามารถพูดได้ดี แต่ขณะที่พูดได้นั้น เกิดจากการผสมคำ 2 คำเท่านั้น หรือ เด็กคนนี้มีปัญหาทางด้านการพูด เขาจะพูดโดยใช้คำหรือวลีในการสื่อสาร แต่อาจจะยากสำหรับคนอื่นที่จะเข้าใจได้

 

สัญญาณบ่งชี้ว่าลูกกำลังมีปัญหาเรื่องการพูดหรือการใช้ภาษาล่าช้า 

เด็กทารกแรกเกิดที่ไม่ตอบสนองต่อเสียงต่าง ๆ หรือเสียงพูดของพ่อแม่ ควรได้รับการตรวจจากแพทย์โดยเร็ว ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้ปกครองอาจไม่ทราบหรือไม่ได้สังเกตเห็นอาการผิดปกติเหล่านี้ ซึ่งกว่าจะรู้ทัน ก็พบว่าเด็ก ๆ เริ่มมีปัญหาทางด้านการพูดและการใช้ภาษาเสียแล้ว 

 

อาการที่ควรสังเกต มีอะไรบ้าง มาดูกันว่า milestones แต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไรบ้าง 

12 เดือน ไม่ใช้ท่าทางช่วยในการแสดงออก เช่น ชี้นิ้ว หรือ โบกมือบ้ายบาย 

18 เดือน ชอบใช้ท่าทางในการสื่อสารมากกว่าที่จะพูดออกเสียงในการสื่อสาร มีปัญหาในการลอกเลียนเสียง ไม่เข้าใจการพูดหรือการขอให้ทำอะไรแบบง่าย ๆ 

2 ปี เลียนแบบเสียงหรือท่าทางได้เท่านั้น หรือพูดเป็นคำ ๆ หรือวลี ได้ไม่ต่อเนื่อง

2 ปี พูดเป็นคำ ๆ หรือทำเสียงบางอย่างซ้ำ ๆ และไม่สามารถพูดบอกในสิ่งที่ตนเองต้องการได้ทันที

2 ปี ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ 

2 ปี ทำโทนเสียงแปลก ๆ เช่น เสียงแหบ เสียงขึ้นจมูก

ซึ่งในช่วงวัยนี้ หากผู้ปกครองไม่สามารถระบุหรือสังเกตอาการได้ ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำต่อไป 

โดยส่วนใหญ่ ผู้ปกครองหรือพี่เลี้ยงควรทำความเข้าใจความสามารถในการพูดและการสื่อสารของเด็กในช่วงวัย 2 ปี ให้ได้อย่างน้อย 50% และในวัย 3 ปี ให้ได้อย่างน้อย 75%

4 ปี เด็ก ๆ เข้าใจการสื่อสาร แม้จะเป็นการพูดกับคนที่ไม่รู้จักก็ตาม 

 

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้การพูดหรือการใช้ภาษาล่าช้า

ความผิดปกติของช่องปาก เช่น ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหรือเพดาน

ลิ้นไก่สั้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการขยับของลิ้นที่จำกัด 

โดยส่วนมาก เด็ก ๆ ที่มีปัญหาการพูดมักพบว่า มีปัญหาทางกล้ามเนื้อช่องปากด้วย ซึ่งจะเชื่อมการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมการพูด ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรทำงานได้ยากขึ้นในการสร้างเสียงพูดออกมา ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเคี้ยวอาหารได้เช่นกัน  

ปัญหาทางการได้ยิน การได้ยินบกพร่องสามารถส่งผลต่อการพูดได้ นักโสตประสาทจะทำการทดสอบหากพบว่าเด็กเริ่มแสดงอาการเกี่ยวกับปัญหาทางการพูด และพบว่าเด็กที่มีปัญหาทางการได้ยินมักมีปัญหาทางการพูด การเข้าใจ การเลียนเสียง และการใช้ภาษาในการสื่อสารด้วย 

การติดเชื้อในช่องหู โดยเฉพาะหูชั้นใน สามารถส่งผลกระทบต่อการได้ยิน แต่ถึงแม้ว่าจะได้ยินเพียงข้างเดียว แต่การพูดและการใช้ภาษาก็ยังสามารถพัฒนาได้

 

การรับการวินิจฉัย

หากพบว่าเด็ก ๆ เริ่มมีพัฒนาการทางด้านการพูดและการใช้ภาษาช้ากว่าวัย ผู้ปกครองควรขอรับคำปรึกษาจากนักพยาธิวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดและภาษา เพื่อทดสอบทักษะทางด้านการพูดและการใช้ภาษาว่าสมวัยหรือไม่

 

นักพยาธิวิทยาด้านการพูดและภาษาจะตรวจสิ่งต่อไปนี้ 

  • อะไรที่เด็กสามารถเข้าใจ ความสามารถในการเข้าใจ รู้ภาษาที่ผู้อื่นแสดงออกมาผ่านการมองเห็น คือ เข้าใจภาษาท่าทาง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ความสามารถในการอ่านและฟัง
  • เด็กสามารถพูดอะไรได้บ้าง ความสามารถในการแสดงออกทางภาษาผ่านการมองเห็น เช่น การเขียนสัญลักษณ์ ท่าทางการแสดงออก เป็นต้น และผ่านการได้ยินโดยการพูด
  • พัฒนาการเสียงและการความชัดเจนในการพูด
  • โครงสร้างของการเคลื่อนไหวของอวัยวะในช่องปาก เช่น ปาก ลิ้น ทำงานควบคู่กันอย่างไร การกลืนหรือการเคี้ยวอาหารเป็นอย่างไร เป็นต้น

 

เพิ่มเพื่อน

 

ผู้ปกครองสามารถช่วยได้อย่างไร 

หากพบว่าเด็กมีพัฒนาการการพูดหรือการใช้ภาษาล่าช้า ผู้ปกครองสามารถช่วยได้ดังนี้

  • ฝึกพูดและใช้ภาษากับนักบำบัด
  • โฟกัสในด้านการสื่อสาร พูดคุยกับเด็กแรกเกิด ร้องเพลง และพยายามส่งเสริมให้เด็กเลียนแบบเสียงและการเรียนรู้ท่าทาง การแสดงออกต่าง ๆ 
  • อ่านหนังสือให้ลูกฟัง พ่อแม่ควรเริ่มอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่วัยแรกเกิด ควรหาหนังสือที่เหมาะสมตามช่วงวัย 
  • ใช้สถานการณ์ในทุกวัน พ่อแม่ควรพูดคุยกับเด็กให้มากที่สุด เช่น พูดชื่ออาหารหรือสิ่งของในแต่ละวัน อธิบายว่ากำลังทำอะไรในขณะที่กำลังทำอาหารหรือทำงานบ้าน และชี้ไปที่สิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้าน พูดให้ฟังง่ายและชัดเจน 
  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมและขาดการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการพูดช้าได้ เช่น ผู้เลี้ยงดู พูดน้อย ไม่ค่อยพูด หรือ พูดไม่ชัด หรือปล่อยให้เด็กเล่นของเล่นเองตามลำพัง หรืออยู่กับการเล่นมือถือ ดูวิดีโอหรือทีวีเป็นเวลานานจนขาดการพูดและการฟังกับคนรอบข้าง

 

 

พัฒนาภาษาอังกฤษ

กับโปรแกรม Fast ForWord

 

"พัฒนาภาษาอังกฤษด้วยตนเอง"

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

02-656-9938 / 02-656-9939

Line: @brainfit_th 

เพิ่มเพื่อน

 

 

ที่มา: kidshealth.org

 

Contact Us

If you would like to have your child attend our course, or you would simply like more information, please contact us today.

BrainFit Studio Thailand 2nd floor, Ploenchit Center,
Sukhumvit Soi 2, Bangkok 10110BTS Ploenchit Station Exit 4